22/10/67

กาฬสินธุ์. ขอเชิญร่วมบุญมหากกฐินวัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ 1-3 พฤศจิกายน 2567

วัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ขอเชิญร่วมบุญมหากกฐิน ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2567 ************************** วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2567 วันรวมตั้งกองกฐิน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. เจริญพระพุทธมนต์สมโภชองค์กฐิน วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10:30 น. ทอดถวายกฐิน **************************** เจ้าภาพหลัก. รุ่นยอดเศรษฐี โดย สามสิงห์อมูเลท รุ่นจงเจริญ โดย กลุ่มอามะ ภันเต รุ่นแสนแก้วมณีโชติ โดย ทับทิม วรา รุ่นโชคอนันต์ โดยขุนแผน หวานเจี๊ยบ ****************************** ชมมหรสพสมโภชตลอดทั้ง 3 คืน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ชมคณะเสียงอิสาน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ชมคณะหนึ่งรุ่งทิวาอำนวยศิลป์ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ชมคณะศิลปินภูไท สามารถร่วมบุญได้ที่ธนาคารกรุงไทย สาขา เขาวง ชื่อบัญชีวัดพระธาตุหมื่นหิน เลขที่บัญชี 663-559-5112

19/10/67

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี กองละ 199 บาท เพื่อสมทบทุนสร้างวิหารหลวงปู่โชคชัย จ.ร้อยเอ็ด

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี กองละ 199 บาท หรือตามกำลังศรัทธา เพื่อสมทบทุนสร้างวิหารหลวงปู่โชคชัย ทอดถวาย ณ.วัดโชคชัยโนนขวาง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อสอบถามไดที่ กำนันพิรุณวิ ลาจันทร์ โทร.087-233-6607 นายกกัญญา ตลาดขวัญ โทร.093-573-8699 ร่วมจองเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีบัญชีเลขที่020147687288 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ชื่อบัญชี..บูรณะปฏิสังขรณ์วิหารหลวงปู่โชคชัยวัดโชคชัยนนท์ขวาง

14/10/67

เศรษฐีโรงทาน โรงทานน้ำหวานพันขวด ฉลองอายุวัฒนะ80 ปี(79ปีเต็ม) หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท 🪷 จากทีมงาน เตย พนมไพร และ ร้านพร้อม Prompt Bake• รวมถึง กัลยาณมิตรผู้ร่วมทางบุญด้วยกันเสมอมาค่ะ

เศรษฐีโรงทาน โรงทานน้ำหวานพันขวด ฉลองอายุวัฒนะ80 ปี(79ปีเต็ม) หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท 🪷 จากทีมงาน เตย พนมไพร และ ร้านพร้อม Prompt Bake• รวมถึง กัลยาณมิตรผู้ร่วมทางบุญด้วยกันเสมอมาค่ะ Boon Yink Kong Amnuay Kwang KiKi Korapat Kanlayanakitti วสุรัช เหล่าลือชา Jamin Jibjeep Tch Siddhabhat Charoensuk Kritsada Chamroensarn ปาณิดา พิงพิณ แม่หญิง จรรลหมวย แม่ตาล พ่อหลิว น้องริบอยโคกศรี เงินตรา จําปาลา ยุทธ อ่อมไหล Naomi Tonnam สาธุบุญ สุขภาพแข็งแรง รวยๆล้านๆ นะคะ 🙇🏻‍♀️🩶🩷

ข่าวกาฬสินธุ์:น้อมถวายมุทิตาสักการะ อายุวัฒนมงคล ๗๙ ปี พระราชวัชรธรรมโสภณ (หลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป.ธ.๖) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้าพเจ้าขอกราบน้อมถวายมุทิตาสักการะ อายุวัฒนมงคล ๗๙ ปี พระราชวัชรธรรมโสภณ (หลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป.ธ.๖) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอให้องค์หลวงปู่ศิลา สิริจันโท จงมีสุขภาพธาตุขันธ์ที่แข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ให้กับบรรดาศิษย์ยานุศิษย์ ลูกหลาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ตลอดไปด้วยเทอญ กราบสาธุครับ *********************************************** ประวัติหลวงปู่ศิลา สิริจันโท หลวงปู่ศิลา สิริจันโท หรือศิลา นิลจันทร์ เกิดวันที่ 14 ตุลาคม 2488 ขึ้น 8ค่ำ เดือน11 ปีระกา ณ บ้านเบิด ต.เบิด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เป็นบุตรลำดับที่ 4 ของนายแก่น นางน้อย นิลจันทร์ ประกอบอาชีพ ทำนา ในปี 2488 (ปีเกิด) บิดามารดา ได้อพยพหนีความแห้งแล้ง ทุรกันดาร มาอยู่ บ.ส้อง ต.ธาตุ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ต่อมาในปี 2494 ได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่บ้านเกิดมารดา คือบ้านธาตุประทับ (บ. ยางกระธาตุ) อ. เชียงขวัญ จ. ร้อยเอ็ด พ.ศ.2500 – 2515 จำพรรษาอยู่วัดบูรพาภิราม จ. ร้อยเอ็ด ⁃ พ.ศ.2500 (กึ่งพุทธกาล) อายุ 12 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดธาตุประทับ (มหานิกาย) มีพระอุปัชฌาย์(พิมพ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ติดตามครูบาอาจารย์ ออกร่วมคณะธุดงค์ ไปนมัสการพระธาตุพนม ระหว่างเดินธุดงค์ มีโอกาสอุปฐากพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสี รูปสำคัญในสายพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต คือพระครูสัลขันธ์สังวรณ์ (อ่อนสี สุเมโธ)ที่ จ. มุกดาหาร และได้รับคำสอน ผญาธรรม (คำสอนอิสาน) จากพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กันโตภาโส) อดีตเจ้าอาวาสพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ⁃ พ.ศ.2500 อายุ 12 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ⁃ พ.ศ.2501 อายุ 13 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท (เอกสารหาย) ⁃ พ.ศ.2503 อายุ 15 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ⁃ พ.ศ.2506 อายุ 18 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเปรียญสามประโยค ⁃ พ.ศ.2507 อายุ 19 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเปรียญธรรมสี่ประโยค ⁃ พ.ศ.2509 อายุย่าง 21 ปี อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดบูรพาภิราม (มหานิกาย) อ. เมือง จ.ร้อยเอ็ด มีท่านเจ้าคุณพระสิริวุฒิเมธี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ⁃ พ.ศ.2510 เป็นครูสอนปริยัติธรรม วัดบูรพาภิราม ⁃ พ.ศ.2510 อายุ 21ปี พรรษา1 สอบไล่ได้เปรียญธรรมห้าประโยค ⁃ พ.ศ.2515 อายุ 26 ปี พรรษา6 สอบไล่ได้เปรียญธรรมหกประโยค ⁃ ในปี 2516 นี้เอง ท่านเจ้าคุณพระสิริวุฒิเมธี มีปรารภจะให้พระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น)ไปดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหนองพอก โดยให้พระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น) ไปอยู่วัดนิคมคณาราม เพื่อสอนพระปริยัติธรรม เมื่อพระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น) ทราบปรารภของพระมหาเถระผู้ใหญ่ จึงหาทางเลี่ยงปลีกวิเวกไปอยู่จำพรรษาที่วัดหนองดู่ บ้านหนองดู่ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ไปเป็นครูสอนปริยัติธรรมวัดหนองดู่นี้เอง ใกล้กับวัดสันติวิหาร อันมีพระอาจารย์สมาน ธัมมรักขิตโต เป็นเจ้าอาวาส ความวิริยะอุตสาหะของพระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น) ตั้งแต่ช่วงสามเณรถึง พ.ศ.2516 นี้ ตามธรรมเนียมการศึกษานอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังมุ่งศึกษาตามขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมแบบพระสงฆ์สามเณรในภาคอีสานคืออักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย (อักษรโบราณ) เพื่อศึกษามูลกัจจายน์ให้แตกฉาน ความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม สรรพวิชาอาคม ยารักษาโรค โหราศาสตร์ล้วนถูกบันทึก ไว้ในใบลานทั้งสิ้น หลวงปู่ศิลา สิริจินโท มีความแตกฉาน มูลกิจจายน์ ประกอบกับสรรพวิชาจนเป็นที่กล่าวขานถึงในยุคนั้น เหตุการณ์ที่วัดสันติวิหาร ทำให้หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นที่นับถือในเรื่องการบำรุงขวัญกำลังใจแก่ศิษยานุศิษย์คือ เรื่องตะกรุดคอหมา (ตะกรุดปลากระป๋อง) เนื่องด้วยในยุคนั้น ระบบความคิดของสิทธิคอมมูน ระบาดหนัก เครี่องรางของขลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ ประกอบกำลังใจแก่ผู้คน ในยามหวาดผวา สิ่งสำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2515 ที่ควรจะกล่าวถึงแสดงถึงความกตัญญูต่อสถาบันพระกษัตริย์ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้รวบรวมสรรพวิชาที่ร่ำเรียนมาทั้งปวงเขียนบรรจุลงบนผืนผ้าจำนวน 5 ผืน และได้คัดเลือกผืนที่งามที่สุดจำนวน 2 ผืน ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตามเอกสารทูลเกล้าฯ ผ่านกรมสื่อสารทหารอากาศดอนเมือง ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2515 โดย พลอากาศเอกหม่อมราชวงศ์ เสริม สุขสวัสดิ์ เจ้ากรมสื่อสารทหารอากาศเป็นผู้ลงนามหนังสือและพลเรือเอกหม่อมเจ้ากาฬวรรณดิธ ดิสกุล เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าถวาย ปัจจุบัน 1ใน5 ผืนที่เหลือถูกขนานนามว่า "มหายันต์" หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ออกจาริกธุดงค์ในช่วงลัทธิความคิดระบบคอมมูนแพร่หลายในช่วงนั้นแถบริมโขง ออกจาริกธุดงค์ในเขตนั้น พันตำรวจโทไพทูลย์ คงคูณ นิมนต์หลวงปู่ศิลา สิริจันโท หนีไปอยู่หลบลัทธิคอมมูนในถ้ำฝั่งโขง แถบ อ.สังคม จ.หนองคาย และออกจาริกธุดงค์ต่อถึงเขต อ.ปากชม จ.เลย เมื่อเหตุการณ์สงบหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้กลับมาวัดธาตุประทับ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด อีกครั้ง ในกาลครั้งนั้น พระหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้รับการวิงวอนจากญาติให้ลาสิกขาเพื่อออกมาเป็นครูผู้ช่วยสอนที่โรงเรียนธาตุประทับด้วยว่ามารดารวมถึงญาติผู้ใหญ่ป่วยหนักเป็นเวลา 1 ปี ในประวัติช่วงนี้เองพ.ศ.2522 จากผู้อาวุโส ครูศิลา ทำใจไม่ได้เมื่อต้องตี(ไม้เรียว)ในการสอนนักเรียน ครูศิลาจึงเกิดความสลดสังเวช หวนกลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งในปีเดียวกัน หลังญาติผู้ใหญ่ได้เสียชีวิตลง ซึ่งหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ถือเป็นกำลังหลักของครอบครัวในความขัดสนตามสังคมชนบท ณ พัทธสีมา วัดมาลุคาวนาราม อ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด มีพระอุปัชฌาย์เป เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาสุริยจิตโต หลังอุปสมบทช่วงปี 2522-2539 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้ไปพำนัก วัดโนนเดื่อ บ.โนนเดื่อ อ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด สลับกับวัดธาตุประทับ บ.ธาตุประทับ อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด เรื่อยมา ⁃ ปี 2539 เหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น คือหลังมารดาเสียชีวิตไป พี่สาวของหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นเสาหลักครอบครัวแทนพ่อแม่ได้ล้มป่วยลงอย่างหนักประกอบกับครอบครัวของหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ไม่ได้สมบูรณ์อย่างบุคคลทั่วไปภาระหน้าที่สำคัญในทางโลกจึงย้อนกลับมาหาท่านอีกครั้ง การลาสิกขาครั้งนี้ เป็นเวลา 8 เดือนในการออกมาจัดการภาระต่างๆเช่น การดูแลผู้ป่วย การหาเลี้ยงครอบครัวในยามยาก การเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ จวบจนเสร็จงานศพพี่สาวของท่าน หลวงปู่ศิลา สิริจันโท จึงกลับเข้าอุปสมบททันที ในวันที่ 22 ธันวาคม 2539 ณ พัทธสีมาวัดแสงประทีป โดยมีพระครูวิธานสมณกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พำนัก ณ วัดธาตุประทับ สลับกับการออกจาริกธุดงค์ บ.พานเหมือน อ.เมือง จ.อุดรธานี ⁃ ปี2559 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ออกจาริกไปบ้านหนองแซง ต.แจ้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ⁃ ปี 2559 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท หลังโปรดโยมอุปฐาก (แม่เข็ม) หลวงปู่ได้รับนิมนต์โดยพ่อใหญ่ก้อง ให้จำพรรษา ณ ป่าช้าม่วงนา อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ ⁃ ปี 2562 - 2565 ชื่อเสียงหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นที่นับถือแพร่หลาย จึงได้รับนิมนต์จาก พระครูสุชานโพธิคุณ วัดโพธิ์ศรีสะอาด ให้สร้างเสนาสนะสงฆ์ (สวนสงฆ์) ภายในที่ธรณีสงฆ์ของวัดโพธิ์ศรีสะอาด ให้เจริญรุ่งเรืองแก่บวรพุทธศาสนา เป็นที่พึ่งพาทางใจของศาสนิกชน ⁃ ปัจจุบัน หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ ธรรมอุทยาน หลวงปู่ศิลา สิริจันโท อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปมาที่วัดพระธาตุหมื่นหินอยู่บ่อยครั้ง -------------------------------------------------------------------------- ● ลำดับสมณศักดิ์ ⁃ พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็น เปรียญธรรม ๖ ประโยค ⁃ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็น "พระครูปลัดวชิรโสภณญาณ วิมลศีลาจารวิศิษฏ์ ไพศาลศาสนกิจจาทร" ฐานานุกรมพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ในพระพรหมวชิรโสภณ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ ปี 2566 วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวัชรธรรมโสภณ โกศลบริหารวรกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช สถิต ณ ที่พักสงฆ์ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา จังหวัดกาฬสินธุ์ ในพิธีพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพระราชทาน ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร -------------------------------------------------------------------------- ● รางวัล,เกียรติคุณที่ได้รับ ⁃ พ.ศ. 2564 ได้รับพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ประเภท บุคคลดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาบำเพ็ญประโยชน์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสร็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ -------------------------------------------------------------------------- ● งานด้านสาธารณูปการ และงานด้านสาธารณสงเคราะห์ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้เพียรสร้างสาธารณประโยชน์ตามอัตภาพตลอดมา สงเคราะห์ผู้ยากไร้ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ อย่างต่อเนื่องเป็นต้นว่า ⁃ พ.ศ. 2517 สร้างพระมหากัจจายนะองค์ใหญ่ วัดสันติวิหาร ⁃ พ.ศ. 2558 สร้างเสนาสนะ ในจังหวัดมหาสารคาม ⁃ พ.ศ. 2561 สร้างเสนาสนะ ในที่ธรณีสงฆ์วัดโพธิ์ศรีสะอาด ⁃ พ.ศ. 2562 - 2563 สร้างพระอุโบสถวัดโพนโป่งให้แล้วเสร็จ ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และบูรณะหลังคาพระอุโบสถวัดป่าศรีโพนทอง ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ⁃ สร้างสะพานเข้าหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ⁃ มอบรถกู้ชีพ-กู้ภัย มูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ (เอ็ง เต็ก ตึ๊ง) จุดสำนักงานใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม ⁃ สร้างอาคารแทนดวงจิตพระมหาศิลา สิริจันโท อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กู้ชีพ-กู้ภัย มูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ (เอ็ง เต็ก ตึ๊ง) จุดสำนักงานใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม ⁃ สร้างห้องผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ⁃ สร้างห้องอภิบาลสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ⁃ มอบเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ⁃ มอบทุนจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ⁃ สมทบก่อสร้างหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ ⁃ จัดตั้งกองทุนเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ ⁃ สร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ สร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ มอบเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ มอบเครื่องตัดถ่างช่วยชีวิตอุบัติเหตุทางถนน แก่ศูนย์กู้ภัยมูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ (เอ็ง เต็ก ตึ๊ง) จังหวัดมหาสารคาม ⁃ มอบเครื่องตัดถ่างช่วยชีวิตอุบัติเหตุทางถนน แก่สมาคมกู้ภัยสว่างนาวาธาตุพนม จังหวัดนครพนม ⁃ มอบเงินสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบเงินก่อตั้งวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ⁃ สร้างศาลาและสร้างทางขึ้นเขา ในเขตทุรกันดาร ⁃ ผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน (ธ.) (ในความอุปถัมภ์ของหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท,ป.ธ.๖) เลขที่123 หมู่ที่5บ้านทุ่งกระเดา ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ ผู้ก่อตั้งที่พักสงฆ์ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป. (เปรียญ) (ธ.) เลขที่193 หมู่ที่5 บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป. เลขที่193 หมู่ที่5 บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ ผู้ก่อตั้ง กู้ภัยหมื่นหิน (ฮง เต็ก เสี่ยงตึ๊ง) องค์กรสาธารณะกุศลสงเคราะห์ สังกัดมูลนิธิหลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท วัดพระธาตุหมื่นหิน (ธ.) (ในความอุปถัมภ์ของหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท,ป.ธ.๖) เลขที่ 123 หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งกระเดา ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ และอีกหลายโครงการที่หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้เมตตาช่วยเหลือเมตตาสร้างให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน เพื่อคนทั้งปวงได้ใช้สอยบรรเทาทุกข์ภัย วัดพระธาตุหมื่นหิน หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจันโท จ่าบอมพระเครื่อง บารมีสิริจันโท @ไฮไลท์ ------------------------------------------------------------------------ เป็นเพียงการรวบรวมประวัติคร่าวๆ ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี่ด้วยครัง Cr.ขออนุญาตรวบรวมบทความจาก ดร.ปฐมพงศ์ /อ.ลิ้ง ชนะวุธ อุทโท / เพจหลวงปู่ศิลา สิริจันโท

