6/7/67
ประวัติพระครูสิริธรรมโกวิท (หลวงพ่อสายทอง สิริธมฺโม)วัดดอนเกลือ จังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติพระครูสิริธรรมโกวิท (ฉบับย่อ)
พระสายทอง สิริธมฺโม หรือ สายทอง ร่มศรี
สถานะเดิม
ชื่อ สายทอง นามสกุล ร่มศรี เกิดปี ระกา วันที่ ๗ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐ บิดาชื่อ นายเจริญ มารดาชื่อ นางหมุน นามสกุล ร่มศรี บ้านเลขที่ ๔๖ หมู่ ๑๑ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ยายหมุนเล่าว่าหลวงพ่อทองในวัยเด็กขยันมาก หาเงินเก่ง รับจ้างทำทุกอย่างที่ได้เงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจักสานทุกชนิดทำได้หมด ประกอบกับโยมบิดาเป็นพ่อค้าเส้นไหมรับซื้อเส้นไหมในท้องถิ่นแล้วนำไปขายที่บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ยายหมุนก็ทอผ้าไหมขาย ด้วยความที่หลวงพ่อทองต้องการช่วยครอบครัวหาเงิน ท่านก็ได้ดูได้ถามมารดาจนเก่งเรื่องทอผ้าและรับจ้างมัดหมี่ขายช่วยมารดาเพื่อหารายได้ หลวงพ่อทองก็ใช้ชีวิตปกติทั่วไปเหมือนเด็กหนุ่มตามชนบท ทำนา ทำสวน เลี้ยงควาย หาปูหาปลา และที่ชอบที่สุดคือขึ้นต้นตาลหานกเอี้ยงไปขาย ต้นตาลในระแวกนั้นต้นไหนที่หลวงปู่ไม่ได้ขึ้นไปจับนกเอี้ยงไม่มี แต่เรื่องเรียนเพื่อนรุ่นเดียวกับหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อตอนเรียนหนังสือนั้นอ่านไม่ได้เขียนไม่ออกเลย แต่ความจำเรื่องอื่นๆกลับดีกว่าเพื่อน มีความสามารถหลายอย่าง เมื่อถึงวันพระหลวงพ่อจะไปวัดกับยาย คนอีสานสมัยก่อนเมื่อถึงวันพระ จะมีการลงวัดในช่วงบ่าย พระก็จะตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณให้ญาติโยมได้ไปฟังเทศน์ที่วัด การเทศน์ในสมัยก่อนจะเทศน์จากใบลานที่เขียนด้วยตัวธัมอีสานเป็นเรื่องราวนิทานต่างๆอิงธรรมะ หลวงพ่อฟังครั้งเดียวก็สามารถจำได้ พอกลับมาบ้านก็ให้ยายเล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้ฟัง แม้กระทั้งกาพย์ กลอน ผญาอีสานต่างๆ ทุกคืนก่อนนอนยายจะเป็นคนเล่าให้ฟังหลวงพ่อก็จำเอา เพราะหลวงพ่ออ่านหนังสือไม่ออกเลยอาศัยความจำดี ในช่วงนั้น วัดสุดารังสรรค์ บ้านค้อชา ทำการบูระโบส์ใหม่ ได้ช่างมาบูรณะโบส์คือ พ่อใหญ่จารย์ครูคำหมา แสนงาม ( ดร.คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติ) เมื่อเวลาว่างหลวงพ่อทองจะชอบไปเล่นกับช่างชอบถามเกี่ยวกับการก่อสร้าง การปาดลาย ต่างๆจนบางทีโยมบิดาได้มาตามกลับบ้านก็หลายครั้ง (ในส่วนนี้ขอยกไปเขียนในรายละเอียดประวัติหลวงปู่ฉบับเต็ม)
เมื่อหลวงพ่อทอง จบ ป.๔ ท่านก็มาช่วยบิดา มารดา เลี้ยงน้อง และทำนา เลี้ยงควาย หารายได้ช่วยครอบครัว หลวงพ่อทองเล่าให้ฟังว่า ท่านไปเลี้ยงควายกับพวกผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ผู้ใหญ่เห็นแววในตัวหลวงพ่อ จึงสอนวิชาให้ นั้นก็คือพวกวิชา เป่ากำเลิศ,เป่าขี้เข็บตอด แมลงงอดตอด ปลาดูกตอด,ขัดเลือดพวกตกต้นไม้ ควายชน ฯ,เป่างูสวัด,เป่าบาดแผลต่างๆ,เป่างูตอด,เป่าคาถาใส่น้ำสะเดาะก้างติดคอ ตำราวิชาพวกนี้ได้มาจากพ่อใหญ่พรหม บ้านค้อชา ซึ่งเป็นคุณตาของหลวงพ่อทอง (ประสบการณ์จะอยู่ในประวัติหลวงพ่อสายทองฉบับเต็ม)
โยมบิดาของหลวงพ่อสายทอง เป็นโยมอุปฎฐากหลวงปู่พระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่สังข์) โยมบิดาหลวงพ่อทองบวชเรียนจนจบนักธรรมชั้นเอก ในสมัยนั้นเขาจะให้ไปเป็นตำรวจแต่โยมบิดาหลวงพ่อสายทองไม่ไป เลยลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัวทำงาน ตัวหนังสือของโยมบิดาหลวงพ่อสายทองนั้นสวยมากๆผู้เขียนได้เห็นเมื่อตอนไปบ้านยายหมุน ทุกวันตาเริญก็ออกไปวัดไปทำหน้าที่อุปฏฐากหลวงปู่สังข์บางวันก็จะพาลูกชายไปด้วย มีอยู่วันหนึ่งตาเริญพาลูกชายไปอุปฏฐากหลวงปู่สังข์ หลวงปู่สังข์เลยให้คาถาแก่หลวงพ่อสายทอง นั้นคือคาถา “เทวธรรม” (ซึ่งหลวงพ่อทองนำมาเขียนคาถาทำเหรียญ รุ่น ๒ หลังยักษ์) มนต์คาถาบทนี้หลวงปู่สังข์บอกว่า กันผีส่างนางไม้กันผีต่างๆ แล้วหลวงปู่สังข์ก็นำพาหลวงพ่อทองท่องจำ จนท่องจำได้ในคืนนั้น (ประสบการณ์มีต่อในประวัติฉบับเต็ม)
เมื่อหลวงพ่อทองอายุครบบวช ประกอบกับน้องชายน้องสาวสามารถเลี้ยงตัวเองได้แล้ว และในปีนั้นก็แล้งมาก งานการสมัยก่อนก็ไม่ค่อยมีทำ ยึดอาชีพทำหน้าเป็นหลัก คุณตาเริญจึงพาบุตรชายไปกราบปรึกษากับท่านพระครูวิจิตรปัญญาคุณ เพื่อให้บุตรชายได้บวช
อุปสมบท
วันที่ ๒๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
ณ พัทธสีมาวัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
พระอุปัชฌาย์ ชื่อ พระครูวิจิตรปัญญาคุณ วัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
พระกรรมวาจาจารย์ ชื่อ พระชาย ฉายา ชาคโร วัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
พระอนุสาวนาจารย์ ชื่อ พระอธิการสมาน ฉายา ครุธมฺโม วัดศรีธาราม ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
