ประวัติหลวงปู่โชคชัยและวัดโชคชัยโนนขวาง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
พุทธประวัติหลวงปู่โชคชัย และวัดโชคชัยโนนขวาง
1. สภาพภูมิศาสตร์และความเป็นอยู่
ในสมัยก่อนนั้น
บริเวณโนนนี้ได้มีผู้คนมาสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่นี่หลายหลังด้วยกัน ความเป็นอยู่ของชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคม ด้านสุขภาพอนามัยสาธารณสุข การศึกษาเล่าเรียน ตลอดทั้งการพัฒนาด้านความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพต่าง ๆ ยังไม่เจริญ ผู้คนในสมัยนั้น เมื่อมีการล้มป่วยต้องอาศัยหมอธรรม ทำน้ำมนต์หรือยาสมุนไพรรักษาอาการป่วย ได้มีหลวงพ่อสีซึ่งเป็นพระมาจากอำเภอโพนทองได้มาทำเพิงพักอาศัยอยู่ที่โนนขวางนี้ ท่านได้เรียนคาถา เวทมนต์ต่าง ๆ เพื่อใช้รักษาคนเป็นบ้า ให้กับผู้ที่ไม่สบายในเขตนี้
ย้อนหลังประมาณ 80 – 100 ปี
มีคนได้ล้มตายเป็นโรคฝีดาษกันมาก
ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้าน เชื่อว่าสถานที่ที่มันเข็ดมันขวางจะตัดต้นไม้ก็ไม่ได้ถ้าใครตัดก็จะเจอเหตุกับตัวเอง
ช่วงกลางคืนบางวันจะได้ยินเสียงหมาในร้องตอนดึกน่ากลัว
ชาวบ้านทนไม่ไหวจึงได้ย้ายถิ่นฐานปล่อยให้โนนนี้ร้างไป
สภาพบริเวณทั่วไป เป็นเนินหรือโนน ยาวขวางตะวันอยู่ห่างจากหมู่ที่อยู่รอบๆ ประมาณ
1 กิโลเมตร ทั้ง 4
ทิศในปัจจุบันนี้คือ
ทิศเหนือ มีเส้นทางคมนาคมไปยังหมู่บ้านตำแย, หนองหลุบ
ทิศใต้ มีเส้นทางคมนาคมไปยังหมู่บ้านดอนไฮ, เมืองทอง
ทิศตะวันออก มีเส้นทางคมนาคมไปยังหมู่บ้านนาโพธิ์, หนองแสง
ทิศตะวันตก
มีเส้นทางคมนาคมไปยังหมู่บ้านหัวฝาย,
กอกนายูง
อดีตแต่ก่อนเคยมีหนองน้ำเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ โนนหรือเนิน ซึ่งทางทิศตะวันตกจะมีหนองสิม ใช้เป็นสิมเพื่อทำพิธีบวช (ใช้เรียกขานหรือฮ้องนาค จะมีสะพานไปหาสิม) ทางทิศใต้มีหนองหมากแซว ทางทิศเหนือมีหนองอ่อนซ้อย ซึ่งเป็นที่ลุ่มมีน้ำไหลผ่าน พอถึงฤดูฝนจะมีน้ำไหลผ่านลงสู่ลำห้วย
บริเวณเนินหรือโนนี้จะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ส่วนมากจะเป็นไม้พันชาติ มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ที่เนินสูง
ๆทางไปบ้านดอนไฮ (ปัจจุบันไม่มี) หน้าวิหารแต่ก่อนจะมีต้นค้อใหญ่อยู่ประมาณ 2 – 3
ต้น
มีต้นมะค่าโมงอยู่ทางทิศตะวันตกหลังวิหารในปัจจุบัน มีต้นคัดเค้าใหญ่และเถาวัลย์อยู่บริเวณนี้ นอกนั้นเป็นป่าไม้เล็ก ๆ
มีเนื้อที่เดิมมีประมาณ
6 ไร่เศษ
โครงสร้างดินส่วนมากจะมีลักษณะเป็นดินทรายและร่วนปนทรายเป็นบางส่วน
ปัจจุบันทางวัดได้ซื้อที่ดินเพิ่ม
14 ไร่เศษ รวมที่ดินของวัดทั้งหมดประมาณ 20
ไร่เศษ
ประวัติย่อหลวงปู่โชคชัยมีว่า
เมื่อ พ.ศ.2463 ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ ซึ่งอดีตเคยเป็นเจ้าคณะตำบลนาโพธิ์ พระอุปัชฌาย์
ตำบลนาโพธิ์
ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองพอก
อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