16/8/67

พระราชวัชรธรรมโสภณ(ศิลา สิริจนฺโท) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน เข้าเฝ้าถวายสิ่งมงคลสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภาพพระราชทาน สำนักพระราชวัง

หลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน เข้าเฝ้าถวายสิ่งมงคลสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภาพพระราชทาน สำนักพระราชวัง
พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดพระธาตุหมื่นหิน เข้าเฝ้าถวายสิ่งมงคลสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภาพพระราชทาน สำนักพระราชวัง Cr.อ.ลิ้ง

1/8/67

ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างรูปหล่อองค์ใหญ่หลวงปู่ศิลา สิริจันโท (เนื้อทองเหลือง) ประดิษฐานไว้ที่หน้าธรรมอุทยานฯ จ.กาฬสินธุ์เพื่อให้ศิษย์ยานุศิษย์ทุกท่านได้กราบไหว้

หลวงปู่ศิลา สิริจันโท มีดำริให้สร้างรูปหล่อองค์ใหญ่ขึ้น เป็นเนื้อทองเหลือง ที่หน้าธรรมอุทยานฯ ขนาด องค์หลวงปู่สูง 8 เมตร ฐานล่างกว้าง 15*15 เมตร ขนาดร่มกว้าง 5 เมตร เพื่อให้ศิษย์ยานุศิษย์ทุกท่านได้กราบไหว้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญสาธุชนผู้มีความศรัทธาในองค์หลวงปู่ศิลา สิริจัน?ด ได้มาร่วมสมทบทุนทำบุญในครั้งนี้ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นกุศลครั้งยิ่งใหญ่ให้กับตนเองและครอบครัว ได้สืบทอด พระพุทธศาสนาต่อไป ท่านสามารถร่วมบุญได้ ชื่อบัญชี มูลนิธิธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจันโท(เพื่อสร้างรูปเหมือนองค์ยืนหลวงปู่ศิลา สิริจันโท) ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบััญชี 5782918082