-พอหลวงพ่อทองอุปสมบทเข้ามาทุนเดิมคืออ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ บวชเข้ามาก็ต้องมีการสวดมนต์ให้ได้ หลวงปู่สังข์รู้ว่า พระสายทองอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เลยให้พระอาจารย์สำเนียง ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติประจำสำนักวัดสุดารังสรรค์ เป็นครูผู้สอนให้ เริ่ม จาก ก.ไก่ ก็คือเริ่มนับหนึ่งใหม่หมดเลยเพราะไม่มีพื้นฐานอะไรมาเลย เพราะท่านทำแต่งาน พออ่านออกเขียนได้บางแล้วประกอบกับความจำหลวงพ่อดีมากท่านเห็นใบลานที่จารด้วยตัวธัมอีสาน ท่านก็เอามาดูหลวงปู่สังข์เลยเห็นถึงความพยายามเลยสอนการเขียนการอ่านตัวธัมอีสานให้หลวงพ่อสายทอง
-ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โยมบิดาหลวงพ่อได้มาเสียชีวิตอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งในสมัยนั้นบ้านค้อชามีผีปอบ หลวงพ่อสายทอง ได้ ๔ พรรษา พอมีคนมาแจ้งในวัดว่า พ่อใหญ่เริญ เสียชีวิต ผู้ซึ่งเป็นโยมอุปฎฐากหลวงปู่สังข์ ค่อยพาท่านไปหาหมอ ทำทุกอย่าง หลวงปู่สังข์รักลูกศิษย์คนนี้มาก ไปที่ใดก็จะให้นายเริญติดตามไปด้วยแม้กระทั่งพาไปเขียนตระกรุดช่วยหลวงปู่ขัน วัดท่าสะแบงก็พาไปด้วย หลังจากได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของคุณตาเริญ หลวงปู่สังข์ก็ร้องให้ออกมาเลย พอโยมไปบอกหลวงพ่อทองท่านก็ร้องให้โวยวาย น้องชายหลวงพ่อเล่าว่า พระพี่ชายร้องให้เอาเท้ากระทืบพื้นศาลาไม้เกือบพื้นศาลาหักหลวงปู่สังข์ก็ร้องให้กันคนละฝั่งศาลากับพระพี่ชายของตน นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น้องชายคนสุดท้องหลวงพ่อเล่าให้ฟัง
-ก่อนหน้าที่โยมบิดาหลวงพ่อทองจะเสียชีวิต ตัวท่านเองก็ได้ไปศึกษาวิชาคาถาไว้บ้างแล้ว พอโยมบิดามาเสียชีวีตด้วยอาการที่ไม่ทราบที่ไปที่มาไม่รู้สาเหตุอยู่ๆก็ล้มลงกับพื้นสิ้นใจไป น้องชายหลวงพ่อเล่าว่าพระพี่ชายเก็บความโกธรแค้นไว้ข้างใน เพราะเชื่อว่าการตายของโยมพ่อมาจากสิ่งที่มองไม่เห็นในตอนนั้น ก็เริ่มไปเรียนวิชาจากหมอธรรมอีสานหลายอาจารย์อย่างจิงจัง (รายละเอียดเดียวเพิ่มเติมในประวัติหลวงพ่อทองฉบับเต็มนะครับ) จะขอไล่เรียงครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามาด้วย ดังต่อไปนี้
- ๑.พ่อใหญ่ไทยเวศ บ้านค้อชา หลวงพ่อเล่าว่าพ่อใหญ่เวศเป็นคนไม่ชอบพูด น่าจะเห็นแววในตัวหลวงพ่อเลยเล่าให้ฟังและสอนคาถาเลขยันต์ให้ ซึ่งพ่อใหญ่ไทยเวศ เคยไปบวชอยู่กับ “หลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่น อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดาธานี” หลวงพ่อทองเล่าว่าหลังพ่อใหญ่ไทยเวศเต็มไปด้วยรอยสักที่สักมาจากตอนไปบวชอยู่กับหลวงปู่พิบูลย์ ๔ ปี ซึ่งท่านเล่าให้หลวงพ่อฟังต่อว่า ตอนที่ไปอยู่ที่นั้นมีหลวงปู่พิบูลย์ และตาผ้าขาวผมยาว อยู่ที่วัดนั้นและลูกศิษย์ลูกหามาก หลวงพ่อได้ตำราวิชาคาถา เลข ยันต์ จากพ่อใหญ่ไทยเวศ ซึ่งไปเรียนมาจากหลวงปู่พิบูลย์ และตาผ้าขาวผมยาว
- ๒.ญาครูบุญมี เป็นคนบ้านขมิ้น บ้านเดียวกันกับเจ้าคุณโมง ญาครูบุญมีไปบวชเรียนที่วัดบ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นับว่าเป็นพระผู้ทรงคุณอีกรูปหนึ่งในตอนนั้น ท่านจบมูลกันจายน์ และได้ศึกษาวิชาอาคมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายรูปหลายท่าน ท่านจึงกลับมาอยู่บ้านเกิดคือวัดอินทราราม บ้านขมิ้น ตำบลเทอดไทย พอโยมบิดาหลวงพ่อสายทองได้ทราบข่าวว่าญาครูบุญมีกลับมาอยู่บ้าน ซึ่งถ้านับญาติญาครูบูญมีก็เป็นปู่หลวงพ่อทองเพราะเป็นญาติฝ่ายพ่อ ก็พาบุตรชายไปกราบปู่ จากนั้นมาไม่ว่าพ่อใหญ่เริญจะมีสิ่งของอะไรก็มักจะให้บุตรชายนำไปฝากปู่ โดยเดินไปจากบ้านค้อชาไปบ้านขมิ้นเป็นประจำ เด็กชายทองก็เริ่มสนิดกับปู่ ญาครูบุญมีเห็นหลานชายมีแววในเรื่องวิชาอาคมเลยสั่งให้พ่อใหญ่เริญมาหาที่วัดพร้อมกับบูตรชายในช่วงนี้หลวงพ่อทองเริ่มโตเป็นหนุ่มแล้วใกล้จะบวช ท่านเลยให้ยกขันครูถ่ายทอดวิชามอบตำราให้พร้อมกับให้พานเงินที่ยกครูมาด้วย หลวงพ่อก็ใช้มาถึงปัจจุบันนี้
- ๓.พ่อใหญ่จารสา หรือ จารธรรมสา หรือ พ่อใหญ่เจ๊กสา ธรรมห้องนี้พ่อใหญ่ธรรมสาได้มาจากพระกรรมฐาน เมื่อครั้งเดินทางไปไหว้พระธาตุพนม แล้วได้นอนค้างคืนที่นั้นไปเจอพระกรรมฐานที่มากราบพระธาตุพนมเหมือนกัน ธรรมที่พ่อใหญ่ธรรมสาใช้รักษาคนจะเป็นในด้านปราบผี เสียพิษไฟ (มีในยูทูปช่องสายบุญ สายทอง เรื่องธรรมพ่อใหญ่เจ๊กสา) ที่มีคนมาเล่าประสบการณ์คือ ใช้ลิ้นเลียท่อนไม้ที่ใช้ก่อไฟในการอยู่กรรมของคนสมัยเก่า เอาลิ้นเลียถ่านไฟแล้วเป่าจนไฟก่องนั้นจะดับหมอ และใช้จอบเผาไฟแล้วเอาเท้าเหยียบแผ่นเหล็กมาเหยียบตามตัวคนป่วยเพื่อรักษา