และย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านนาโพธิ์ (สหพันธ์พิทยาภรณ์) ได้เล่าไว้
พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 6 ของปี จะมีหมู่ผู้สูงอายุทั้งชายหญิงไปนิมนต์ท่านไปสรงน้ำหลวงปู่โนนขวาง (หลวงปู่โชคชัย) ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ ได้สอบถามประวัติความเป็นมาของหลวงปู่โนนขวาง โยมที่มีอายุ
80 ปี ขึ้นไป
ตอบได้แต่เพียงว่าไม่ทราบประวัติละเอียด
ทราบจากพ่อแม่เล่าต่อกันมาว่า
พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 6 ของปี
ต้องไปสรงน้ำหลวงปู่ทุกปีเป็นอย่างนี้เรื่อยมา ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ
รับนิมนต์แล้วก็ไปในสรงน้ำครั้งแรกที่ไปสรงน้ำพระเจ้าหลวงเสด็จ ท่านได้พิจารณาอย่างรอบครอบ ปรากฏเห็นก้อนดินเหนียวขนาด 20 x 40 x 20 ซ.ม.
รอยเผาไม่ค่อยสุกดี
ก่อเรียงเป็นแท่นองค์พระไม่มีปูนซีเมนต์ฉาบยึดองค์พระลงรักสีดำ สันนิษฐานว่าคงเป็นโบสถ์มาก่อน อายุสมัยสุโขทัยหรือยุธยาตอนต้น อาจเป็นเพราะโรคระบาดหรือสงครามรุกราน ชาวบ้านจึงอพยพหนีไปตั้งเป็นหมู่บ้านนาโพธิ์ บ้านกอกนายูง
บ้านตำแย ในปัจจุบัน ปล่อยให้องค์พระเจ้าหลวงตากแดดกรำฝนเรื่อยมาจนมีไม้พันธุ์ต่าง
ๆ ทั้งไม้ยืนต้นและเครือเถาวัลย์ปกคลุมอยู่ ปล่อยให้สถานที่นี้ร้างไป ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจจึงได้นำชาวบ้านไปคารวะ คัดหมู่ไม้บางส่วนออกทำความสะอาด
สร้างอาคารขนาด 4x16 เมตร
มุงด้วยสังกะสีชั้นเดียว มีฝากั้นด้านหลังองค์พระเท่านั้น
แต่ก่อนมีเพิงไม้มุงด้วยสังกะสีกว้างประมาณ 3 x 4 เมตร
มีต้นคัดเค้าใหญ่อยู่ด้านหลังองค์หลวงปู่
มีฐานลักษณะคล้ายจอมปลวก
ด้านในอาจมีอิฐ หินศิลาแลงก้อนขนาดใหญ่อยู่ ยอดเกศหักและพระกร (แขน) ชำรุด ได้ปรับปรุงซ่อมแซมขึ้นใหม่*(ข้อมูล : นายวิจารณ์ เพิ่มพูน)
2. พุทธลักษณะ
หลวงปู่โชคชัย เป็นองค์พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตัก
40 นิ้ว นั่งประดิษฐ์สถานอยู่บนแท่นในท่าขัดสมาธิ พระกรด้านซ้ายวางหงายฝ่ามือไว้ที่หน้าตัก ส่วนพระกรด้านขวาวางคว่ำฝ่ามือไว้บนพระชานุ
(เข่า) พระกรรณ (หู) ยาน
เกศมีเปลวแหลม
เดิมพระเกศและพระกรด้านซ้ายชำรุดหักจึงได้ปรับปรุงต่อเติมให้เหมือนเดิม
ส่วนองค์พระหล่อด้วยวัสดุอะไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่าจากหินศิลาแลง ทำมาจากปูนหรือทองเหลืองบ้าง ซึ่งผู้เรียบเรียงยังไม่มีหลักฐาน หรือข้อมูลในการพิสูจน์จากนักโบราณคดี องค์หลวงปู่มีพระวรกายขรุขระ
ไม่เรียบทาทับด้วยทองเปลวแบบกระป๋อง
ซึ่งชาวบ้านคนใดที่ประสบความสำเร็จจะมาแก้บนหลวงปู่โดยการปิดทองและร่วมทำบุญอาจจะเป็นด้วยในสมัยก่อนด้านเทคโนโลยียังไม่เจริญ
3. การบูรณปฏิสังขรณ์
นายวิจารณ์ เพิ่มพูน
ได้บวชเป็นสามเณร (พ.ศ. 2499) ที่วัดโพธิ์ศรีสะอาด เป็นลูกศิษย์ของพระครูวิธูรถาวรกิจ
ได้ติดตามท่านไปปรณนิบัติหลวงปู่ที่โนนนี้บ่อย เล่าว่า
“แต่ก่อนมีเพิงไม้มุงด้วยสังกะสี