6/7/67

ประวัติพระครูสิริธรรมโกวิท (หลวงพ่อสายทอง สิริธมฺโม)วัดดอนเกลือ จังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติพระครูสิริธรรมโกวิท (ฉบับย่อ) พระสายทอง สิริธมฺโม หรือ สายทอง ร่มศรี สถานะเดิม ชื่อ สายทอง นามสกุล ร่มศรี เกิดปี ระกา วันที่ ๗ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐ บิดาชื่อ นายเจริญ มารดาชื่อ นางหมุน นามสกุล ร่มศรี บ้านเลขที่ ๔๖ หมู่ ๑๑ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ยายหมุนเล่าว่าหลวงพ่อทองในวัยเด็กขยันมาก หาเงินเก่ง รับจ้างทำทุกอย่างที่ได้เงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจักสานทุกชนิดทำได้หมด ประกอบกับโยมบิดาเป็นพ่อค้าเส้นไหมรับซื้อเส้นไหมในท้องถิ่นแล้วนำไปขายที่บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ยายหมุนก็ทอผ้าไหมขาย ด้วยความที่หลวงพ่อทองต้องการช่วยครอบครัวหาเงิน ท่านก็ได้ดูได้ถามมารดาจนเก่งเรื่องทอผ้าและรับจ้างมัดหมี่ขายช่วยมารดาเพื่อหารายได้ หลวงพ่อทองก็ใช้ชีวิตปกติทั่วไปเหมือนเด็กหนุ่มตามชนบท ทำนา ทำสวน เลี้ยงควาย หาปูหาปลา และที่ชอบที่สุดคือขึ้นต้นตาลหานกเอี้ยงไปขาย ต้นตาลในระแวกนั้นต้นไหนที่หลวงปู่ไม่ได้ขึ้นไปจับนกเอี้ยงไม่มี แต่เรื่องเรียนเพื่อนรุ่นเดียวกับหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อตอนเรียนหนังสือนั้นอ่านไม่ได้เขียนไม่ออกเลย แต่ความจำเรื่องอื่นๆกลับดีกว่าเพื่อน มีความสามารถหลายอย่าง เมื่อถึงวันพระหลวงพ่อจะไปวัดกับยาย คนอีสานสมัยก่อนเมื่อถึงวันพระ จะมีการลงวัดในช่วงบ่าย พระก็จะตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณให้ญาติโยมได้ไปฟังเทศน์ที่วัด การเทศน์ในสมัยก่อนจะเทศน์จากใบลานที่เขียนด้วยตัวธัมอีสานเป็นเรื่องราวนิทานต่างๆอิงธรรมะ หลวงพ่อฟังครั้งเดียวก็สามารถจำได้ พอกลับมาบ้านก็ให้ยายเล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้ฟัง แม้กระทั้งกาพย์ กลอน ผญาอีสานต่างๆ ทุกคืนก่อนนอนยายจะเป็นคนเล่าให้ฟังหลวงพ่อก็จำเอา เพราะหลวงพ่ออ่านหนังสือไม่ออกเลยอาศัยความจำดี ในช่วงนั้น วัดสุดารังสรรค์ บ้านค้อชา ทำการบูระโบส์ใหม่ ได้ช่างมาบูรณะโบส์คือ พ่อใหญ่จารย์ครูคำหมา แสนงาม ( ดร.คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติ) เมื่อเวลาว่างหลวงพ่อทองจะชอบไปเล่นกับช่างชอบถามเกี่ยวกับการก่อสร้าง การปาดลาย ต่างๆจนบางทีโยมบิดาได้มาตามกลับบ้านก็หลายครั้ง (ในส่วนนี้ขอยกไปเขียนในรายละเอียดประวัติหลวงปู่ฉบับเต็ม) เมื่อหลวงพ่อทอง จบ ป.๔ ท่านก็มาช่วยบิดา มารดา เลี้ยงน้อง และทำนา เลี้ยงควาย หารายได้ช่วยครอบครัว หลวงพ่อทองเล่าให้ฟังว่า ท่านไปเลี้ยงควายกับพวกผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ผู้ใหญ่เห็นแววในตัวหลวงพ่อ จึงสอนวิชาให้ นั้นก็คือพวกวิชา เป่ากำเลิศ,เป่าขี้เข็บตอด แมลงงอดตอด ปลาดูกตอด,ขัดเลือดพวกตกต้นไม้ ควายชน ฯ,เป่างูสวัด,เป่าบาดแผลต่างๆ,เป่างูตอด,เป่าคาถาใส่น้ำสะเดาะก้างติดคอ ตำราวิชาพวกนี้ได้มาจากพ่อใหญ่พรหม บ้านค้อชา ซึ่งเป็นคุณตาของหลวงพ่อทอง (ประสบการณ์จะอยู่ในประวัติหลวงพ่อสายทองฉบับเต็ม) โยมบิดาของหลวงพ่อสายทอง เป็นโยมอุปฎฐากหลวงปู่พระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่สังข์) โยมบิดาหลวงพ่อทองบวชเรียนจนจบนักธรรมชั้นเอก ในสมัยนั้นเขาจะให้ไปเป็นตำรวจแต่โยมบิดาหลวงพ่อสายทองไม่ไป เลยลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัวทำงาน ตัวหนังสือของโยมบิดาหลวงพ่อสายทองนั้นสวยมากๆผู้เขียนได้เห็นเมื่อตอนไปบ้านยายหมุน ทุกวันตาเริญก็ออกไปวัดไปทำหน้าที่อุปฏฐากหลวงปู่สังข์บางวันก็จะพาลูกชายไปด้วย มีอยู่วันหนึ่งตาเริญพาลูกชายไปอุปฏฐากหลวงปู่สังข์ หลวงปู่สังข์เลยให้คาถาแก่หลวงพ่อสายทอง นั้นคือคาถา “เทวธรรม” (ซึ่งหลวงพ่อทองนำมาเขียนคาถาทำเหรียญ รุ่น ๒ หลังยักษ์) มนต์คาถาบทนี้หลวงปู่สังข์บอกว่า กันผีส่างนางไม้กันผีต่างๆ แล้วหลวงปู่สังข์ก็นำพาหลวงพ่อทองท่องจำ จนท่องจำได้ในคืนนั้น (ประสบการณ์มีต่อในประวัติฉบับเต็ม) เมื่อหลวงพ่อทองอายุครบบวช ประกอบกับน้องชายน้องสาวสามารถเลี้ยงตัวเองได้แล้ว และในปีนั้นก็แล้งมาก งานการสมัยก่อนก็ไม่ค่อยมีทำ ยึดอาชีพทำหน้าเป็นหลัก คุณตาเริญจึงพาบุตรชายไปกราบปรึกษากับท่านพระครูวิจิตรปัญญาคุณ เพื่อให้บุตรชายได้บวช อุปสมบท วันที่ ๒๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ พัทธสีมาวัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด พระอุปัชฌาย์ ชื่อ พระครูวิจิตรปัญญาคุณ วัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด พระกรรมวาจาจารย์ ชื่อ พระชาย ฉายา ชาคโร วัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด พระอนุสาวนาจารย์ ชื่อ พระอธิการสมาน ฉายา ครุธมฺโม วัดศรีธาราม ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด -พอหลวงพ่อทองอุปสมบทเข้ามาทุนเดิมคืออ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ บวชเข้ามาก็ต้องมีการสวดมนต์ให้ได้ หลวงปู่สังข์รู้ว่า พระสายทองอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เลยให้พระอาจารย์สำเนียง ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติประจำสำนักวัดสุดารังสรรค์ เป็นครูผู้สอนให้ เริ่ม จาก ก.ไก่ ก็คือเริ่มนับหนึ่งใหม่หมดเลยเพราะไม่มีพื้นฐานอะไรมาเลย เพราะท่านทำแต่งาน พออ่านออกเขียนได้บางแล้วประกอบกับความจำหลวงพ่อดีมากท่านเห็นใบลานที่จารด้วยตัวธัมอีสาน ท่านก็เอามาดูหลวงปู่สังข์เลยเห็นถึงความพยายามเลยสอนการเขียนการอ่านตัวธัมอีสานให้หลวงพ่อสายทอง -ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โยมบิดาหลวงพ่อได้มาเสียชีวิตอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งในสมัยนั้นบ้านค้อชามีผีปอบ หลวงพ่อสายทอง ได้ ๔ พรรษา พอมีคนมาแจ้งในวัดว่า พ่อใหญ่เริญ เสียชีวิต ผู้ซึ่งเป็นโยมอุปฎฐากหลวงปู่สังข์ ค่อยพาท่านไปหาหมอ ทำทุกอย่าง หลวงปู่สังข์รักลูกศิษย์คนนี้มาก ไปที่ใดก็จะให้นายเริญติดตามไปด้วยแม้กระทั่งพาไปเขียนตระกรุดช่วยหลวงปู่ขัน วัดท่าสะแบงก็พาไปด้วย หลังจากได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของคุณตาเริญ หลวงปู่สังข์ก็ร้องให้ออกมาเลย พอโยมไปบอกหลวงพ่อทองท่านก็ร้องให้โวยวาย น้องชายหลวงพ่อเล่าว่า พระพี่ชายร้องให้เอาเท้ากระทืบพื้นศาลาไม้เกือบพื้นศาลาหักหลวงปู่สังข์ก็ร้องให้กันคนละฝั่งศาลากับพระพี่ชายของตน นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น้องชายคนสุดท้องหลวงพ่อเล่าให้ฟัง -ก่อนหน้าที่โยมบิดาหลวงพ่อทองจะเสียชีวิต ตัวท่านเองก็ได้ไปศึกษาวิชาคาถาไว้บ้างแล้ว พอโยมบิดามาเสียชีวีตด้วยอาการที่ไม่ทราบที่ไปที่มาไม่รู้สาเหตุอยู่ๆก็ล้มลงกับพื้นสิ้นใจไป น้องชายหลวงพ่อเล่าว่าพระพี่ชายเก็บความโกธรแค้นไว้ข้างใน เพราะเชื่อว่าการตายของโยมพ่อมาจากสิ่งที่มองไม่เห็นในตอนนั้น ก็เริ่มไปเรียนวิชาจากหมอธรรมอีสานหลายอาจารย์อย่างจิงจัง (รายละเอียดเดียวเพิ่มเติมในประวัติหลวงพ่อทองฉบับเต็มนะครับ) จะขอไล่เรียงครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามาด้วย ดังต่อไปนี้ - ๑.พ่อใหญ่ไทยเวศ บ้านค้อชา หลวงพ่อเล่าว่าพ่อใหญ่เวศเป็นคนไม่ชอบพูด น่าจะเห็นแววในตัวหลวงพ่อเลยเล่าให้ฟังและสอนคาถาเลขยันต์ให้ ซึ่งพ่อใหญ่ไทยเวศ เคยไปบวชอยู่กับ “หลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่น อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดาธานี” หลวงพ่อทองเล่าว่าหลังพ่อใหญ่ไทยเวศเต็มไปด้วยรอยสักที่สักมาจากตอนไปบวชอยู่กับหลวงปู่พิบูลย์ ๔ ปี ซึ่งท่านเล่าให้หลวงพ่อฟังต่อว่า ตอนที่ไปอยู่ที่นั้นมีหลวงปู่พิบูลย์ และตาผ้าขาวผมยาว อยู่ที่วัดนั้นและลูกศิษย์ลูกหามาก หลวงพ่อได้ตำราวิชาคาถา เลข ยันต์ จากพ่อใหญ่ไทยเวศ ซึ่งไปเรียนมาจากหลวงปู่พิบูลย์ และตาผ้าขาวผมยาว - ๒.ญาครูบุญมี เป็นคนบ้านขมิ้น บ้านเดียวกันกับเจ้าคุณโมง ญาครูบุญมีไปบวชเรียนที่วัดบ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นับว่าเป็นพระผู้ทรงคุณอีกรูปหนึ่งในตอนนั้น ท่านจบมูลกันจายน์ และได้ศึกษาวิชาอาคมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายรูปหลายท่าน ท่านจึงกลับมาอยู่บ้านเกิดคือวัดอินทราราม บ้านขมิ้น ตำบลเทอดไทย พอโยมบิดาหลวงพ่อสายทองได้ทราบข่าวว่าญาครูบุญมีกลับมาอยู่บ้าน ซึ่งถ้านับญาติญาครูบูญมีก็เป็นปู่หลวงพ่อทองเพราะเป็นญาติฝ่ายพ่อ ก็พาบุตรชายไปกราบปู่ จากนั้นมาไม่ว่าพ่อใหญ่เริญจะมีสิ่งของอะไรก็มักจะให้บุตรชายนำไปฝากปู่ โดยเดินไปจากบ้านค้อชาไปบ้านขมิ้นเป็นประจำ เด็กชายทองก็เริ่มสนิดกับปู่ ญาครูบุญมีเห็นหลานชายมีแววในเรื่องวิชาอาคมเลยสั่งให้พ่อใหญ่เริญมาหาที่วัดพร้อมกับบูตรชายในช่วงนี้หลวงพ่อทองเริ่มโตเป็นหนุ่มแล้วใกล้จะบวช ท่านเลยให้ยกขันครูถ่ายทอดวิชามอบตำราให้พร้อมกับให้พานเงินที่ยกครูมาด้วย หลวงพ่อก็ใช้มาถึงปัจจุบันนี้ - ๓.พ่อใหญ่จารสา หรือ จารธรรมสา หรือ พ่อใหญ่เจ๊กสา ธรรมห้องนี้พ่อใหญ่ธรรมสาได้มาจากพระกรรมฐาน เมื่อครั้งเดินทางไปไหว้พระธาตุพนม แล้วได้นอนค้างคืนที่นั้นไปเจอพระกรรมฐานที่มากราบพระธาตุพนมเหมือนกัน ธรรมที่พ่อใหญ่ธรรมสาใช้รักษาคนจะเป็นในด้านปราบผี เสียพิษไฟ (มีในยูทูปช่องสายบุญ สายทอง เรื่องธรรมพ่อใหญ่เจ๊กสา) ที่มีคนมาเล่าประสบการณ์คือ ใช้ลิ้นเลียท่อนไม้ที่ใช้ก่อไฟในการอยู่กรรมของคนสมัยเก่า เอาลิ้นเลียถ่านไฟแล้วเป่าจนไฟก่องนั้นจะดับหมอ และใช้จอบเผาไฟแล้วเอาเท้าเหยียบแผ่นเหล็กมาเหยียบตามตัวคนป่วยเพื่อรักษา - ๔.