- ๔.ครูบาอาจารย์ธรรมห้องนี้จะเป็นธรรมที่สืบทอดกันมาในวงศ์ตระกูล จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ที่ไปนำมาชื่อพ่อใหญ่ครูเพ้ง (มีในยูทูปช่องสายบุญ สายทอง) พ่อใหญ่ครูเพ้งเป็นคนบ้านดอนเกลือ แล้วไปเป็นครูที่ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด ท่านได้ตำรามาจากเณร ซึ่งเณรรูปนี้เคยเป็นลูกศิษย์ที่ท่านเคยสอนในโรงเรียน จบ ป.๔ แล้วไปบวชเณรแล้วออกธุดงค์กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ไปเขาพระวิหาร แล้วไปเจอตาผ้าขาว เลยพากันไปขอเรียนวิชาด้วย (ตำนานพระสังข์หรือพระอุปคุตเขมร จะเริ่มจากตระกูลนี้ ไปฟังเพิ่มในยูทูปช่อง สายบุญ สายทอง) จากนั้นครูเพ้งได้เจอกับเณรลูกศิษย์ เลยได้ตำราวิชาห้องนี้มา ท่านก็ดังในเขตอำเภอหนองฮี พอท่านกลับมาเยี่ยมบ้านก็มีผีเข้าคนท่านก็รักษา คนระแวกนี้เริ่มรู้จักในพุทธคุณของพ่อใหญ่ครูเพ้ง รวมไปถึงพระปลัดบุญเทิง เป็นพระคู่สวดนาคให้กับหลวงปู่พระครูขันติภิรมย์ (หลวงปู่ขัน วัดท่าสะแบง) ท่านจึงเดินทางไปเรียนวิชากับพ่อใหญ่ครูเพ้งที่อำเภอหนองฮี ต่อจากนั้นเมื่อพระปลัดบุญเทิงจะสึก เลยมอบตำราวิชานิให้แก่หลวงปู่พระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่สังข์) ซึ่งหลวงปู่สังข์กับปู่ปลัดบุญเทิงเป็นลูกพี่ลูกน้องกันต่อมาหลวงปู่สังข์ก็ได้ไปเป็นพระคู่สวดนาคให้กับหลวงปู่ขันวัดท่าสะแบง แทนพระปลัดบุญเทิง หลังจากได้ตำราวิชา ท่านก็ศึกษาแล้วได้ชวน พ่อใหญ่ธรรมหล้า ซึ่งเป็นน้องเขยพ่อใหญ่ครูเพ้ง ไปต่อห้องวิชาที่อำเภอหนองฮี ในช่วงนี้เป็นช่วงที่โยมบิดาหลวงพ่อสายทองเสียชีวิต หลวงปู่สังข์ท่านเมตตาและสงสารหลวงพ่อทองมาก ท่านเลยให้พ่อใหญ่ธรรมบุญเทิง และพ่อใหญ่ครูเพ้ง นัดกันมาในโบสวัดสุดารังสรรค์เพื่อมายกขันวิชาธรรมห้องนี้ให้หลวงพ่อสายทอง ธรรมวิชาของ ๓ อาจารย์นี้เป็นธรรมเดียวกันทั้งหมด พุทธคุณไปในทางรักษาผู้คนปราบผี แต่จะมีเพิ่มเติมมาคือหลวงปู่สังข์ซึ่งถือว่าหลวงปู่ขันวัดท่าสะแบงท่านเมตตาหลวงปู่สังข์มาก ท่านก็มอบคาถาวิชาที่ได้มาจากหลวงปู่ขัน วัดท่าสะแบง ส่งต่อให้หลวงพ่อสายทองยกขันครูต่อจากท่าน
- ๕.จารครูบุญมี บ้านนาแพง บวชเป็นเณรโตแล้วเดินทางไปเรียนบาลี ที่วัดสุดปัฏ จังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้นสำเร็จลุน ท่านดังมากในแถบอีสาน สามเณรบุญมีได้ยินชื่อเสียงเลยทิ้งการเรียนข้ามแม่น้ำโขงไปเรียนวิชาอาคม และเป็นเณรอุปฎฐากหลวงปู่สำเร็จลุน ๔ ปีกว่า แล้วจึงลาท่านกลับมาบวชพระที่บ้าน แล้วลาสิกขาออกมามีครอบครัวที่บ้านนาแพง ท่านก็มาทำการรักษาผีไท้ ผีแถน ผีฟ้า โดยการรักษาเหมือนกันกับหลวงพ่อทองรักษาในปัจจุบันนี้คือ พอตั้งคายรักษาเสร็จก็ให้อยู่ภายในบ้าน ๗ วัน ๗ คืน ลูกศิษย์ลูกหาเยอะมาก หลวงพ่อได้ไปสือทอดวิชานี้มาตั้งแต่สมัยท่านบวชใหม่ๆ ธรรมที่ได้จากพ่อใหญ่จารครูบุญมี จะเป็นทางด้านรักษาผู้ป่วยที่โดยมีเข้า ปราบผี คาถาที่ใช้จานตระกรุด และแผ่นทอง และที่สำคัญคือการดูดวง
- ๖.จารคำ พ่อใหญ่จารคำเป็นคนบ้านค้อชา แต่ไปค้าขายจนไปมีครอบครัวที่บ้านค้อใต้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ในสมัยก่อนบ้านสะแบงเป็นท่าเรือที่มีพ่อค้าคนไทยและจีนมาค้าขายเป็นจำนวนมาก ถือว่าคึกคักมากในสมัยนั้นเลย ล่องเรือมาแลกเปลี่ยนสินค้า ในสมัยนั้นหลวงปู่ขัน โดยพวกโซ่ ข่า ใส่ของถ้าพูดแบบภาษาบ้านๆก็ ใส่ของจนหำหดเข้าท้อง(รายละเอียขอไปเล่าในประวัติฉบับเต็มนะครับ) ลูกศิษย์ทั้งพระทั้งโยมต่างหาหมอมารักษา รวมไปทั้งหมอธรรม ก็ไปประกาศหาที่ท่าเรือ ว่าใครรักษาถอดของได้ พอดีพ่อใหญ่จารคำมาค้าขายพอดี พอลูกศิษย์รู้ว่าคนนี้รักษาได้ก็รีบนำตัวไปรักษาให้กับหลวงปู่ขันโดยทันที ท่านก็หายในวันนั้นเลย ท่านก็มาพักที่บ้านญาติพี่น้องที่บ้านค้อชา หลวงพ่อทองจึงไปเรียนวิชาด้วย ธรรมของพ่อใหญ่จารคำ ส่วนมากจะเป็นธรรมพวก ถอดของ และ ใส่กลับคืน
- ๗.พระครูธวัชชัยคุณ วัดโกศลรังสฤษฏ์พัฒนา บ้านอุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงพ่อเล่าว่า หลวงพ่อบ้านอุ่มเม้า กับ หลวงพ่อบ้านท่าบ่อ (พระครูพิรุณห์ธวัชชกิจ) วัดอยู่ใกล้กันเลยชวนกันไปเรียนวิชากับหลวงปู่ทองมา ถาวโร บ้านท่าสี
- ๘.หลวงปู่พระมหาบำเพ็ญ ฐิตธมฺโม วัดป่าเรไรย์สันติธรรม บ้านไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่มหาบำเพ็ญ หลวงพ่อเล่าให้ฟังธรรมของหลวงปู่มหานี้แรงข้อห้ามเยอะ บอกเลขแม่นมากในสมัยนั้น ก่อนท่านจะมรณะภาพท่านสั่งลูกศิษย์ลูกหาที่ขึ้นของรักษากับท่านว่าถ้าหมดท่านแล้วให้ไปอยู่ของรักษากับหลวงพ่อบ้านด้อนเกลือ เห็นตัวเล็กๆแบบนั้น ข้างในไม่ธรรมดา นี้คือคำบอกเล่าที่โยมบ้านไผ่เล่าให้ฟัง นับจากหลวงปู่มหามรณภาพไป ชาวบ้านสังข์ บ้านงิ้ว บ้านไผ่ คนในระแวกนั้นก็มาขึ้นของรักษากับหลวงพ่อทองจนถึงทุกวันนี้
- ๙.เสือธี หรือ พ่อใหญ่หมอลำธี หลวงพ่อเล่าว่าพ่อใหญ่ธีเป็นหมอลำที่มีความจำเป็นเลิศ หลวงพ่อได้อ้อป่องมาจากหมอลำธี ในวิชาของพ่อใหญ่ธีนี้ส่วนมากจะเป็นทางด้านใส่คน และคาถาต่างๆ มีครั้งหนึ่งพ่อใหญ่ธีไปนอนนาช่วงเก็บเกี่ยวข้าว อยากกินต้มไก่ ไม่รู้แก่ทำยังไงไก่จากในหมู่บ้านเดินออกมาหาแก่ที่เถียงนา แต่คาถานี้ต้องระวังไม่ให้ขนไก่ติดตัวเข้าไปในหมู่บ้าน ถ้าเกิดขนไก่ติดตัวเข้าไปในหมู่บ้านกี่เส้นก็เป็นปอบเท่ากับขนไก่ที่ติดตัวมา
- ๑๐.พระครูมนูญชยาจารย์ ศิษย์เอกหลวงพ่อพระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่บุดดา บ้านหนองเต่า) หลายคนอาจสงสัยชื่อคล้ายกันกับหลวงปู่สังข์ เพราะพระครูวิจิตรปัญญาคุณ เมื่อหลวงปู่บุดดา บ้านหนองเต่ามรณภาพแล้ว หลวงปู่สังข์ถึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู ในราชทินนาม พระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่สังข์) วัดสุดารังสรรค์ บ้านค้อชา หลวงพ่อสายทองมีความสนิดกับหลวงปู่มนูญ มากถือว่าท่านเมตตาต่อหลวงพ่อทอง ท่านก็มอบตำราวิชาของหลวงพ่อบ้านหนองเต่ามาให้หลวงพ่อคัดลอกไว้(ประสบกการณ์รายละเอียดต่างๆจะลงในประวัติฉบับเต็มนะครับ)