กว้างประมาณ 3 x 4 เมตร มีต้นคัดเค้าใหญ่อยู่ด้านหลังองค์หลวงปู่ มีฐานลักษณะคล้ายจอมปลวก ด้านในอาจมีอิฐหินศิลาแลงก้อนขนาดใหญ่อยู่ หลวงปู่พระครูวิธูรถาวรกิจ เล่าว่า
ครั้งแรกยอดเกศหัก และพระกร (แขน)
ชำรุด ได้ปรับปรุงซ่อมแซมขึ้นใหม่
ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ
ได้นำชาวบ้านไปคารวะหลวงปู่
คัดหมู่ไม้บางส่วนออกทำความสะอาดสร้างอาคารขนาด 4 x 16 เมตร
มุงด้วยสังกะสีชั้นเดียว
มีฝากั้นด้านหลังองค์พระเท่านั้น
ครั้นมาถึง พ.ศ.
2480
มีโจรใจบาปมาขโมยเอาสังกะสีไปสมัยนั้นการคมนาคมมีแต่เดินเท้า นั่งเกวียน
จะติดต่อขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สะดวก
จึงได้แต่จุดธูปเทียนขอบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตามสังกะสีกลับคืนมา
สมใจชาวบ้านที่อยู่มาถึงปีมีสังกะสีกลับมากองอยู่ข้าง ๆ พระเจ้าหลวงหลายแผ่น (พระครูวิธูรถาวรกิจบอกเล่า) ชาวบ้านดีใจเป็นอย่างยิ่ง เกิดศรัทธาอันแรงกล้า ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่อีก
ต่อมาประมาณ พ.ศ.
2505 – 2506
ได้มาบูรณะใหม่เป็นเสาตอหม้อ
มุงด้วยสังกะสี กว้างออกไปอีก 8 x 10 เมตร
โดยประมาณ
ก่อนที่จะมาบูรณะใหม่อีก
ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจไม่ละความตั้งใจที่จะสร้างอาคารถวายพระเจ้าหลวง ได้ไปสร้างกุฏีไม้ขึ้นหลังหนึ่ง
(รื้อไปแล้ว)
ท่านเองออกไปจำพรรษาอยู่วัดโชคชัยโนนขวางนี้กับพระลูกวัดหลายรูป พยายามหาทุนก่อสร้างอุโบสถขึ้น ได้รับความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนมาถวายผ้าป่าสามัคคีและต้นดอกเงินอยู่หลายปี
อยู่ต่อมาเมื่อท่านขุนปราจิณ ธานี
นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดออกตรวจเยี่ยมท้องที่ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจได้นำไปคารวะพระเจ้าหลวง ท่านขุนปราจิณ
ธานี เห็นว่าเป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่
จึงกราบไหว้บนบานขอให้ได้เลื่อนยศสูงขึ้น
ท่านก็ได้สมความปรารถนา คือ ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นปลัดจังหวัด จึงได้ถวายเงินจำนวน 1,100
บาท
ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจได้นำเงินจำนวนดังกล่าว สร้างแท่นถาวร
และซ่อมพระกรซ้ายพระเจ้าหลวงที่แตกร้าวให้สมบูรณ์ เมื่อซ่อมเสร็จ ท่านขุนปราจิณ
ธานี
ได้ถวายทองคำเปลวร่วมกับชาวบ้านปิดพระเจ้าหลวงจนเต็มองค์อย่างที่ท่านเห็นในปัจจุบัน
วันที่ 19
สิงหาคม พ.ศ. 2519
ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 9 ค่ำ
เดือน 9 ปีมะโรง
ได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงอุโบสถขึ้น
นายประมูล จันทรจำนง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระเดชพระคุณพระราชปรีชาญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานฝ่ายสงฆ์นายประมูล จันทรจำนง
ได้ถวายปูนซีเมนต์ในวันวางศิลาฤกษ์จำนวน
100 ถุง นายวิเชียร
อนันต์ นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด นายศรีศักดิ์
ดีศรีแก้ว
หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอเมืองร้อยเอ็ดนำปูนซีเมนต์มาถวายสมทบด้วย ชาวบ้านต่างร้องสาธุการต่อจากนั้นก็ได้รับเงินจากการถวายมหากฐิน
คณะผ้าป่าสามัคคีที่ลูกหลานไปประกอบสัมมาชีพในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจากหมู่บ้านในตำบลนาโพธิ์ ตำบลเมืองทอง
ตำบลศรีสมเด็จจากคหบดีตลาดร้อยเอ็ดและกรุงเทพมหานคร จากผู้มาบนบานขอพร เมื่อได้ผลสำเร็จสมความปรารถนาก็นำปัจจัย วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างมาถวายแก้บน สมทบการก่อสร้างทุกปี
จนสำเร็จเป็นโรงอุโบสถอย่างที่ท่านเห็นอยู่ขณะนี้
พ.ศ. 2534 ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ ได้มรณภาพ
สิริอายุได้ 89 ปี
ก่อนอาพาธหนัก ท่านได้นำพระครูสังฆรักษ์พิทูลอานันโท เจ้าอาวาสวัดโชคชัยโนนขวางปัจจุบันซึ่งเป็นผู้มีสัจธรรมสูงเข้ากราบไหว้หลวงปู่โชคชัย มอบให้ปรนนิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้
ที่มาแห่งการขนานนาม
หลวงปู่โชคชัย
ตั้งแต่อดีตชาวบ้านเรียกขานหลวงปู่กันบ่อยคือ “หลวงปู่โนนบ้านเก่า” และ
“หลวงปู่โนนขวาง” พระครูวิธูรถาวรกิจ
อดีตเจ้าคณะตำบลนาโพธิ์ ได้ขนานนามหลวงปู่โนนขวางเป็น “หลวงปู่โชคชัย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เหตุผลที่ขนานนามว่าหลวงปู่โชคชัย ก็เพราะลูกหลานมาบนบานขอพร ได้ผลสมความปรารถนาเป็นส่วนมาก เรื่องที่ลูกหลานมาบนบานมีความถี่ที่สุดได้แก่ ของหาย
ค้าขาย กุ้งตาย เจิมรถ
ไม่สบายจำเป็นต้องผ่าตัด
นักเรียน นิสิต นักศึกษา
จะไปศึกษาต่อทั้งภายในและต่างประเทศ
ทวงหนี้ ออกเหล้า ออกยา
ขอลูก แฟนไม่มาสู่ขอ คู่สมรสตีจาก
ถูกกล่าวหาต้องขึ้นโรงขึ้นศาล
ไปทำมาหากินต่างถิ่นนักการเมืองทุกระดับ
ฯลฯ
อีกเหตุผลหนึ่งคือเมื่อตอนที่สร้างวิหารเสร็จต้องการชื่อเพื่อจารึกตรงวิหารด้านหน้า ตรงซุ้มประตูทางเข้าดังที่เห็นในปัจจุบัน
วัดโชคชัยโนนขวาง
เพื่อขอจดทะเบียนในการเป็นวัด
ที่สมบูรณ์ถูกต้องตามพระราชบัญญัติของกรมการศาสนา พระครูวิธูรถาวรกิจ จึงขอใช้ชื่อ
หลวงปู่กับลักษณะภูมิศาสตร์เข้าด้วยกัน
ซึ่งมีสภาพเป็นเนินหรือโนนขวางตามแนวตะวันจึงได้ชื่อวัดว่า “วัดโชคชัยโนนขวาง” จนถึงปัจจุบันนี้
วันที่ 29
กันยายน พ.ศ. 2541
วัดโชคชัยโนนขวางได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มีนายอำเภอ
กำนันท้องที่
พี่น้องชาวตำบลนาโพธิ์
ตำบลเมืองทองทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสได้มาปักเขตเรียบร้อยแล้ว
ต่างรู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีหาที่เปรียบมิได้
เพื่อให้เป็นการถูกต้องตามกฎระเบียบและพระวินัย จึงได้ร่วมกันจัดงานพิธีพุทธาภิเษกผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต
และสมโภชหลวงปู่โชคชัยขึ้น
พุทธคุณหลวงปู่โชคชัย
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคล
ได้เล่าสืบต่อกันมาหลายท่านด้วยกันแต่ผู้เรียบเรียงขอยกตัวอย่างที่ได้เกิดขึ้นจริงและมีประจักษ์พยานพอสิบค้นได้ เช่น
1. โจรขโมยสังกะสี
เมื่อ พ.ศ.