ครูบาอาจารย์ธรรมห้องนี้จะเป็นธรรมที่สืบทอดกันมาในวงศ์ตระกูล จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ที่ไปนำมาชื่อพ่อใหญ่ครูเพ้ง (มีในยูทูปช่องสายบุญ สายทอง) พ่อใหญ่ครูเพ้งเป็นคนบ้านดอนเกลือ แล้วไปเป็นครูที่ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด ท่านได้ตำรามาจากเณร ซึ่งเณรรูปนี้เคยเป็นลูกศิษย์ที่ท่านเคยสอนในโรงเรียน จบ ป.๔ แล้วไปบวชเณรแล้วออกธุดงค์กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ไปเขาพระวิหาร แล้วไปเจอตาผ้าขาว เลยพากันไปขอเรียนวิชาด้วย (ตำนานพระสังข์หรือพระอุปคุตเขมร จะเริ่มจากตระกูลนี้ ไปฟังเพิ่มในยูทูปช่อง สายบุญ สายทอง) จากนั้นครูเพ้งได้เจอกับเณรลูกศิษย์ เลยได้ตำราวิชาห้องนี้มา ท่านก็ดังในเขตอำเภอหนองฮี พอท่านกลับมาเยี่ยมบ้านก็มีผีเข้าคนท่านก็รักษา คนระแวกนี้เริ่มรู้จักในพุทธคุณของพ่อใหญ่ครูเพ้ง รวมไปถึงพระปลัดบุญเทิง เป็นพระคู่สวดนาคให้กับหลวงปู่พระครูขันติภิรมย์ (หลวงปู่ขัน วัดท่าสะแบง) ท่านจึงเดินทางไปเรียนวิชากับพ่อใหญ่ครูเพ้งที่อำเภอหนองฮี ต่อจากนั้นเมื่อพระปลัดบุญเทิงจะสึก เลยมอบตำราวิชานิให้แก่หลวงปู่พระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่สังข์) ซึ่งหลวงปู่สังข์กับปู่ปลัดบุญเทิงเป็นลูกพี่ลูกน้องกันต่อมาหลวงปู่สังข์ก็ได้ไปเป็นพระคู่สวดนาคให้กับหลวงปู่ขันวัดท่าสะแบง แทนพระปลัดบุญเทิง หลังจากได้ตำราวิชา ท่านก็ศึกษาแล้วได้ชวน พ่อใหญ่ธรรมหล้า ซึ่งเป็นน้องเขยพ่อใหญ่ครูเพ้ง ไปต่อห้องวิชาที่อำเภอหนองฮี ในช่วงนี้เป็นช่วงที่โยมบิดาหลวงพ่อสายทองเสียชีวิต หลวงปู่สังข์ท่านเมตตาและสงสารหลวงพ่อทองมาก ท่านเลยให้พ่อใหญ่ธรรมบุญเทิง และพ่อใหญ่ครูเพ้ง นัดกันมาในโบสวัดสุดารังสรรค์เพื่อมายกขันวิชาธรรมห้องนี้ให้หลวงพ่อสายทอง ธรรมวิชาของ ๓ อาจารย์นี้เป็นธรรมเดียวกันทั้งหมด พุทธคุณไปในทางรักษาผู้คนปราบผี แต่จะมีเพิ่มเติมมาคือหลวงปู่สังข์ซึ่งถือว่าหลวงปู่ขันวัดท่าสะแบงท่านเมตตาหลวงปู่สังข์มาก ท่านก็มอบคาถาวิชาที่ได้มาจากหลวงปู่ขัน วัดท่าสะแบง ส่งต่อให้หลวงพ่อสายทองยกขันครูต่อจากท่าน - ๕.จารครูบุญมี บ้านนาแพง บวชเป็นเณรโตแล้วเดินทางไปเรียนบาลี ที่วัดสุดปัฏ จังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้นสำเร็จลุน ท่านดังมากในแถบอีสาน สามเณรบุญมีได้ยินชื่อเสียงเลยทิ้งการเรียนข้ามแม่น้ำโขงไปเรียนวิชาอาคม และเป็นเณรอุปฎฐากหลวงปู่สำเร็จลุน ๔ ปีกว่า แล้วจึงลาท่านกลับมาบวชพระที่บ้าน แล้วลาสิกขาออกมามีครอบครัวที่บ้านนาแพง ท่านก็มาทำการรักษาผีไท้ ผีแถน ผีฟ้า โดยการรักษาเหมือนกันกับหลวงพ่อทองรักษาในปัจจุบันนี้คือ พอตั้งคายรักษาเสร็จก็ให้อยู่ภายในบ้าน ๗ วัน ๗ คืน ลูกศิษย์ลูกหาเยอะมาก หลวงพ่อได้ไปสือทอดวิชานี้มาตั้งแต่สมัยท่านบวชใหม่ๆ ธรรมที่ได้จากพ่อใหญ่จารครูบุญมี จะเป็นทางด้านรักษาผู้ป่วยที่โดยมีเข้า ปราบผี คาถาที่ใช้จานตระกรุด และแผ่นทอง และที่สำคัญคือการดูดวง - ๖.จารคำ พ่อใหญ่จารคำเป็นคนบ้านค้อชา แต่ไปค้าขายจนไปมีครอบครัวที่บ้านค้อใต้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ในสมัยก่อนบ้านสะแบงเป็นท่าเรือที่มีพ่อค้าคนไทยและจีนมาค้าขายเป็นจำนวนมาก ถือว่าคึกคักมากในสมัยนั้นเลย ล่องเรือมาแลกเปลี่ยนสินค้า ในสมัยนั้นหลวงปู่ขัน โดยพวกโซ่ ข่า ใส่ของถ้าพูดแบบภาษาบ้านๆก็ ใส่ของจนหำหดเข้าท้อง(รายละเอียขอไปเล่าในประวัติฉบับเต็มนะครับ) ลูกศิษย์ทั้งพระทั้งโยมต่างหาหมอมารักษา รวมไปทั้งหมอธรรม ก็ไปประกาศหาที่ท่าเรือ ว่าใครรักษาถอดของได้ พอดีพ่อใหญ่จารคำมาค้าขายพอดี พอลูกศิษย์รู้ว่าคนนี้รักษาได้ก็รีบนำตัวไปรักษาให้กับหลวงปู่ขันโดยทันที ท่านก็หายในวันนั้นเลย ท่านก็มาพักที่บ้านญาติพี่น้องที่บ้านค้อชา หลวงพ่อทองจึงไปเรียนวิชาด้วย ธรรมของพ่อใหญ่จารคำ ส่วนมากจะเป็นธรรมพวก ถอดของ และ ใส่กลับคืน - ๗.พระครูธวัชชัยคุณ วัดโกศลรังสฤษฏ์พัฒนา บ้านอุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงพ่อเล่าว่า หลวงพ่อบ้านอุ่มเม้า กับ หลวงพ่อบ้านท่าบ่อ (พระครูพิรุณห์ธวัชชกิจ) วัดอยู่ใกล้กันเลยชวนกันไปเรียนวิชากับหลวงปู่ทองมา ถาวโร บ้านท่าสี - ๘.หลวงปู่พระมหาบำเพ็ญ ฐิตธมฺโม วัดป่าเรไรย์สันติธรรม บ้านไผ่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่มหาบำเพ็ญ หลวงพ่อเล่าให้ฟังธรรมของหลวงปู่มหานี้แรงข้อห้ามเยอะ บอกเลขแม่นมากในสมัยนั้น ก่อนท่านจะมรณะภาพท่านสั่งลูกศิษย์ลูกหาที่ขึ้นของรักษากับท่านว่าถ้าหมดท่านแล้วให้ไปอยู่ของรักษากับหลวงพ่อบ้านด้อนเกลือ เห็นตัวเล็กๆแบบนั้น ข้างในไม่ธรรมดา นี้คือคำบอกเล่าที่โยมบ้านไผ่เล่าให้ฟัง นับจากหลวงปู่มหามรณภาพไป ชาวบ้านสังข์ บ้านงิ้ว บ้านไผ่ คนในระแวกนั้นก็มาขึ้นของรักษากับหลวงพ่อทองจนถึงทุกวันนี้ - ๙.เสือธี หรือ พ่อใหญ่หมอลำธี หลวงพ่อเล่าว่าพ่อใหญ่ธีเป็นหมอลำที่มีความจำเป็นเลิศ หลวงพ่อได้อ้อป่องมาจากหมอลำธี ในวิชาของพ่อใหญ่ธีนี้ส่วนมากจะเป็นทางด้านใส่คน และคาถาต่างๆ มีครั้งหนึ่งพ่อใหญ่ธีไปนอนนาช่วงเก็บเกี่ยวข้าว อยากกินต้มไก่ ไม่รู้แก่ทำยังไงไก่จากในหมู่บ้านเดินออกมาหาแก่ที่เถียงนา แต่คาถานี้ต้องระวังไม่ให้ขนไก่ติดตัวเข้าไปในหมู่บ้าน ถ้าเกิดขนไก่ติดตัวเข้าไปในหมู่บ้านกี่เส้นก็เป็นปอบเท่ากับขนไก่ที่ติดตัวมา - ๑๐.พระครูมนูญชยาจารย์ ศิษย์เอกหลวงพ่อพระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่บุดดา บ้านหนองเต่า) หลายคนอาจสงสัยชื่อคล้ายกันกับหลวงปู่สังข์ เพราะพระครูวิจิตรปัญญาคุณ เมื่อหลวงปู่บุดดา บ้านหนองเต่ามรณภาพแล้ว หลวงปู่สังข์ถึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู ในราชทินนาม พระครูวิจิตรปัญญาคุณ (หลวงปู่สังข์) วัดสุดารังสรรค์ บ้านค้อชา หลวงพ่อสายทองมีความสนิดกับหลวงปู่มนูญ มากถือว่าท่านเมตตาต่อหลวงพ่อทอง ท่านก็มอบตำราวิชาของหลวงพ่อบ้านหนองเต่ามาให้หลวงพ่อคัดลอกไว้(ประสบกการณ์รายละเอียดต่างๆจะลงในประวัติฉบับเต็มนะครับ) - ๑๑.พระครูวรชัยชินาภรณ์ (หลวงปู่เคน) วัดโพธิ์ศรีไชยวาน อ.เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยความที่ว่าหลวงปู่เคนเป็นคนที่ดุมากตามคำบอกเล่าคนในสมัยนั้น พอดีโยมอุปัฏฐากหลวงปู่เคนมานิมนต์หลวงพ่อทองไปงานที่บ้านนั้น ขากลับหลวงพ่อทองเลยขึ้นไปกราบหลวงพ่อเคนบนกุฎิ ทั้งๆที่ท่านทั้งสองไม่รู้จักกันมาก่อน ต่างฝ่ายต่างได้ยินชื่อเสียงของกันและกัน พอหลวพ่อทองขึ้นไปกราบบนกุฎิ พอกราบเสร็จหลวงพ่อทองก็พูดเสียงดังขึ้นว่า “นี้เบาะขน้อยหลวงพ่อเคนด่าเก่ง ขน้อยได้ยินแต่ข่าวนำโยมว่าหลวงพ่อด่าคนเก่งแท้ติ อย่าด่าโยมคักหลายระวังบ่มีคนมาส่งข้าวให้ฉันเด้อขน้อย” หลวงพ่อทองเล่าว่า ตอนนั้นหลวงปู่เคนงงมากทำอะไรไม่ถูกเหมือนกันที่เจอของจริงวันนี้ หลวงปู่เคนเลยพูดว่า “ด่าไปตามนั้นละบ่ได้ชังเขาดอก” จากนั้นมาท่านทั้งสองก็สนิดกัน แล้วหลวงปู่เคนจะชอบให้โยมอุปัฏฐากมานิมนต์หลวงพ่องทองให้ไปหาหลวงปู่เคนบ่อยๆ ท่านจะบอกโยมว่า “ยามมีงานหยั้งพวกสูอย่าลืมไปหาลูกชายกูอยู่บ้านดอนเกลือเด้อ” วิชาธรรมของหลวงปู่เคนกับหลวงพ่อทองจะคล้ายๆกัน เวลาทำพีธีจะมีลูกขับนั่งข้างๆ หลังจากโยมบิดาหลวงพ่อทองได้เสียชีวิต ท่านก็อยู่อุปัฎฐากหลวงปู่สังข์ต่อมาหลายปี แล้วท่านก็ไปอยู่วัดบ้านสามแยก ไปอยู่วัดสระทอง แล้วค่อยไปจำพรรษาที่วัดบ้านโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น ๒ พรรษา กลางวันท่านก็อยู่วัดในหมู่บ้าน กลางคืนท่านจะไปจำวัดที่ป่าช้าบ้านท่อน ท่านก็พาชาวบ้านไปถางป่าสร้างเป็นวัดเป็นที่ปักกลดภาวนาในตอนกลางคืน ณ ปัจจุบันนี้ เป็นวัดป่าบ้านโนนท่อน (มีคลิปที่หลวงพ่อเล่าเรื่องปราบผีวัดป่าบ้านโนนท่อนในยูทูป ช่อง สายบุญ สายทอง) จากนั้นชาวบ้านค้อชาได้ไปแจ้งข่าวให้หลวงพ่อทองทราบว่าหลวงปู่สังข์ป่วยหนักไม่มีคนดูแลอีกอย่างหลวงปู่สังข์ก็สั่งไปกับโยมให้หลวงพ่อทองกลับมาร้อยเอ็ดได้แล้ว พอท่านกลับมาร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านไม่ได้อยู่ที่วัดสุดารังสรรค์เหมือนเดิม เพราะด้วยเหตุที่ว่า ที่พักสงฆ์บ้านดอนเกลือไม่มีพระ ชาวบ้านดอนเกลือจึงไปนิมนต์หลวงพ่อทองมาอยู่วัดดอนเกลือ สิ่งปลูกสร้างในที่พักสงฆ์บ้านดอนเกลือตอนนั้น มี กุฎิไม้ยกสูงมีอยู่ ๓ ห้อง มีห้องน้ำ ๓ ห้อง มีศาลาไม่แบบอีสานสมัยเก่าที่ยังสร้างไม่เสร็จ บวกกับที่วัดเป็นป่ารก ต้นยางในวัดหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่ามีเกือบร้อยกว่าต้นในตอนนั้น ท่านก็นำพาชาวบ้านมาถากป่า และหลวงพ่อเล่าให้ฟังอีกว่ามีคนในหมู่บ้านบางคนก็มาสบประมาทท่านไว้ว่า มีพระชื่อทองอีกสิบคนก็สร้างวัดไม่ได้ หลวงพ่อเลยเก็บคำสบประมาทนั้นมาเป็นครู เริ่มสร้างวัด แล้วก็เริ่มมีคนมารักษาเรื่อยๆจากเดิมที่ไม่มีเงินพอจะสร้างก็มีญาติโยมที่มารักษาตัวที่วัดนำเงินมาถวายเรื่อยๆ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สร้างกุฎิหลังที่ใช้ฉันข้าว ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างหอระฆัง,สร้างห้องน้ำด้านหน้า ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๖ สร้างโบส,สร้างศาลาหลังเดิม,สร้างเจดีย์ เสร็จภายใน ๓ ปี ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เดิมที่จะฉลองโบส แต่ทางการว่าวัดสร้างยังไม่ถึง ๕ ปี ให้เลื่อนการขอวิสุงคามไปก่อน ท่านเลยได้ฉลองเฉพาะเจดีย์ และปลุกเษกเหรียญหยดน้ำรุ่น ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างหอพระยาวเดิมทีท่านจะสร้างหอพระยาวรอบวัดไปเลยแต่ซื้อที่หลังวัดไม่ได้เลยได้สร้างหอพระยาวหน้ากุฏิหลวงพ่อเพียงเท่านั้น ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สร้างกำแพงรอบวัด,สร้างกุฎิหลวงพ่อ,และกุฏิทางทิศใต้เพื่อเป็นกุฏิรับรองเจ้าคณะภาค ปี. พ.