- ๑๑.พระครูวรชัยชินาภรณ์ (หลวงปู่เคน) วัดโพธิ์ศรีไชยวาน อ.เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยความที่ว่าหลวงปู่เคนเป็นคนที่ดุมากตามคำบอกเล่าคนในสมัยนั้น พอดีโยมอุปัฏฐากหลวงปู่เคนมานิมนต์หลวงพ่อทองไปงานที่บ้านนั้น ขากลับหลวงพ่อทองเลยขึ้นไปกราบหลวงพ่อเคนบนกุฎิ ทั้งๆที่ท่านทั้งสองไม่รู้จักกันมาก่อน ต่างฝ่ายต่างได้ยินชื่อเสียงของกันและกัน พอหลวพ่อทองขึ้นไปกราบบนกุฎิ พอกราบเสร็จหลวงพ่อทองก็พูดเสียงดังขึ้นว่า “นี้เบาะขน้อยหลวงพ่อเคนด่าเก่ง ขน้อยได้ยินแต่ข่าวนำโยมว่าหลวงพ่อด่าคนเก่งแท้ติ อย่าด่าโยมคักหลายระวังบ่มีคนมาส่งข้าวให้ฉันเด้อขน้อย” หลวงพ่อทองเล่าว่า ตอนนั้นหลวงปู่เคนงงมากทำอะไรไม่ถูกเหมือนกันที่เจอของจริงวันนี้ หลวงปู่เคนเลยพูดว่า “ด่าไปตามนั้นละบ่ได้ชังเขาดอก” จากนั้นมาท่านทั้งสองก็สนิดกัน แล้วหลวงปู่เคนจะชอบให้โยมอุปัฏฐากมานิมนต์หลวงพ่องทองให้ไปหาหลวงปู่เคนบ่อยๆ ท่านจะบอกโยมว่า “ยามมีงานหยั้งพวกสูอย่าลืมไปหาลูกชายกูอยู่บ้านดอนเกลือเด้อ” วิชาธรรมของหลวงปู่เคนกับหลวงพ่อทองจะคล้ายๆกัน เวลาทำพีธีจะมีลูกขับนั่งข้างๆ
หลังจากโยมบิดาหลวงพ่อทองได้เสียชีวิต ท่านก็อยู่อุปัฎฐากหลวงปู่สังข์ต่อมาหลายปี แล้วท่านก็ไปอยู่วัดบ้านสามแยก ไปอยู่วัดสระทอง แล้วค่อยไปจำพรรษาที่วัดบ้านโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น ๒ พรรษา กลางวันท่านก็อยู่วัดในหมู่บ้าน กลางคืนท่านจะไปจำวัดที่ป่าช้าบ้านท่อน ท่านก็พาชาวบ้านไปถางป่าสร้างเป็นวัดเป็นที่ปักกลดภาวนาในตอนกลางคืน ณ ปัจจุบันนี้ เป็นวัดป่าบ้านโนนท่อน (มีคลิปที่หลวงพ่อเล่าเรื่องปราบผีวัดป่าบ้านโนนท่อนในยูทูป ช่อง สายบุญ สายทอง) จากนั้นชาวบ้านค้อชาได้ไปแจ้งข่าวให้หลวงพ่อทองทราบว่าหลวงปู่สังข์ป่วยหนักไม่มีคนดูแลอีกอย่างหลวงปู่สังข์ก็สั่งไปกับโยมให้หลวงพ่อทองกลับมาร้อยเอ็ดได้แล้ว
พอท่านกลับมาร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านไม่ได้อยู่ที่วัดสุดารังสรรค์เหมือนเดิม เพราะด้วยเหตุที่ว่า ที่พักสงฆ์บ้านดอนเกลือไม่มีพระ ชาวบ้านดอนเกลือจึงไปนิมนต์หลวงพ่อทองมาอยู่วัดดอนเกลือ สิ่งปลูกสร้างในที่พักสงฆ์บ้านดอนเกลือตอนนั้น มี กุฎิไม้ยกสูงมีอยู่ ๓ ห้อง มีห้องน้ำ ๓ ห้อง มีศาลาไม่แบบอีสานสมัยเก่าที่ยังสร้างไม่เสร็จ บวกกับที่วัดเป็นป่ารก ต้นยางในวัดหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่ามีเกือบร้อยกว่าต้นในตอนนั้น ท่านก็นำพาชาวบ้านมาถากป่า และหลวงพ่อเล่าให้ฟังอีกว่ามีคนในหมู่บ้านบางคนก็มาสบประมาทท่านไว้ว่า มีพระชื่อทองอีกสิบคนก็สร้างวัดไม่ได้ หลวงพ่อเลยเก็บคำสบประมาทนั้นมาเป็นครู เริ่มสร้างวัด แล้วก็เริ่มมีคนมารักษาเรื่อยๆจากเดิมที่ไม่มีเงินพอจะสร้างก็มีญาติโยมที่มารักษาตัวที่วัดนำเงินมาถวายเรื่อยๆ
ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สร้างกุฎิหลังที่ใช้ฉันข้าว
ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างหอระฆัง,สร้างห้องน้ำด้านหน้า
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๖ สร้างโบส,สร้างศาลาหลังเดิม,สร้างเจดีย์ เสร็จภายใน ๓ ปี
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เดิมที่จะฉลองโบส แต่ทางการว่าวัดสร้างยังไม่ถึง ๕ ปี ให้เลื่อนการขอวิสุงคามไปก่อน ท่านเลยได้ฉลองเฉพาะเจดีย์ และปลุกเษกเหรียญหยดน้ำรุ่น ๑
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างหอพระยาวเดิมทีท่านจะสร้างหอพระยาวรอบวัดไปเลยแต่ซื้อที่หลังวัดไม่ได้เลยได้สร้างหอพระยาวหน้ากุฏิหลวงพ่อเพียงเท่านั้น
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สร้างกำแพงรอบวัด,สร้างกุฎิหลวงพ่อ,และกุฏิทางทิศใต้เพื่อเป็นกุฏิรับรองเจ้าคณะภาค
ปี. พ.ศ. ๒๕๔๐ ตัดหวายลูกนิมิต ฉลองโบส
ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สร้างห้องน้ำทางทิศใต้
ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างเมรุ
ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๕ ในสามปีนี้เป็นช่วงที่หลวงพ่อออกหาไม้ที่จะมาสร้างหอไตรและเขียนลายด้วยตนเองรอให้ช่างมาแกะไม้
ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เริ่มสร้างหอไตรกลางน้ำ เสร็จภายในปีนั้น
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ทำบุญฉลองหอไตรกลางน้ำ และออกเหรียญรุ่น ๒ แล้วนำมาอฐิฐานจิตเดี่ยวตลอดไตรมาสเข้าพรรษาในปีนั้น เพื่อที่จะนำไปให้ทหารที่จะลงไป ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นเหรียญที่ระลึกมอบให้ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพซื้อทองคำมาหล่อพระทองคำและพระเงิน
ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ทำพิธีเทอทองหล่อพระพุทธรูปทองคำแท้ และพระพุทธรูปเงินแท้
ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ทำพิธีฉลองพระพุทธรูปทองคำ
ปี พ.ศ.๒๕๕๓ สร้างศาลาดารณีรัตนะ แล้วเสร็จภายในปีนั้น
ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ออกเหรียญ รุ่น ๓ เพื่อทุนในการสร้างตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง
วิทยฐานะ
๑. พ.ศ. ๒๕๑๐. สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียน วัดบ้านค้อชา ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๒. พ.ศ. ๒๕๒๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. พ.ศ.๒๕๕๕ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) สาขาการจัดการเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
งานการปกครอง
๑. พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๒. พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดดอนเกลือ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๔. พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ตำบลบึงงาม
อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๕. พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งให้เป็นผู้รักษาการกิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง
๖. พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอ
ทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
๗. พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรม พระครูธวัชชัยคุณ เจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี ที่พระสมุห์สายทอง สิริธมฺโม
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้า คณะตำบลชั้นตรี (จต.ชต.) ในราชทินนาม ที่ พระครูสิริธรรมโกวิท
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท (จต.ชท.) ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก (จต.ชอ.) ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าคณะอำเภอชั้นโท (จอ.ชท) ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก (จอ.ชอ) ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ (จอ.ชพ) ในราชทินนามเดิม
ความสามารถพิเศษด้านอื่น ๆ
๑.หมอยา หลวงพ่อยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องยาสมุนไพร สามารถรักษาได้หลายๆโรค ตำรายาที่ท่านศึกษาได้มาจากหนังสือก้อม หรือหนังสือใบลานที่คนสมัยเก่าได้จารเป็นตัวธัมลงไว้ในใบลาน หลวงพ่อเคยใช้ผู้เขียนไปหาต้นไม้ ใบไม้ มาให้โยมเมื่อโยมมาปรึกษาในเรื่องอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ทำลูกประคบให้คนป่วยที่มารักษาที่วัด ยาที่หลวงพ่อทำเป็นยาลูกกรก็มีที่ขึ้นชื่อ ตำรายาบ้างส่วนท่านก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่พระครูวิจิตรปัญญาคุณ(หลวงปู่สังข์)
๒.ช่างทำเมรุนกหัสดีลิงค์ ซึ่งหลวงพ่อว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้อะไรนะ เป็นหลักให้ลูกศิษย์ จะให้ปีนขึ้นไปตีตระปูเหมือนเมื่อก่อนก็คงไม่ไหม ทำเพราะชอบ ถ้าไม่ทำรุ่นลูกรุ่นหลานก็ไม่รู้จัก เมื่อก่อนเคยเห็นพ่อใหญ่คำหมา มาทำเมรุนกหัสดีลิงค์ให้หลวงปู่สังข์ในตอนนั้นยังเป็นพระหนุ่มก็ได้แต่ถามและสังเกตจำเอาแล้วก็เอามาทำตัวแรก ก็คือเมรุนกหัสดีลิงค์งานพระราชเพลิงศพหลวงพ่อเจ้าคุณพระราชธรรมโสภณ วัดบูรพาภิราม พระอารามหลวง จากนั้นก็ทำมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนี้
๓.ช่างปั้นพระ หล่อพระแบบอีสานโบราณ ซึ่งต่างจากสมัยนี้เพราะสมัยนี้ใช้ปูนเป็นแกนในและใช้ปูนโอบด้านนอก แต่หลวงพ่อใช้แกนชั้นในเป็นดิน พอขึ้นรูปเสร็จก็นำดินมาโอบอีก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำอย่าง ภาษาช่างจะเรียนว่า งานหล่อดินไทย ซึ่งต้องทำองค์ต่อองค์สังเกตได้จากพระพุทธรูปสมัยเก่าถ้าของแท้ด้านในจะเป็นดินมีรอยถูกเผาแล้วขูดออกยากมากช่างสมัยเก่าเลยไม่ขูดดินแกนในออก ผู้เขียนถามหลวงพ่อว่าใครเป็นอาจารย์สอนหลวงพ่อ ท่านบอกว่าพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม แต่สอนเพียงภาคทฤษฎี ไม่ได้พาลงมือทำ หลวงพ่อมาปั้นเอง มาลองหลอมทองเอง ผสมสัดส่วนทองเอง ครั้งไหนผิด ผิดตรงไหนเอาจุดนั้นมาเป็นครูปรับแก้ไปจนได้ แล้วมีช่วงหนึ่งมีโยมจากบ้านปะอาว มาให้หลวงพ่อรักษาที่วัด และหลวงพ่อก็ได้ไปเสียปอบ (ปราบผี) ที่บ้านปะอาว พอว่างจากงานท่านก็ไปดูการหล่อพระที่บ้านปะอาว ในสมัยนั้นหลวงพ่อว่าถ้าจำชื่อไม่ผิด คือพ่อใหญ่ทองเป็นหัวหน้ากลุ่มช่างบ้านปะอาว ก็ได้ความรู้จากบ้านปะอาวมาก็มาทำที่วัด หลวงพ่อจะหล่อพระถวายเป็นพุทธบูชาทุกปี เมื่อถึงวันมาฆบูชา เพราะท่านถือว่าวันนั้นเป็นวันเกิดตามที่โยมบิดาโยมมารดาบอกมาแบบนั้น
๔.ช่างก่อสร้าง งานปูน นี้ก็เล่าในตอนต้นไปแล้วว่าหลวงพ่อมีความสนใจในงานศิลป์มาก ตอนเด็กชอบไปวัดไปดูทีมช่างพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ที่มาบูรณะโบส ก็ได้สอบถามในเรื่องงานก่อสร้าง งานโครงสร้าง รวมไปถึงการปาดลายปูน