2480
มีโจรในบาปมาขโมยเอาสังกะสีไปสมัยนั้นการคมนาคมมีแต่เดินเท้าและนั่งเกวียน จะติดต่อขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สะดวก
จึงได้แต่จุดธูปเทียนขอบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตามสังกะสีกลับคืนมา
ซึ่งสมใจชาวบ้านที่อยู่มาถึงปีมีสังกะสีกลับมากองอยู่ข้างๆหลวงปู่ หลายแผ่น
ชาวบ้านดีใจเป็นอย่างยิ่ง
เกิดศรัทธาอันแรงกล้า
ซึ่งในสมัยนั้น นายพัฒน์ อินตะโคตร
เป็นผู้ใหญ่บ้านมือปราบอยู่บ้านตำแยที่ปกครองในเขตนี้ ก็สามารถตามจับตัวผู้ที่ขโมยสังกะสีได้
สืบความว่าเป็นชาวบ้านมาจากอำเภอจตุรพักตรพิมาน และได้ส่งตัวให้ทางการดำเนินคดีต่อไป
2. ขอเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง
ท่านขุนปราจิณ ธานี
เห็นว่าเป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่
จึงกราบไหว้บนบานขอให้ได้เลื่อนยศสูงขึ้น
ท่านก็ได้สมความปรารถนา คือ ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นปลัดจังหวัด จึงได้ถวายเงินจำนวน 1,100
บาท ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ
ได้นำเงินจำนวนดังกล่าว
สร้างแท่นถาวร
และซ่อมพระกรซ้ายพระเจ้าหลวงที่แตกร้าวให้สมบูรณ์ เมื่อซ่อมเสร็จท่านขุนปราจิณ ธานี
ได้ถวายทองคำเปลวร่วมกับชาวบ้านปิดพระเจ้าหลวงจนเต็มองค์อย่างที่ท่านเห็นในปัจจุบัน
3. ขอบุตรชาย
อดีตท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายประมูล
จันทรจำนง
ได้มาขอบุตรชายจากหลวงปู่
ท่านได้สมความปรารถนาจึงได้มาทำบุญกับหลวงปู่โชคชัยโดยถวายปูนซีเมนต์ จำนวน
100 ถุง
พร้อมกับเข้าราชที่ติดต่อมาด้วยในวันงานวางศิลาฤกษ์
4. สิ่งของสูญหาย
มีหมอลำคณะรังสิมันต์ ของฉวีวรรณ
ดำเนิน
ได้มาบนบานขอหลวงปู่ให้ช่วยเรื่องเครื่องดนตรีได้สูญหายไปทั้งชุดปรากฏว่าได้สมความปรารถนา
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกมามายที่ผู้คนต่างพากันมาพึ่งพระบารมีของหลวงปู่โชคชัยเป็นจำนวนมาก แม้แต่ผู้เรียบเรียงประสบด้วยตนเอง
ท่านใดที่ยังไม่ได้มากราบไหว้ก็ขอเชิญมาพิสูจน์ด้วยตนเองได้เลย
ประวัติย่อ
พระครูวิธูรถาวรกิจ (มา
หล่อวัฒน์)
วัดโพธิ์ศรีสะอาด บ้านนาโพธิ์
ตำบลนาโพธิ์
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด
กำเนิด
พระครูธูรถาวรกิจ (มา หล่อวัฒน์)
เกิดวันที่ 28 เมษายน
2446 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น
3 ค่ำ เดือน
6 ปีเถาะ ที่บ้านงิ้วเหนือ ตำบลพลับพลา
อำเภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงแก่มรณภาพ วันที่
9 กุมภาพันธ์ 2534
บิดาชื่อ นายหนู หล่อวัฒน์
มารดาชื่อ นางผาย หล่อวัฒน์
การศึกษา
จบชั้น ป.3
จากโรงเรียนวัดพลับพลาชัย
ตำบลพลับพลา อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