ศ. ๒๕๔๐ ตัดหวายลูกนิมิต ฉลองโบส ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สร้างห้องน้ำทางทิศใต้ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างเมรุ ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๕ ในสามปีนี้เป็นช่วงที่หลวงพ่อออกหาไม้ที่จะมาสร้างหอไตรและเขียนลายด้วยตนเองรอให้ช่างมาแกะไม้ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เริ่มสร้างหอไตรกลางน้ำ เสร็จภายในปีนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ทำบุญฉลองหอไตรกลางน้ำ และออกเหรียญรุ่น ๒ แล้วนำมาอฐิฐานจิตเดี่ยวตลอดไตรมาสเข้าพรรษาในปีนั้น เพื่อที่จะนำไปให้ทหารที่จะลงไป ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นเหรียญที่ระลึกมอบให้ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพซื้อทองคำมาหล่อพระทองคำและพระเงิน ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ทำพิธีเทอทองหล่อพระพุทธรูปทองคำแท้ และพระพุทธรูปเงินแท้ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ทำพิธีฉลองพระพุทธรูปทองคำ ปี พ.ศ.๒๕๕๓ สร้างศาลาดารณีรัตนะ แล้วเสร็จภายในปีนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ออกเหรียญ รุ่น ๓ เพื่อทุนในการสร้างตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง วิทยฐานะ ๑. พ.ศ. ๒๕๑๐. สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียน วัดบ้านค้อชา ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๒. พ.ศ. ๒๕๒๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดสุดารังสรรค์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๓. พ.ศ.๒๕๕๕ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) สาขาการจัดการเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย งานการปกครอง ๑. พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๒. พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๓. พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดดอนเกลือ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๔. พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๕. พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งให้เป็นผู้รักษาการกิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง ๖. พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอ ทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ๗. พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรม พระครูธวัชชัยคุณ เจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี ที่พระสมุห์สายทอง สิริธมฺโม พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้า คณะตำบลชั้นตรี (จต.ชต.) ในราชทินนาม ที่ พระครูสิริธรรมโกวิท พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท (จต.ชท.) ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก (จต.ชอ.) ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโท (จอ.ชท) ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก (จอ.ชอ) ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ (จอ.ชพ) ในราชทินนามเดิม ความสามารถพิเศษด้านอื่น ๆ ๑.หมอยา หลวงพ่อยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องยาสมุนไพร สามารถรักษาได้หลายๆโรค ตำรายาที่ท่านศึกษาได้มาจากหนังสือก้อม หรือหนังสือใบลานที่คนสมัยเก่าได้จารเป็นตัวธัมลงไว้ในใบลาน หลวงพ่อเคยใช้ผู้เขียนไปหาต้นไม้ ใบไม้ มาให้โยมเมื่อโยมมาปรึกษาในเรื่องอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ทำลูกประคบให้คนป่วยที่มารักษาที่วัด ยาที่หลวงพ่อทำเป็นยาลูกกรก็มีที่ขึ้นชื่อ ตำรายาบ้างส่วนท่านก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่พระครูวิจิตรปัญญาคุณ(หลวงปู่สังข์) ๒.ช่างทำเมรุนกหัสดีลิงค์ ซึ่งหลวงพ่อว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้อะไรนะ เป็นหลักให้ลูกศิษย์ จะให้ปีนขึ้นไปตีตระปูเหมือนเมื่อก่อนก็คงไม่ไหม ทำเพราะชอบ ถ้าไม่ทำรุ่นลูกรุ่นหลานก็ไม่รู้จัก เมื่อก่อนเคยเห็นพ่อใหญ่คำหมา มาทำเมรุนกหัสดีลิงค์ให้หลวงปู่สังข์ในตอนนั้นยังเป็นพระหนุ่มก็ได้แต่ถามและสังเกตจำเอาแล้วก็เอามาทำตัวแรก ก็คือเมรุนกหัสดีลิงค์งานพระราชเพลิงศพหลวงพ่อเจ้าคุณพระราชธรรมโสภณ วัดบูรพาภิราม พระอารามหลวง จากนั้นก็ทำมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนี้ ๓.ช่างปั้นพระ หล่อพระแบบอีสานโบราณ ซึ่งต่างจากสมัยนี้เพราะสมัยนี้ใช้ปูนเป็นแกนในและใช้ปูนโอบด้านนอก แต่หลวงพ่อใช้แกนชั้นในเป็นดิน พอขึ้นรูปเสร็จก็นำดินมาโอบอีก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำอย่าง ภาษาช่างจะเรียนว่า งานหล่อดินไทย ซึ่งต้องทำองค์ต่อองค์สังเกตได้จากพระพุทธรูปสมัยเก่าถ้าของแท้ด้านในจะเป็นดินมีรอยถูกเผาแล้วขูดออกยากมากช่างสมัยเก่าเลยไม่ขูดดินแกนในออก ผู้เขียนถามหลวงพ่อว่าใครเป็นอาจารย์สอนหลวงพ่อ ท่านบอกว่าพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม แต่สอนเพียงภาคทฤษฎี ไม่ได้พาลงมือทำ หลวงพ่อมาปั้นเอง มาลองหลอมทองเอง ผสมสัดส่วนทองเอง ครั้งไหนผิด ผิดตรงไหนเอาจุดนั้นมาเป็นครูปรับแก้ไปจนได้ แล้วมีช่วงหนึ่งมีโยมจากบ้านปะอาว มาให้หลวงพ่อรักษาที่วัด และหลวงพ่อก็ได้ไปเสียปอบ (ปราบผี) ที่บ้านปะอาว พอว่างจากงานท่านก็ไปดูการหล่อพระที่บ้านปะอาว ในสมัยนั้นหลวงพ่อว่าถ้าจำชื่อไม่ผิด คือพ่อใหญ่ทองเป็นหัวหน้ากลุ่มช่างบ้านปะอาว ก็ได้ความรู้จากบ้านปะอาวมาก็มาทำที่วัด หลวงพ่อจะหล่อพระถวายเป็นพุทธบูชาทุกปี เมื่อถึงวันมาฆบูชา เพราะท่านถือว่าวันนั้นเป็นวันเกิดตามที่โยมบิดาโยมมารดาบอกมาแบบนั้น ๔.ช่างก่อสร้าง งานปูน นี้ก็เล่าในตอนต้นไปแล้วว่าหลวงพ่อมีความสนใจในงานศิลป์มาก ตอนเด็กชอบไปวัดไปดูทีมช่างพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ที่มาบูรณะโบส ก็ได้สอบถามในเรื่องงานก่อสร้าง งานโครงสร้าง รวมไปถึงการปาดลายปูน ๕.ช่างไม้ งานก่อสร้างเกี่ยวกับงานไม้หลวงพ่อก็ทำได้ โครงสร้างสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดจะเป็นโครงไม้ หลังๆมาท่านไม่มีกำลังไปหาต้นไม้ถึงปล่อยให้ช่างใช้เหล็ก การแกะลวดลายจากไม้ อย่างเช่น วอ หรือ ยาน ที่คนสมัยก่อนเรียก ที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว ที่ใช้สำหรับเจ้านายหรือข้าราชการฝ่ายในใช้นั่งไปที่ต่าง ๆ มีคานรับอยู่ด้านข้าง หรือ ด้านล่างของวอ ใช้คนหาม งานชิ้นนี้หลวงพ่อทำขึ้นมาเพื่อใช้แห่ตอนสมัยที่หลวงพ่อได้เป็นเจ้าคณะตำบลบึงงาม แกะลาย และ ติดกระจกเองทั้งหลัง และยังมีงานอีกหลายชิ้นที่ท่านทำขึ้นมาเอง ๖.ช่างตอกกระดาษ งานด้านนี้หลวงพ่อได้รับรางวัล ได้ขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาของชาติ จากกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้รับรางวัล นาคราช เชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านอีสาน ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดขึ้น หลวงพ่อบอกว่า การเขียนลาย ไม่ว่าจะเป็น ลายปูน ลายไม้ หรือลายกระดาษ ลายเหมือนกัน แต่วิธีเขียนต่างกัน เพราะเวลา จะไปปาดลายปูน ไม่เหมือนแกะไม้ และแกะไม้ก็ไม่เหมือนการตอกกระดาษ ลายกระดาษหลวงพ่อได้เรียนมาจากญาครูจั่น วัดผดุงวิทยา บ้านท่าโพธิ์ ผู้ที่เคยทำรถบั้งไฟเอ้ไปประกวดที่จังหวัดยโสธร ชนะติดกันหลายปี อีกท่านก็เป็นพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติ ๗.กาพย์เชิ้ง ผญาธรรมคำสอน โวหารในการเทศน์ กาพย์เชิ้งบั้งไฟในตอนต้นได้เล่าถึงการที่หลวงพ่ออ่านหนังสือไม่ออก อาศัยยายอ่านให้ฟัง เล่าให้ฟังแล้วหลวงพ่อก็จำเอา ในสมัยหลวงพ่อเป็นหนุ่มน้อย ขึ้นชื่อเรื่องการจ่ายกาพย์เชิ้งบั้งไฟ ผู้เขียนได้ไปหาข้อมูลจากคนแก่ที่เคยได้ฟังและเห็นหลวงพ่อไปเชิ้งบั้งไฟกับคนแก่สมัยก่อน ว่าหลวงพ่อไม่รู้ไปหากลอนเชิ้งบั้งไฟมาจากไหม เมื่อถึงฤดูการประเพณีบุญบั้งไฟพอตกค่ำมาผู้ชายรุ่นมีครอบครัวแล้ว ถ้าภาษาอีสานจะว่ารุ่นพ่อลูกพ่อเมีย ก็มาชวนหลวงพ่อไปเป็นคนจ่ายกาพย์เชิ้ง แล้วให้คณะที่ไปด้วยกันพูดตาม อีกคนก็ตีกลอง บางครั้งไปเชิ้งเกือบสว่างก็มี การเชิ้งบั้งไฟสมัยก่อนการไปจ่ายกาพย์เชิ้งจะไปก่อนวันงานจริงจะไปตอนกลางคืน เพราะกลางวันคนออกไปทำไร่ทำนาไม่มีใครอยู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นกาพย์เชิ้งที่จำจากยายมา และก็มีการดนกลอนสดก็มี บางครั้งก็ลำไปด้วย นี้ก็เป็นอีกหนึ่งความสามารถของหลวงพ่อที่มีความจำดี และเรื่องสำนวนโวหารการเทศน์ เวลาไปเทศน์หลวงพ่อจะมีผญาธรรมอีสานสอนไปด้วย และจะมีนิทานสอนไปด้วย นี้เคยถามหลวงพ่อว่าท่านได้มาจากไหน หลวงพ่อบอกว่า จำพระรุ่นเก่าๆสมัยที่หลวงพ่อไปเข้ากรรม ก็จะมีเจ้าคุณคัมภีร์ธรรมาจารย์ วัดสว่างอารมณ์ หลวงพ่อบอกว่า เจ้าคุณคัมภีร์ เขาตั้งให้สมชื่อท่านจริงๆ ไม่ว่าจะเทศน์ก็เก่ง ยิ่งสวดมนต์ไม่มีใครเทียบได้เลยในสมัยนั้น ท่านก็จำแนวทางการเทศน์และคลองสวดมนต์มาจากเจ้าคุณคัมภีร์ และอีกรูปคือพระครูมนูญชยาจารย์ เมื่อก่อนเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่บุดดา บ้านหนองเต่า ท่านได้ให้ทั้งความรู้หลังการเทศน์และวิชาแก่หลวงพ่อทองหลายอย่าง เพราะหลวงพ่อบ้านหนองเต่าหรือหลวงปู่บุดดา หลวงปู่คัมภีร์ พระครูมนูญ ถ้าไล่เรียงกันดีๆหลวงพ่อบอกว่าก็เหมือนผีเชื้อตัวเดียวกัน พอเจ้าคุณคัมภีร์มรณภาพทีวัดสว่าง เจ้าอาวาสรุปต่อไปก็เป็นพระครูมนูณ ที่ไป ******************************************* ขอบคุณข้อมูลจาก..Facebook.ขวัญ หยั่งมั่น และกลุ่มหลวงพ่อสายทอง สิริธมฺโม