๕.ช่างไม้ งานก่อสร้างเกี่ยวกับงานไม้หลวงพ่อก็ทำได้ โครงสร้างสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดจะเป็นโครงไม้ หลังๆมาท่านไม่มีกำลังไปหาต้นไม้ถึงปล่อยให้ช่างใช้เหล็ก การแกะลวดลายจากไม้ อย่างเช่น วอ หรือ ยาน ที่คนสมัยก่อนเรียก ที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว ที่ใช้สำหรับเจ้านายหรือข้าราชการฝ่ายในใช้นั่งไปที่ต่าง ๆ มีคานรับอยู่ด้านข้าง หรือ ด้านล่างของวอ ใช้คนหาม งานชิ้นนี้หลวงพ่อทำขึ้นมาเพื่อใช้แห่ตอนสมัยที่หลวงพ่อได้เป็นเจ้าคณะตำบลบึงงาม แกะลาย และ ติดกระจกเองทั้งหลัง และยังมีงานอีกหลายชิ้นที่ท่านทำขึ้นมาเอง
๖.ช่างตอกกระดาษ งานด้านนี้หลวงพ่อได้รับรางวัล ได้ขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาของชาติ จากกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้รับรางวัล นาคราช เชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านอีสาน ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดขึ้น หลวงพ่อบอกว่า การเขียนลาย ไม่ว่าจะเป็น ลายปูน ลายไม้ หรือลายกระดาษ ลายเหมือนกัน แต่วิธีเขียนต่างกัน เพราะเวลา จะไปปาดลายปูน ไม่เหมือนแกะไม้ และแกะไม้ก็ไม่เหมือนการตอกกระดาษ ลายกระดาษหลวงพ่อได้เรียนมาจากญาครูจั่น วัดผดุงวิทยา บ้านท่าโพธิ์ ผู้ที่เคยทำรถบั้งไฟเอ้ไปประกวดที่จังหวัดยโสธร ชนะติดกันหลายปี อีกท่านก็เป็นพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติ
๗.กาพย์เชิ้ง ผญาธรรมคำสอน โวหารในการเทศน์ กาพย์เชิ้งบั้งไฟในตอนต้นได้เล่าถึงการที่หลวงพ่ออ่านหนังสือไม่ออก อาศัยยายอ่านให้ฟัง เล่าให้ฟังแล้วหลวงพ่อก็จำเอา ในสมัยหลวงพ่อเป็นหนุ่มน้อย ขึ้นชื่อเรื่องการจ่ายกาพย์เชิ้งบั้งไฟ ผู้เขียนได้ไปหาข้อมูลจากคนแก่ที่เคยได้ฟังและเห็นหลวงพ่อไปเชิ้งบั้งไฟกับคนแก่สมัยก่อน ว่าหลวงพ่อไม่รู้ไปหากลอนเชิ้งบั้งไฟมาจากไหม เมื่อถึงฤดูการประเพณีบุญบั้งไฟพอตกค่ำมาผู้ชายรุ่นมีครอบครัวแล้ว ถ้าภาษาอีสานจะว่ารุ่นพ่อลูกพ่อเมีย ก็มาชวนหลวงพ่อไปเป็นคนจ่ายกาพย์เชิ้ง แล้วให้คณะที่ไปด้วยกันพูดตาม อีกคนก็ตีกลอง บางครั้งไปเชิ้งเกือบสว่างก็มี การเชิ้งบั้งไฟสมัยก่อนการไปจ่ายกาพย์เชิ้งจะไปก่อนวันงานจริงจะไปตอนกลางคืน เพราะกลางวันคนออกไปทำไร่ทำนาไม่มีใครอยู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นกาพย์เชิ้งที่จำจากยายมา และก็มีการดนกลอนสดก็มี บางครั้งก็ลำไปด้วย นี้ก็เป็นอีกหนึ่งความสามารถของหลวงพ่อที่มีความจำดี และเรื่องสำนวนโวหารการเทศน์ เวลาไปเทศน์หลวงพ่อจะมีผญาธรรมอีสานสอนไปด้วย และจะมีนิทานสอนไปด้วย นี้เคยถามหลวงพ่อว่าท่านได้มาจากไหน หลวงพ่อบอกว่า จำพระรุ่นเก่าๆสมัยที่หลวงพ่อไปเข้ากรรม ก็จะมีเจ้าคุณคัมภีร์ธรรมาจารย์ วัดสว่างอารมณ์ หลวงพ่อบอกว่า เจ้าคุณคัมภีร์ เขาตั้งให้สมชื่อท่านจริงๆ ไม่ว่าจะเทศน์ก็เก่ง ยิ่งสวดมนต์ไม่มีใครเทียบได้เลยในสมัยนั้น ท่านก็จำแนวทางการเทศน์และคลองสวดมนต์มาจากเจ้าคุณคัมภีร์ และอีกรูปคือพระครูมนูญชยาจารย์ เมื่อก่อนเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่บุดดา บ้านหนองเต่า ท่านได้ให้ทั้งความรู้หลังการเทศน์และวิชาแก่หลวงพ่อทองหลายอย่าง เพราะหลวงพ่อบ้านหนองเต่าหรือหลวงปู่บุดดา หลวงปู่คัมภีร์ พระครูมนูญ ถ้าไล่เรียงกันดีๆหลวงพ่อบอกว่าก็เหมือนผีเชื้อตัวเดียวกัน พอเจ้าคุณคัมภีร์มรณภาพทีวัดสว่าง เจ้าอาวาสรุปต่อไปก็เป็นพระครูมนูณ ที่ไป
*******************************************
ขอบคุณข้อมูลจาก..Facebook.ขวัญ หยั่งมั่น และกลุ่มหลวงพ่อสายทอง สิริธมฺโม
ประวัติพระอาจารย์อดิเรก อนุตตโร วัดหนองทราย จ.สุพรรณบุรี
อัตชีวประวัติ ของพระอาจารย์อดิเรก อนุตตโร
นามเดิมก่อนอุปสมบท
ชื่อ อดิเรก นามสกุล สว่างศรี
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓
ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเมีย
ต้นตระกูลเดิมทางบิดาเป็นชาวหนองผักนาก
อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี นามสกุล สว่างศรี
ต้นตระกูลเดิมทางมารดา เป็นคนศรีประจันต์
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
นามสกุล มณีวงษ์
บิดาชื่อ นายบุญลือ สว่างศรี
มารดาชื่อ นางสุวิน สว่างศรี
พื้นเพดั้งเดิมเกิดที่ ตำบลหนองราชวัตร
อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
ศึกษาชั้นประถมศึกษา ๑-๖ ที่โรงเรียนบ้านหนองราชวัตร
ศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ๑-๖ ที่โรงเรียนหนองหญ้าไซวิทยา
บรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุ ๑๘ ปีจำพรรษาอยู่ที่
วัดหนองราชวัตร เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี ๖ เดือน ๑๒ วัน
ได้เข้าอุปสมบทในวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
ตรงกับวันจันทร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู
โดยมีพระครูศาสนกิจจานุยุต (หลวงพ่อจำนงค์ นรินฺโท)
เป็นพระอุปัชฌาย์
พระสุรินทร์ กนฺตสีโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระถนอม ปญฺญาวฑฺฒโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เป็นพระภิกษุเมื่อเวลา ๐๙.๔๑ น.