จบชั้น ม.3 จากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ศึกษาด้วยตนเองสอบได้ประโยคครูพิเศษมูล (พ.) ประโยคครูพิเศษประถม (พ.ป.) เทียบความรู้ชั้น ม.6
สอบได้นักธรรมชั้นโท
สำนักวัดสุทัศน์
อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด
การบรรพชาอุปสมบท
อุปสมบทวันที่ 18 พฤษภาคม
2465 ถึงวันที่ 9
กุมภาพันธ์ 2534 รวม
69 พรรษา พระปลัดชม
อุปัชฌายะ
สมณศักดิ์
2496 ให้เจ้าอธิการมาวัดโพธิ์ศรีสะอาด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระครูวิธูรถาวรกิจ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท
การเผยแพร่การศึกษา
2462
ได้รับแต่งตั้งเป็นครูประชาบาลวัดบ้านหนองพอก อำเภอหนองพอก
จังหวัดร้อยเอ็ด
2464 ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลนาโพธิ์ (วัดบ้านนาโพธิ์) อำเภอเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
2484
ย้ายอาคารเรียนจากวัดสร้างเป็นอาคสรเอกเทศถาวร ขนานนามว่าโรงเรียนบ้านนาโพธิ์ (สหพันธ์พิทยาภรณ์)
ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารและสอนจนเกษียณอายุราชการ ปี 2506
เปิดสำนักศึกษาสอนนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณร
ส่งเสริมสนับสนุนครูสอนนักธณรมให้ได้รับสิทธิบางอย่าง เปิดอบรมวิชาชุดครู พ.,
พ.ป.
มีครูประถมศึกษาประจำการและครูสอนปริยัติธรรมเข้ารับการอบรม ทำให้ครูประจำการได้รับเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น ครูสอนปริยัติธรรมได้วุฒิทางครูไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูได้เป็นจำนวนมาก
2526
ได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูต
ปฏิบัติหน้าที่มาจนถึง 2534
งานปกครอง
-
2468
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีสะอาด จังหวัดร้อยเอ็ด
-
2473
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลนาโพธิ์
จังหวัดร้อยเอ็ด
-
2480
ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
ความชำนาญพิเศษ
2471
สร้างกุฏิ 1 หลัง
มูลค่า 1,200.00 บาทเศษ
ชำรุดรื้อถอนแล้ว
2513
สร้างศาลาการเปรียญขนาด 16 x 20 เมตร มูลค่า
50,000 บาท
2514
สร้างกุฏิขนาด 7 x 21 เมตร มูลค่า
40,000 บาทเศษ
2519
สร้างวิหารวัดโชคชัยโนนขวาง
มูลค่า 2,200,000 บาทเศษ
2532
สร้างอุโบสถวัดโพธิ์ศรีสะอาด
มูลค่า 2,700,000 บาทเศษ
เป็นผู้นำสร้างถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านภายในตำบลและเชื่อมระหว่างตำบลต่อตำบลใกล้เคียงทำให้
การสัญจรไปมาสะดวกดีขึ้น
อุดมการณ์
พูดจริง ทำจริง
มักสันโดษ
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ .ประวัติหลวงปู่โชคชัยโนนขวาง วัดโชคชัยโนนขวาง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น