ประวัติพระอาจารย์อดิเรก อนุตตโร วัดหนองทราย จ.สุพรรณบุรี

อัตชีวประวัติ ของพระอาจารย์อดิเรก อนุตตโร นามเดิมก่อนอุปสมบท ชื่อ อดิเรก นามสกุล สว่างศรี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเมีย ต้นตระกูลเดิมทางบิดาเป็นชาวหนองผักนาก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี นามสกุล สว่างศรี ต้นตระกูลเดิมทางมารดา เป็นคนศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี นามสกุล มณีวงษ์ บิดาชื่อ นายบุญลือ สว่างศรี มารดาชื่อ นางสุวิน สว่างศรี พื้นเพดั้งเดิมเกิดที่ ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาชั้นประถมศึกษา ๑-๖ ที่โรงเรียนบ้านหนองราชวัตร ศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ๑-๖ ที่โรงเรียนหนองหญ้าไซวิทยา บรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุ ๑๘ ปีจำพรรษาอยู่ที่ วัดหนองราชวัตร เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี ๖ เดือน ๑๒ วัน ได้เข้าอุปสมบทในวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู โดยมีพระครูศาสนกิจจานุยุต (หลวงพ่อจำนงค์ นรินฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุรินทร์ กนฺตสีโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระถนอม ปญฺญาวฑฺฒโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เป็นพระภิกษุเมื่อเวลา ๐๙.๔๑ น. ได้นามว่า พระอดิเรก ฉายา อนุตฺตโร อดิเรก แปลว่า พิเศษ อนุตฺตโร แปลว่า ผู้ประเสริฐ , ยอดเยี่ยม อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองราชวัตรได้ ๓ เดือน ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองทรายจนถึงปัจจุบัน 💠วิทยฐานะ ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ สอบรายได้นักธรรมชั้นโท ปีพ.ศ. ๒๕๕๕ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ปีพ.ศ. ๒๕๕๘ สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการเชิงพุทธ 💠การแต่งตั้งและดำรงตำแหน่ง ปีพศ. ๒๕๕๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ๑๖ เมษายน ๒๕๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกา ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล หนองราชวัตร ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระปลัด ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูธรรมธร 💠ศึกษาตำราวิชาครูบาอาจารย์ การเขียนเลขยันต์ พระอาจารย์มีความชอบตั้งแต่เด็ก อายุ ๘ - ๑๐ ขวบ มีหน้าที่เลี้ยงวัวอยู่กับปู่ การเขียนยันต์จะใช้พื้นดินที่เป็นฝุ่นตามไร่นา ใช้มือลูบให้เรียบและฝึกเขียนยันต์ต่างๆ โดยมีปู่เป็นผู้สอนและดูแบบปั๊มเหรียญพระเครื่องของหลวงพ่อมุ่ยและหลวงพ่อต่างๆ วิชาที่ได้จากปู่ วิชาคัดเลือด เสกน้ำล้างหน้า มหาอุด คาถายาสูบ ฯ (ในที่นี้ปู่ของพระอาจารย์มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ในเครือญาติฝ่ายแม่) 💠เรียนตำราสักยันต์ตอนเป็นสามเณร หลวงตาพัฒน์ หรือ หลวงพ่อพัฒน์ เป็นพระอยู่ทางภาคใต้จังหวัดพัทลุง แกนั่งรถมาธุดงค์ที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วจะเดินไปวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี แกเดินมาถึงวัดหนองราชวัตรมาขอจำพรรษาในช่วงเข้าพรรษาพอดี หลวงพ่อพัฒน์ ได้สอนพระอาจารย์ในวิชาการสักยันต์ และครอบตำราสักยันต์ สอนกรรมฐานและการทำสมาธิ ( ก่อนหน้านั้นพระอาจารย์ได้ฝึกสมาธิอยู่แล้ว โดยเข้าไปทำกรรมฐานในป่าช้าอยู่เป็นประจำ เมื่อหลวงพ่อพัฒน์มาจำพรรษาก็ได้บอกแนวทางเพิ่มเติม ) เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ก็เริ่มใช้วิชาสักยันต์ ให้ลูกศิษย์ จนมีลูกศิษย์มาสักยันต์มากมาย. การสักยันต์ของพระอาจารย์อยู่ในช่วงเป็นสามเณรและเป็นพระได้ ๓ เดือน พระอาจารย์ก็หยุดสักจนถึงปัจจุบัน 💠ย้ายมาจำพรรษาณวัดหนองทราย เนื่องด้วยวัดหนองทรายมีการเรียนการสอนธรรมวินัย พระอาจารย์จึงมาเรียนและจำพรรษาที่วัดนี้ เรียนได้ ๓ ปีก็สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก 💠ตำรับตำราวิชาครูใหญ่แห่งสำนัก ปีพศ. ๒๕๕๙ พระอาจารย์ได้รับตำราของหลวงปู่อิ่ม วัดหัวเขา จากปู่วัง สูงปานเขา ผู้เป็นลูกของปู่เหรียญ สูงปานเขา เดิมทีของตำรา ในสมัยที่หลวงปู่อิ่มยังมีชีวิตอยู่ ตำราทั้งหมดอยู่ที่วัดหลวงปู่ได้รวบรวมไว้มาก เปรียบเหมือนตักสิลา ในตำรา โองการไหว้ครูได้เอ่ยถึงครู มี ครูหมี ครูเม่น ครูสุข ครูอ่อน ครูแสง ครูแจง ปู่ปลั่ง ผู้เป็นต้นวิชา เริ่มต้นหล่อพระวัตถุมงคล หลวงปู่และปู่ปลั่ง ได้ทำกันในวัด และภายหลังได้มีลูกศิษย์และชาวบ้านมาช่วยด้วย เท่าที่เอ่ยได้มี ปู่เหรียญ สูงปานเขา และ หลวงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ(ในสมัยหลวงพ่อเย็นเป็นฆราวาส) ในสมัยนี้เองได้มีการจดตำราจากต้นฉบับซึ่งเป็นตำราการหล่อโลหะและผูกยันต์ การผสมโลหะในสมัยนั้นลูกศิษย์ที่เป็นช่างหล่อจะมีตำราทุกบ้าน เมื่อสิ้นหลวงปู่อิ่มตำราครูหัวใหญ่ที่เรียกกัน ยังอยู่ที่วัดจนสิ้นหลวงพ่อแขก ตำราครูหัวใหญ่ ได้ตกมาอยู่กับปู่เหรียญ สูงปานเขา และตำราที่จดกันเมื่อสิ้นพ่อ ลูกๆก็นำมาให้ปู่เหรียญเก็บทั้งสิ้น เมื่อสิ้นปู่เหรียญตำราได้ตกมาถึงปู่วัง สูงปานเขา จนถึงปีพ.ศ ๒๕๕๙ ปู่วังได้ยกครูและมอบตำราทั้งหมดให้พระอาจารย์อดิเรก อนุตฺตโร มาจนถึงปัจจุบัน ตำราที่พระอาจารย์รับมานับได้ประมาณ ๒๐ กว่าผูก/เล่ม และเป็นแบบบันทึกลงสมุดเขียนอีกมาก (ปัจจุบันตำราอยู่ในกุฏิพระอาจารย์) จะเอาออกทุกปีในวันคำนับครู 💠หัวเขา เกี่ยวเนื่องกับ มะขามเฒ่าอย่างไร ในสรรพวิชาต่างๆที่หลวงพ่ออิ่มได้รวบรวมมาจากครูบาอาจารย์ ที่ได้เอ่ยชื่อไว้แล้วนั้นมีอยู่มาก แต่ที่ไม่น้อยไปกว่าครูท่านอื่นก็คือ หลวงพ่อจะเขียนไว้ว่าได้มาจากมะขามเฒ่า ของครูสุข หลวงปู่อิ่มจะเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ศุขแบบเต็มตัว หรือเป็นสหายธรรมแลกเปลี่ยนวิชากันข้อนี้ตอบยาก แต่ที่แน่ๆหลวงปู่อิ่มพาหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ไปเรียนได้วิชามามากมายและหลวงปู่อิ่มเรียกหลวงปู่ศุขว่า "ครูศุขวัดมะขามเฒ่า" ตำราที่พระอาจารย์รับมาแบ่งเป็น ๓ หมวด ๑. ตำราเลขยันต์คาถาเสก ๒. ตำรายามหาเถร ๓. ตำราโลหะธาตุ ในตำราที่พระอาจารย์ท่านเรียน ที่หลวงปู่อิ่มได้มาจาก วัดมะขามเฒ่า มี ยันต์พุทธมนต์โลก คำอาราธนาครู พุทธอุด พุทธเมตตา พุทธะรัตนมาลา พุทธเมตตาใหญ่ อิติ พุทธมหานิยม นะฤาชา พุทธสาริกา นะหน้าทอง นะคุ้มเมือง ยันต์องค์พระ พระคาถาจินดามณี นะนกยาง นะงู นะมหาระงับ ตารางเพชร เกาะแก้ว นะสูญยัง ยันต์ประสมธาตุ อาวุธ ๔ นะโมตาบอด เฑาะว์ทรหด และอีกมากที่พระอาจารย์บอกยังไม่หมด 💠ตำราเลขยันต์คาถาเสก เริ่มตั้งแต่ ตีนิสิงเห จตุโร เทพอาวุธ พระมหาเถระอุปคุตชนะมาร นารายณ์ ๘ บท มงกุฎพระพุทธเจ้า จักรแก้วพระพุทธเจ้า องค์การนารายณ์แรง ทำมงคล พระมหาฉิมพลี พระคาถาเมตตามหานิยม พระคาถาเสกสิงห์ ลงปลุกหนุมาน ยันต์อาวุธพระพุทธเจ้า หรือยันต์คู่ชีวิต โสฬสมงคล ยันต์พุทธนิมิตร เสกนางกวักและอีกมากมายขอเอ่ยเท่านี้ เรื่องนะ ๑๐๘ จงดูรอยจารหลังเหรียญ ที่พระอาจารย์ท่านจารให้เถิด 💠ตำรายามหาเถร ดังที่ลูกศิษย์เคยเห็นพระอาจารย์เคยทำพระทรงครุฑ กับทรงเม่นเนื้อดิน แต่ยังไม่ครบพิมพ์ มีที่มาจากตำราหลวงพ่ออิ่มดังนี้ "โอมกูจะเชิญพระฤาษีทั้ง ๘ ตน ให้ไปนิมนต์เครื่องพาหนะของพระพุทธเจ้า มีครุฑ เสือ ไก่ เม่น วานร นกกระจาบปลา มาช่วยกู " และยาวจนจบนี้ คือพระคาถา คำกล่าวคาถานี้คือองค์การมหาเถร ตำรายาเป็นของโบราณถ้าทำพระก็จะเชิญเครื่องพาหนะมาไว้ ใต้ล่างจึงเป็น พระทรงครุฑ ทรงเม่น ในตำรามียางู แก้งูกัดงูพิษคาถาถอนต่างๆ พ่นซาง ทำน้ำมนต์ระงับความ มนต์สะกด แก้พิษสุนัข แก้คนเสียจริต ธรณีสารและอีกมากมาย ตำรายามีอยู่ ๕ ผูก 💠ตำราโลหะธาตุ การหล่อโลหะจากปู่วังมาถึงพระอาจารย์ การทำพระหล่อโบราณแยกออกเป็น ๓ ส่วน ๑. การปั้นหุ่น พระอุปคุตพระปิดตาและพระต่างๆนั้น ต้องรู้วิธีการหุงขี้ผึ้ง ดังคำที่อาจารย์บอกว่า ร้อนหุงให้แข็ง เย็นหุงให้อ่อน การปั้นจะเป็นการปั้น ทีละองค์ จะต้องรู้จักเลขและยันต์ ที่จะแปะลงไป รู้จักผูกยันต์และปฏิสนธิยันต์ จึงจะสมบูรณ์ ๒. การทำดินในและดินนอก รูชนวน/เวลาเผาพิมพ์ รู้จักดินต่างๆที่จะนำมาใช้ รู้สูตรผสมดิน รู้การเข้าชนวนน้ำโลหะ ความหนาของดินปากเบ้า ระยะเวลาเผาพิมพ์ การจะเทหล่อโลหะแต่ละชนิด ใช้เวลาเผาเบ้าพิมพ์ไม่เท่ากันต้องทำนานมาก ๓. การผสมโลหะ เล่นแร่แปรธาตุ หุ่งเมฆสิทธิ์ เมฆพัตร ผสมสำริดเงิน สำริดทอง ชิน สัตตะ นวโลหะ ในปัจจุบันหาพระเกจิที่จะสำเร็จ เมฆสิทธิ์ เมฆพัตร ยากมาก สำหรับเนื้อเมฆสิทธิ์หุ่งยากมาก กว่าพระอาจารย์จะทำสำเร็จใช้เวลา 2 ปีกว่า สำหรับเมฆพัตรนั้นอันตราย การหล่อต้องรู้ระยะเวลา หลอมเนื้อโลหะให้ถึงจุด จึงจะหล่อได้สมบูรณ์ 💠ในปีพ.ศ. ๒๕๕๙ พระอาจารย์ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ พ่อท่านเอียดวัดโคกแย้ม จังหวัดพัทลุง พ่อท่านผ่องวัดแจ้ง จังหวัดพัทลุง 💠การจัดสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ต้นพระอาจารย์เป็นผู้แกะแม่พิมพ์เองทุกรุ่นทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรุ่นแรก สมเด็จ พระพิมพ์ต่างๆ รูปเหมือนปั๊ม ทุกอย่างทำด้วยมือ ปั้นหุ่นทีละองค์ หล่อโลหะที่วัด จนถึงปัจจุบัน 💠ในปัจจุบันพระอาจารย์ รวมทั้งคณะลูกศิษย์ และชาวบ้าน ช่วยกันพัฒนาวัดชุมชนโรงเรียนพระอาจารย์ได้จัดสร้างวิหาร ศาลาเรือนไทย เจดีย์ ปรับภูมิทัศน์ และกำลังจะสร้างซุ้มทางเข้าวัด เพื่อให้วัดดูสวยงาม น่าเข้ากราบไหว้ เป็นประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังสืบไป ฯ #กราบพระอาจารย์เรก🙏🙏🙏 #พระอาจารย์อดิเรก_อนุตตโร🙏 #วัดหนองทราย จ.สุพรรณบุรี Cr.ขอบคุณเจ้าของข้อมูล/รูปภาพ Facebook...Orgte Mile และกลุ่มลูกศิษย์พระอาจารย์อดิเรก