ได้นามว่า พระอดิเรก ฉายา อนุตฺตโร
อดิเรก แปลว่า พิเศษ
อนุตฺตโร แปลว่า ผู้ประเสริฐ , ยอดเยี่ยม
อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองราชวัตรได้ ๓ เดือน ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองทรายจนถึงปัจจุบัน
💠วิทยฐานะ
ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี
ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ สอบรายได้นักธรรมชั้นโท
ปีพ.ศ. ๒๕๕๕ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
ปีพ.ศ. ๒๕๕๘ สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต
คณะสังคมศาสตร์
สาขาการจัดการเชิงพุทธ
💠การแต่งตั้งและดำรงตำแหน่ง
ปีพศ. ๒๕๕๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์
๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๑๖ เมษายน ๒๕๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกา
๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล
หนองราชวัตร
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์
๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ได้รับแต่งตั้งเป็น
พระปลัด
๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ได้รับแต่งตั้งเป็น
พระครูธรรมธร
💠ศึกษาตำราวิชาครูบาอาจารย์
การเขียนเลขยันต์ พระอาจารย์มีความชอบตั้งแต่เด็ก
อายุ ๘ - ๑๐ ขวบ มีหน้าที่เลี้ยงวัวอยู่กับปู่ การเขียนยันต์จะใช้พื้นดินที่เป็นฝุ่นตามไร่นา ใช้มือลูบให้เรียบและฝึกเขียนยันต์ต่างๆ โดยมีปู่เป็นผู้สอนและดูแบบปั๊มเหรียญพระเครื่องของหลวงพ่อมุ่ยและหลวงพ่อต่างๆ
วิชาที่ได้จากปู่ วิชาคัดเลือด เสกน้ำล้างหน้า มหาอุด
คาถายาสูบ ฯ
(ในที่นี้ปู่ของพระอาจารย์มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ในเครือญาติฝ่ายแม่)
💠เรียนตำราสักยันต์ตอนเป็นสามเณร
หลวงตาพัฒน์ หรือ หลวงพ่อพัฒน์ เป็นพระอยู่ทางภาคใต้จังหวัดพัทลุง แกนั่งรถมาธุดงค์ที่จังหวัดกาญจนบุรี
แล้วจะเดินไปวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
แกเดินมาถึงวัดหนองราชวัตรมาขอจำพรรษาในช่วงเข้าพรรษาพอดี หลวงพ่อพัฒน์ ได้สอนพระอาจารย์ในวิชาการสักยันต์ และครอบตำราสักยันต์ สอนกรรมฐานและการทำสมาธิ
( ก่อนหน้านั้นพระอาจารย์ได้ฝึกสมาธิอยู่แล้ว โดยเข้าไปทำกรรมฐานในป่าช้าอยู่เป็นประจำ เมื่อหลวงพ่อพัฒน์มาจำพรรษาก็ได้บอกแนวทางเพิ่มเติม )
เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ก็เริ่มใช้วิชาสักยันต์
ให้ลูกศิษย์ จนมีลูกศิษย์มาสักยันต์มากมาย.
การสักยันต์ของพระอาจารย์อยู่ในช่วงเป็นสามเณรและเป็นพระได้ ๓ เดือน พระอาจารย์ก็หยุดสักจนถึงปัจจุบัน
💠ย้ายมาจำพรรษาณวัดหนองทราย
เนื่องด้วยวัดหนองทรายมีการเรียนการสอนธรรมวินัย
พระอาจารย์จึงมาเรียนและจำพรรษาที่วัดนี้
เรียนได้ ๓ ปีก็สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
💠ตำรับตำราวิชาครูใหญ่แห่งสำนัก
ปีพศ. ๒๕๕๙ พระอาจารย์ได้รับตำราของหลวงปู่อิ่ม
วัดหัวเขา จากปู่วัง สูงปานเขา
ผู้เป็นลูกของปู่เหรียญ สูงปานเขา
เดิมทีของตำรา ในสมัยที่หลวงปู่อิ่มยังมีชีวิตอยู่
ตำราทั้งหมดอยู่ที่วัดหลวงปู่ได้รวบรวมไว้มาก
เปรียบเหมือนตักสิลา ในตำรา
โองการไหว้ครูได้เอ่ยถึงครู มี
ครูหมี ครูเม่น ครูสุข ครูอ่อน ครูแสง ครูแจง ปู่ปลั่ง
ผู้เป็นต้นวิชา
เริ่มต้นหล่อพระวัตถุมงคล หลวงปู่และปู่ปลั่ง
ได้ทำกันในวัด และภายหลังได้มีลูกศิษย์และชาวบ้านมาช่วยด้วย เท่าที่เอ่ยได้มี ปู่เหรียญ สูงปานเขา และ
หลวงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ(ในสมัยหลวงพ่อเย็นเป็นฆราวาส) ในสมัยนี้เองได้มีการจดตำราจากต้นฉบับซึ่งเป็นตำราการหล่อโลหะและผูกยันต์ การผสมโลหะในสมัยนั้นลูกศิษย์ที่เป็นช่างหล่อจะมีตำราทุกบ้าน เมื่อสิ้นหลวงปู่อิ่มตำราครูหัวใหญ่ที่เรียกกัน ยังอยู่ที่วัดจนสิ้นหลวงพ่อแขก
ตำราครูหัวใหญ่ ได้ตกมาอยู่กับปู่เหรียญ สูงปานเขา
และตำราที่จดกันเมื่อสิ้นพ่อ ลูกๆก็นำมาให้ปู่เหรียญเก็บทั้งสิ้น เมื่อสิ้นปู่เหรียญตำราได้ตกมาถึงปู่วัง สูงปานเขา
จนถึงปีพ.ศ ๒๕๕๙ ปู่วังได้ยกครูและมอบตำราทั้งหมดให้พระอาจารย์อดิเรก อนุตฺตโร มาจนถึงปัจจุบัน
ตำราที่พระอาจารย์รับมานับได้ประมาณ ๒๐ กว่าผูก/เล่ม
และเป็นแบบบันทึกลงสมุดเขียนอีกมาก
(ปัจจุบันตำราอยู่ในกุฏิพระอาจารย์)
จะเอาออกทุกปีในวันคำนับครู
💠หัวเขา เกี่ยวเนื่องกับ มะขามเฒ่าอย่างไร
ในสรรพวิชาต่างๆที่หลวงพ่ออิ่มได้รวบรวมมาจากครูบาอาจารย์ ที่ได้เอ่ยชื่อไว้แล้วนั้นมีอยู่มาก แต่ที่ไม่น้อยไปกว่าครูท่านอื่นก็คือ หลวงพ่อจะเขียนไว้ว่าได้มาจากมะขามเฒ่า ของครูสุข
หลวงปู่อิ่มจะเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ศุขแบบเต็มตัว
หรือเป็นสหายธรรมแลกเปลี่ยนวิชากันข้อนี้ตอบยาก
แต่ที่แน่ๆหลวงปู่อิ่มพาหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ไปเรียนได้วิชามามากมายและหลวงปู่อิ่มเรียกหลวงปู่ศุขว่า
"ครูศุขวัดมะขามเฒ่า"
ตำราที่พระอาจารย์รับมาแบ่งเป็น ๓ หมวด