4/7/67

ขอน้อมถวายมุทิตาสักการะพระธรรมวชิรนิวิฐ(บัวศรี ชุตินฺธโร) สถิต ณ วัดประชานิยม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตร ตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ ให้ พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีราชทินนามว่า ❖ พระธรรมวชิรนิวิฐ ❖ อุดมสิกขกิจจการี ศรีปริยัตยาทร สุนทรศาสนกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดประชานิยม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ _________________________________________ ขอบคุณที่มาภาพ วัดประชานิยม

พระร าชวัชราวิทยาคม (พระอาจารย์ต้อม ปภัสสโร) สถิต ณ. วัดท่าสะแบง จังหวัดร้อยเอ็ด

“พ ร ะ ร า ช วั ช ร า วิ ท ย า ค ม” สถิต ณ วัดท่าสะแบง จังหวัดร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ให้ พระครูปลัดสุขวัฒน์ (อนุสรณ์ ปภสฺสโร) เป็น พระราชาคณะราชมีนามว่า “พระราชวัชราวิทยาคม อุดมวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” สถิติ ณ วัดท่าสะแบง จังหวัดร้อยเอ็ด ในนามคณะศิษยานุศิษย์ ขอน้อมถวายมุทิตาสักการะในโอกาสเป็นมงคลนี้ ************************** ขอบคุณที่มา.

29/6/67

พระอุปคุต ปางจกบาตร รุ่น มหาลาภ หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธ์ 2567

พระอุปคุตปางจกบาตร รุ่น มหาลาภ หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธ์
พระอุปคุตปางจกบาตร รุ่น มหาลาภ หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธ์ ในการสร้างพระอุปคุตตามความเชื่อ ในหลายๆประเทศนั้น ต่างก็สร้างขึ้นจากจินตนาการณ์ ของผู้สร้างในแต่ละคติ การที่สร้างพระ อุปคุตพระอุปคุตปางจกบาตนั้น ก็เพื่อสื่อในความหมาย ของผู้ที่อุดม ไปด้วยโภคทรัพย์ ด้วยเหตุตามตำนาน เล่าว่า ในวันเพ็ญที่เป็นวันพุธ ตามคติความเชื่อชาวล้านนา พระอุปคุตเถระนั้น มีจริต อุปนิสัยรักสันโดษ ท่านได้เนรมิต ปราสาทเรือนแก้ว อยู่กลางสะดือท้องทะเล ในวันพระที่ตรงกับวันพุธ ท่านมักจะ ออกจากนิโรธะสมาบัติ โดยเนรมิตกาย เป็นเณรน้อย ออกมาบิณฑบาตในตอนเช้ามืด คติที่ว่าใครที่ได้ทำบุญโดยการใส่บาตกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธะสมาบัตฺินั้น เป็นการสร้างมหากุศล โดยที่โอกาศที่จะได้ทำบุญกับพระอรหันต์นั้นยากเต็มที และยิ่งได้ทำบุญกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธะ สมาบัตินั้น ยิ่งยากกว่า ผลจากการที่ได้สร้างมหากุศลนี้ มีผลไพบูลย์ สามารถพลิกชะตาให้แก่ผู้สร้างกายเป็นผู้อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ เพียงชั่วข้ามคืน แม้แต่เทพบุตร เทพธิดาก็ยังอยากทำบุญกับพระอุปคุตเถระ ในยามที่ท่านแขวนบาตรไว้บนต้นไม้ เทพบุตร เทพธิดา ก็จะเอา อาหารอันเป็นทิพย์มาใส่บาตพระเถระ ในการฉันเพลของพระภิกษุนั้น จะฉันในตอนที่ก่อนพระอาทิตย์จะเคลื่อนมาตรง กลางศรีษะ การที่ท่านจะฉันเพลก็จะใช้วิธีการแหงนดูพระอาทิตย์เป็นการดูกาลเวลา การสร้างพระปางจกบาตนั้นจึงสร้างตามคติในการ ดูเวลา และพระอุปคุตนั้นถือว่าเป็นพระเถระผู้ที่อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ ( แม้ไม่บิณฑบาต ก็มีอาหารอันเป็นทิพย์ ที่เหล่าเทพเทวดานำมาถวาย) คุณวิเศษของพระอุปคุตจึงเป็นไปในทาง ขจัดอุปสรรคขวากหนาม เพราะพระอุปคุตเป็นผู้กำราบพญามาร ในทางเมตตามหานิยม ในทางมหาลาภ โดยประการฉะนี้

27/6/67

ประวัติคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เรียบเรียงโดยคณะศิษย์ บุญเรือน โตงบุญเติม

ประวัติคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เรียบเรียงโดยคณะศิษย์ บุญเรือน โตงบุญเติม . พ.ศ.๒๔๓๗ -วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๓๗ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) ปีมะเมีย ราวเวลา ๑๑.๒๐ น. หนังสือบางเล่มบอกว่าคุณแม่บุญเรือน เกิดวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๓๗ (ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕) ปีมะเมียเกิด ณ ตำบลคลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดธนบุรี . พ.ศ.๒๔๕๒ -อายุ ๑๕ ปี เรียนวิชาหมอนวดกับ “อาจารย์กลิ่น” ซึ่งมีศักดิ์เป็นคุณปู่ (บิดาของพ่อ) -ต่อมาได้รู้จักกับ พระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง อินฺทโชติ) ได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางธรรม -แต่งงานกับส.ต.ท. จ้อย โตงบุญเติม ตำรวจประจำสถานีสัมพันธวงศ์ และเปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก “กลิ่นผกา” มาใช้นามสกุลสามี “โตงบุญเติม” และได้พัก ณ บ้านพักราชการตำรวจ สถานีสัมพันธวงศ์ -เข้าบำเพ็ญบุญ ณ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เนื่องจากอยู่ใกล้ที่พัก มีการรักษาศีล และวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เป็นพระวิปัสสนาจารย์ เป็นเนืองๆ -รับอุปการะบุตรบุญธรรม คือ เด็กหญิงอุไร คำวิเทียน ตั้งแต่อายุ ๖ เดือน -คุณแม่บุญเรือนประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า รักษาโรคด้วยการนวดรักษา และหมอตำแยทำคลอด -ส.ต.ท. จ้อย โตงบุญเติม อุปสมบท ณ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร ๑ พรรษา . พ.ศ.๒๔๗๐ -ประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๐ (คาดคะเนจากคำบอกเล่าว่าคุณแม่บุญเรือนปฏิบัติธรรม ณ วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา ๙๐ วัน) คุณแม่บุญเรือน บวชชี และอยู่ปฏิบัติธรรม ณ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร -วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) ปีเถาะ คุณแม่บุญเรือน ลาศีลแม่ชี กลับบ้านไปพัก ณ บ้านพักราชการตำรวจ สถานีสัมพันธวงศ์ -วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖) คุณแม่บุญเรือน “บรรลุธรรม” ขณะอายุ ๓๓ ปี และได้อธิษฐานหายตัวไปอยู่ ณ ศาลาการเปรียญวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร -คุณแม่บุญเรือน อธิษฐานหายตัวไปยังเขาวงพระจันทร์ พร้อมกับได้รับพระธาตุมา ๑ องค์ . พ.ศ.๒๔๗๙ -ส.ต.ท. จ้อย โตงบุญเติม เสียชีวิตในเหตุเพลิงไหม้ เนื่องจากเข้าไปช่วยดับเพลิง ณ ตลาดน้อย ขณะที่อายุได้ ๔๒ ปี -ย้ายที่อยู่จากบ้านพักราชการตำรวจ สถานีสัมพันธวงศ์ ไปอยู่ ณ โรงเรียนช่างกลสมบุญดี เขตมักกะสัน . พ.ศ.๒๔๗๙ -นางสาวอุไร (บุตรบุญธรรม) อายุ ๑๙ ปี ได้สมรสกับ ร.ต.ท. เต็ม คำวิเทียน มีธิดาด้วยกัน ๑ คน ชื่อ นิดา คำวิเทียน -คุณแม่บุญเรือน ย้ายมาพักกับครอบครัวของ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน (ลูกเขย) และ นางอุไร คำวิเทียน (บุตรบุญธรรม) ณ บ้านพักของตำรวจ ที่ โรงพักกลาง . พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ -คุณแม่บุญเรือนไปโปรดศิษยานุศิษย์ ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้พำนัก ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ด้วยการอธิษฐานปูน น้ำ พริกไทย และสิ่งอื่นๆ ตามแต่ผู้คนจะนำมาให้อธิษฐาน เป็นยารักษาโรค . พ.ศ.๒๔๙๒ -ราวต้นปี พ.ศ.๒๔๙๒ กลับจากเชียงใหม่ คุณนายพัธนี ได้สร้างบ้านอยู่ใกล้กับโรงพิมพ์วิบูลย์กิจ ณ ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ (บ้านวิสุทธิ์กษัตริย์) มอบให้แก่คุณแม่บุญเรือน เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจสวดมนต์เจริญภาวนา และเป็นสถานที่ช่วยเหลือผู้คน -ก่อตั้งคณะสามัคคีวิสุทธิ . พ.ศ.๒๔๙๔ -อธิษฐานต้นมะม่วง อายุ ๑๓ เดือน ให้ออกช่อออกดอก -วันที่ ๑๑-๑๔ กันยายน ๒๔๙๔ สร้างพระพุทโธน้อย ณ วัดอาวุธวิกสิตาราม จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์ -คุณแม่บุญเรือนไปอธิษฐานธรรม ณ สถานีวิททยุของกรมรักษาดินแดน ถ่ายเกิดเหตุการณ์ถ่ายภาพไม่ติด โดยที่คนถ่ายไม่ได้ขออนุญาต . พ.ศ.๒๔๙๕ -คุณแม่บุญเรือนไปโปรดศิษยานุศิษย์ ณ ภาคใต้ . พ.ศ.๒๔๙๖ -วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ ทำพิธีหล่อพระพุทโธใหญ่ ณ วัดสัมพันธวงศ์ -วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๙๙ เคลื่อนพระพุทโธใหญ่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถ ณ วัดสารนาถธรรมมาราม จังหวัดระยอง และได้ขนามนามว่า “พระพุทธชินราชจอมมุนี” -ราวก่อนวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖ อธิษฐานต้นมะม่วงให้ออกช่อออกดอก (รอบที่ ๒) และเข้านิโรธสมาบัติ (ครั้งที่ ๑) ณ บ้านสามัคคีวิสุทธิ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ -คุณแม่บุญเรือนไปโปรดศิษยานุศิษย์ ณ ภาคอีสาน . พ.ศ.๒๔๙๗ -วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) วันลอยกระทง คุณแม่บุญเรือน จัดพิธีลอยกระทง ณ คลองเตย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การท่าเรือกรุงเทพฯ . พ.ศ.๒๔๙๘ -ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๘ อธิษฐานถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ ณ วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และได้เข้านิโรธสมาบัติ (ครั้งที่ ๒) -๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ วันมาฆะบูชา ถ่ายภาพอธิษฐานธรรม ณ วัดท่าผา จังหวัดราชบุรี (บางที่มาบอก พ.ศ.๒๔๙๙) -๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง และเข้านิโรธมาบัติ (ครั้งที่ ๓) -ราวเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ไปพักอยู่ ณ บ้านนาซา ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยพัก ณ ที่ดินของนางสาววาย วิทยานุกรณ์ และสั่งห้ามให้คณะศิษย์ทางกรุงเทพฯ เข้าพบเป็นอันขาด จนกว่าจะครบ ๑ ปี คุณแม่ได้เข้านิโรธสมาบัติ (ครั้งที่ ๔) และสั่งให้ขุดบริเวณที่คุณแม่นั่งเข้านิโรธสมาบัติ พบเจอทรายทองศักดิ์สิทธิ์ . พ.ศ.๒๔๙๙ -วันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๙๙ คณะสามัคคีวิสุทธิไปรับคุณแม่บุญเรือน กลับจากจังหวัดระยอง โดยนัดพบ ณ วัดสารนาถธรรมมาราม และได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถ โดยพักค้างแรมที่นั้น ๑ คืน -วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๙๙ คุณแม่บุญเรือนได้เข้านิโรธสมาบัติ ครั้งที่ ๕ (จากบันทึกของพุฒิ นิพพาน) และเดินทางกลับจากจังหวัดระยอง เข้าสู่กรุงเทพฯ โดยได้ลงแวะพัก ณ จังหวัดสมุทราปราการ -วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๙ หลวงแจ่มวิชาสอน ได้สร้างบ้านหลังใหม่ (หลังที่ ๒) ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีบริเวณกว้างขวาง กว่าบ้านหลังเดิมที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ มอบให้แก่คุณแม่บุญเรือน -วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๙๙ ทำพิธีเปิดป้ายบ้านสามัคคีวิสุทธิ และเปลี่ยนการชุมนุมจากวันเสาร์ตอนบ่าย เป็น “วันอาทิตย์ตอนบ่าย” -วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๙๙ ทำพิธีเก็บศิลาน้ำ -วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๙๙ หลังจากที่คุณแม่บุญเรือนได้อธิษฐานศิลาน้ำแล้ว ได้มีการแจกศิลาน้ำ มีศิลาน้ำ ๑๑ กอง ผู้ร่วมพิธีราว ๔๐๐ คน -วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เวลา ๑๒.๐๐ น. คุณแม่บุญเรือนทำพิธีชักธงชัยชนะ ชัยมงคล -วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ทำพิธีอธิษฐานทัพพีนางกวัก -วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ทำพิธีฉลององค์กฐิน ณ บ้านสามัคคีวิสุทธิ และเคลื่อนองค์กฐินไปทอดถวาย ณ วัดชำนิหัตถการ (สามง่าม) . พ.ศ.๒๕๐๐ -วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานธรรมและแจกเทียนชัย -ทำหนังสือใบโพธิ์ (สามัคคีกถา) แจกในงาน ๒๕ พุทธศตวรรษ จำนวน ๓๐,๐๐๐ เล่ม -อธิษฐานธรรมประจุพระพุทโธกลาง . พ.ศ.๒๕๐๑ -คุณแม่บุญเรือนไม่รับนวดเพศชาย เว้นแต่ธรรมจะบันดาล -สร้างพระพุทโธคลัง ประดิษฐาน ณ เจดีย์ยอดมณฑปอุโบสถวัดสารนาถธรรมมาราม . พ.ศ.๒๕๐๒ -ให้ช่างมาเขียนรอยฝ่าเท้าเรียกว่า “ทางขาวก้าวหน้า” -วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๐๒ พิมพ์ทางขาวก้าวหน้าแจก . พ.ศ.๒๕๐๕ -วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๕ มอบถวาย “พระชนะประทานพร” ณ อุโบสถวัดโนนขุนชัย จังหวัดนคราชสีมา . พ.ศ.๒๕๐๖ -คุณแม่บุญเรือน เริ่มมีอาการเจ็บป่วยของโรคไต หัวใจอ่อน โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง . พ.ศ.๒๕๐๗ -ราวปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๐๗ คุณแม่บุญเรือนได้สั่งให้หยุดนาฬิกาไว้ที่เวลา ๑๑.๒๐ น. โดยให้สาเหตุว่า “เสียงดัง หนวกหู” -วันที่ ๓-๖ กันยายน ๒๕๐๗ คุณแม่บุญเรือน มีอาการอ่อนเพลียมาก เหนื่อยเวลาพูด เบื่ออาหาร มีเสมหะเหนียว รับประทานอาหารได้เพียง ๒-๓ คำเท่านั้น -วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๐๗ ละสังขาร สิริรวมอายุได้ ๗๐ ปี -วันที่ ๗ กันยายน – ๒๔ ตุลาคม ๒๕๐๗ พิธีบำเพ็ญกุศล -วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๗ ประชุมเพลิง ณ วัดธาตุทอง (พระอารามหลวง) อัตชีวประวัติ #คุณแม่บุญเรือนโตงบุญเติม ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ.ขอคุณแม่จงรักษา