๑. ตำราเลขยันต์คาถาเสก
๒. ตำรายามหาเถร
๓. ตำราโลหะธาตุ
ในตำราที่พระอาจารย์ท่านเรียน ที่หลวงปู่อิ่มได้มาจาก
วัดมะขามเฒ่า มี
ยันต์พุทธมนต์โลก คำอาราธนาครู
พุทธอุด พุทธเมตตา พุทธะรัตนมาลา พุทธเมตตาใหญ่
อิติ พุทธมหานิยม นะฤาชา พุทธสาริกา นะหน้าทอง
นะคุ้มเมือง ยันต์องค์พระ พระคาถาจินดามณี
นะนกยาง นะงู นะมหาระงับ ตารางเพชร เกาะแก้ว
นะสูญยัง ยันต์ประสมธาตุ อาวุธ ๔ นะโมตาบอด
เฑาะว์ทรหด และอีกมากที่พระอาจารย์บอกยังไม่หมด
💠ตำราเลขยันต์คาถาเสก
เริ่มตั้งแต่ ตีนิสิงเห จตุโร เทพอาวุธ พระมหาเถระอุปคุตชนะมาร นารายณ์ ๘ บท มงกุฎพระพุทธเจ้า
จักรแก้วพระพุทธเจ้า องค์การนารายณ์แรง
ทำมงคล พระมหาฉิมพลี พระคาถาเมตตามหานิยม
พระคาถาเสกสิงห์ ลงปลุกหนุมาน ยันต์อาวุธพระพุทธเจ้า
หรือยันต์คู่ชีวิต โสฬสมงคล ยันต์พุทธนิมิตร เสกนางกวักและอีกมากมายขอเอ่ยเท่านี้
เรื่องนะ ๑๐๘ จงดูรอยจารหลังเหรียญ ที่พระอาจารย์ท่านจารให้เถิด
💠ตำรายามหาเถร
ดังที่ลูกศิษย์เคยเห็นพระอาจารย์เคยทำพระทรงครุฑ
กับทรงเม่นเนื้อดิน แต่ยังไม่ครบพิมพ์ มีที่มาจากตำราหลวงพ่ออิ่มดังนี้
"โอมกูจะเชิญพระฤาษีทั้ง ๘ ตน ให้ไปนิมนต์เครื่องพาหนะของพระพุทธเจ้า มีครุฑ เสือ ไก่ เม่น วานร นกกระจาบปลา มาช่วยกู " และยาวจนจบนี้ คือพระคาถา คำกล่าวคาถานี้คือองค์การมหาเถร ตำรายาเป็นของโบราณถ้าทำพระก็จะเชิญเครื่องพาหนะมาไว้ ใต้ล่างจึงเป็น
พระทรงครุฑ ทรงเม่น ในตำรามียางู แก้งูกัดงูพิษคาถาถอนต่างๆ พ่นซาง ทำน้ำมนต์ระงับความ มนต์สะกด
แก้พิษสุนัข แก้คนเสียจริต ธรณีสารและอีกมากมาย
ตำรายามีอยู่ ๕ ผูก
💠ตำราโลหะธาตุ
การหล่อโลหะจากปู่วังมาถึงพระอาจารย์
การทำพระหล่อโบราณแยกออกเป็น ๓ ส่วน
๑. การปั้นหุ่น พระอุปคุตพระปิดตาและพระต่างๆนั้น
ต้องรู้วิธีการหุงขี้ผึ้ง ดังคำที่อาจารย์บอกว่า
ร้อนหุงให้แข็ง เย็นหุงให้อ่อน การปั้นจะเป็นการปั้น
ทีละองค์ จะต้องรู้จักเลขและยันต์ ที่จะแปะลงไป
รู้จักผูกยันต์และปฏิสนธิยันต์ จึงจะสมบูรณ์
๒. การทำดินในและดินนอก รูชนวน/เวลาเผาพิมพ์
รู้จักดินต่างๆที่จะนำมาใช้ รู้สูตรผสมดิน
รู้การเข้าชนวนน้ำโลหะ ความหนาของดินปากเบ้า
ระยะเวลาเผาพิมพ์ การจะเทหล่อโลหะแต่ละชนิด
ใช้เวลาเผาเบ้าพิมพ์ไม่เท่ากันต้องทำนานมาก
๓. การผสมโลหะ เล่นแร่แปรธาตุ หุ่งเมฆสิทธิ์ เมฆพัตร
ผสมสำริดเงิน สำริดทอง ชิน สัตตะ นวโลหะ
ในปัจจุบันหาพระเกจิที่จะสำเร็จ เมฆสิทธิ์
เมฆพัตร ยากมาก สำหรับเนื้อเมฆสิทธิ์หุ่งยากมาก
กว่าพระอาจารย์จะทำสำเร็จใช้เวลา 2 ปีกว่า
สำหรับเมฆพัตรนั้นอันตราย การหล่อต้องรู้ระยะเวลา
หลอมเนื้อโลหะให้ถึงจุด จึงจะหล่อได้สมบูรณ์
💠ในปีพ.ศ. ๒๕๕๙ พระอาจารย์ได้ฝากตัวเป็นศิษย์
พ่อท่านเอียดวัดโคกแย้ม จังหวัดพัทลุง
พ่อท่านผ่องวัดแจ้ง จังหวัดพัทลุง
💠การจัดสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ต้นพระอาจารย์เป็นผู้แกะแม่พิมพ์เองทุกรุ่นทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรุ่นแรก
สมเด็จ พระพิมพ์ต่างๆ รูปเหมือนปั๊ม ทุกอย่างทำด้วยมือ ปั้นหุ่นทีละองค์ หล่อโลหะที่วัด จนถึงปัจจุบัน
💠ในปัจจุบันพระอาจารย์ รวมทั้งคณะลูกศิษย์
และชาวบ้าน ช่วยกันพัฒนาวัดชุมชนโรงเรียนพระอาจารย์ได้จัดสร้างวิหาร ศาลาเรือนไทย เจดีย์ ปรับภูมิทัศน์ และกำลังจะสร้างซุ้มทางเข้าวัด เพื่อให้วัดดูสวยงาม
น่าเข้ากราบไหว้ เป็นประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังสืบไป ฯ
#กราบพระอาจารย์เรก🙏🙏🙏
#พระอาจารย์อดิเรก_อนุตตโร🙏
#วัดหนองทราย จ.สุพรรณบุรี
Cr.ขอบคุณเจ้าของข้อมูล/รูปภาพ
Facebook...Orgte Mile
และกลุ่มลูกศิษย์พระอาจารย์อดิเรก
4/7/67
ขอน้อมถวายมุทิตาสักการะพระธรรมวชิรนิวิฐ(บัวศรี ชุตินฺธโร) สถิต ณ วัดประชานิยม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตร
ตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ
ให้ พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร)
เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีราชทินนามว่า
❖ พระธรรมวชิรนิวิฐ ❖
อุดมสิกขกิจจการี ศรีปริยัตยาทร สุนทรศาสนกิจ
ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
สถิต ณ วัดประชานิยม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
_________________________________________
ขอบคุณที่มาภาพ วัดประชานิยม
พระร าชวัชราวิทยาคม (พระอาจารย์ต้อม ปภัสสโร) สถิต ณ. วัดท่าสะแบง จังหวัดร้อยเอ็ด
“พ ร ะ ร า ช วั ช ร า วิ ท ย า ค ม”
สถิต ณ วัดท่าสะแบง จังหวัดร้อยเอ็ด
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ให้ พระครูปลัดสุขวัฒน์ (อนุสรณ์ ปภสฺสโร) เป็น พระราชาคณะราชมีนามว่า
“พระราชวัชราวิทยาคม อุดมวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” สถิติ ณ วัดท่าสะแบง จังหวัดร้อยเอ็ด
ในนามคณะศิษยานุศิษย์ ขอน้อมถวายมุทิตาสักการะในโอกาสเป็นมงคลนี้
**************************
ขอบคุณที่มา.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)