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ล้วน จันทสาโร พระครูจันทรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) วัดศรีมงคลเหนือ(ธ) ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร

🌈✨#ประวัติและปฏิปทาพอสังเขปขององค์หลวงปู่ล้วน_จันทสาโร✨ พระครูจันทรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) อายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๔ (พ.ศ.๒๕๖๔) วัดศรีมงคลเหนือ(ธ) ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร 🌈✨#ชาติภูมิ✨ พระครูจันทรวิสุทธิ์ หรือ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร มีนามเดิมว่า ล้วน นามสกุล วงษ์จำปา ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับวันพุธ แรมหกค่ำ เดือนหก ปีมะโรง ที่ บ้านนาสะโน ตำบลดอนตาล อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันบ้านนาสะโน ต.นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร) ท่านเป็นบุตรของ คุณพ่อจารย์โหง่น คุณแม่ป้อง วงษ์จำปา (คุณแม่ป้อง เป็นบุตรีของเจ้าเมืองคำเขื่อนแก้วอุปฮาด(อุปราช) ปัจจุบันตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน ๗ คน ดังนี้ ๑.)นางกอง วงษ์จำปาแต่งงานกับนายตู้ ปริปุรณะ มีบุตรธิดา รวม ๕ คน ๑.๑ นายนู ปริปุรณะ ๑.๒ นายนุ่ม ปริปุรณะ ๑.๓ นางชู ศรีลาศักดิ์ ๑.๔ นายยู้ ปริปุรณะ ๑.๕ นางเชือด พรมเสนา ๒.)นางก้าน วงษ์จำปา แต่งงานกับนายไม คนไว มีบุตรธิดา รวม ๒ คน ๒.๑ นายป้าน คนไว ๒.๒ นางมณี ศรีลาศักดิ์ ๓.)นางนารี วงษ์จำปา แต่งงานกับนายสีทัน คนไว มีบุตรี จำนวน ๑ คน คือ นางเชื่อม ใจตรง ๔.)นายวันดี วงษ์จำปา แต่งงานกับนางเพ็ง ปริปุรณะ มีบุตรี จำนวน ๑ คน คือ นางสมศรี บุทธิจักร ๕.)มหาเส็ง วงษ์จำปา เสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ ๔๐ ปี (โสด) ๖.)นายสด วงษ์จำปา แต่งงานกับนางถัน วงษ์จำปา มีบุตรธิดา รวม ๕ คน ๖.๑ นางบท ซาเสน ๖.๒ นางหวัน คนไว ๖.๓ พ.อ.ธีรภัทร์ วงษ์จำปา อดีตอนุศาสนาจารย์ มทภ.๒ ,เปรียญธรรม ๙ ประโยค ๖.๔ พระครู​สถิตย์วิรุฬห์​ธรรม​(สวัสดิ์​ ธมฺมทีโป) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ๖.๕ นายถนอม วงษ์จำปา ๗.)พระครูจันทรวิสุทธิ์(หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) เจ้าอาวาสวัดศรีมงคลเหนือ 🌈✨#การบรรพชาและอุปสมบท✨ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ปี พ.ศ.๒๔๘๙ อายุครบ ๑๘ ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านนาโพธิ์ ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยมี พระอาจารย์สอน เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๑ อายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี #พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี วิทยฐานะ นักธรรมชั้นเอก 🌈✨#ศึกษาพระธรรม✨ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ท่านได้ศึกษาธรรมจาก #พระเทพสิทธาจารย์(หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม #หลวงปู่ลือ ปุญฺโญ วัดป่านาทามวนาวาส ต.ป่าไร่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร #หลวงปูเทสก์_เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย และ #หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ.ห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หลวงปู่ล้วน ท่านยังมีสหธรรมมิกที่ไปมาหาสู่กันจนคุ้นเคยนั่นคือ #เจ้าคุณจันโทปามาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่งหลวงปู่คำพันธ์ท่านก็ได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ และ #พระครูสุนทรศีลขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม บ.กุดแห่ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร และหลวงปู่สิงห์ทองท่านได้ละสังขาร เมื่อ ๓ กันยายน ๒๕๖๓ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ท่านยังเป็นพระกัมมวาจาจารย์(พระอาจารย์สวด)ให้ #หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี ตอนอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ และหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก ท่านยังเคารพนับถือหลวงปู่ล้วน จันทสาโร เป็นอย่างมากอีกด้วย หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ท่านเป็นพระที่มีศีลวัตรและจริยวัตรงดงาม มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีเมตตาธรรม ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สมควรแก่การกราบไหว้รูปหนึ่ง 🌈✨#การปกครอง✨ -ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร(ธ) - ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีมงคลเหนือ(ธ) ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๐ - ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร(ธ) - ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ - ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนเจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร(ธ)(ชั่วคราว) - ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร(ธ) 🌈✨#สมณศักดิ์✨ -ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในราชทินนามเดิมที่ #พระครูจันทรวิสุทธิ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗ 🌈✨#ประวัติวัดศรีมงคลเหนือ✨ วัดศรีมงคลเหนือ ปัจจุบันมี พระครูจันทรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) เป็นเจ้าอาวาส เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดมุกดาหาร ที่ก่อตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง สร้างมานาน ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ ภายในวัดมีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่าง เช่น โบสถ์ วิหารหลวงพ่อองค์ดำ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระธาตุทันใจ พระสังกัจน์จาย เป็นที่เคารพสักการะของชุมชนและนักท่องเที่ยว ภายในวัดสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงและสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ ๒ และฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน มีภูมิทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร 🌈✨#โอวาทธรรม✨ “...ภาวนา พุท โธ ให้ได้ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก อย่าขี้เกียจ ให้ได้ขันติอดทน ใช้ความเพียรพยายาม วิริยะอุตสาหะ ค่อยๆทำ ขี้เกียจก็ต้องทำ สะสมไปตามกำลังของตัวเอง...” “...เหตุดี ผลกะดี เหตุบ่ดี ผลกะบ่ดี ใจเฮานี้ละสำคัญ...” “...จน ดี มี ชั่ว กะตายนำกันเบิ่ด...” ❇️ #ละสังขาร ❇️ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ละสังขารด้วยอาการสงบ(ติดเชื้อในกระแสเลือด) ที่ รพ.มุกดาหาร ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๒๑.๒๙ น. สิริอายุ ๙๓ ปี ๗๔ พรรษา *************🌟🌟🌟************* >>ที่มาข้อมูล : พระอาจารย์อุทิศ อาสโภ , พระครูสังฆวิสุทธิ์(ครูบาแจ๋ว) >>เรียบเรียง : ขันติบารมีธรรม ปรับปรุง : วีระยุทธ ป้อมหิน ๒๓ พ.ค. ๖๔

ประวัติและปฏิปทาพระครูสุนทรศีลขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง_ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

✨🌼ประวัติและปฏิปทา🌼✨ #พระครูสุนทรศีลขันธ์ (#หลวงปู่สิงห์ทอง_ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ๏💢 ชาติภูมิ “พระครูสุนทรศีลขันธ์” หรือ “หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร” มีนามเดิมว่า สิงห์ทอง ประมูลอรรถ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๘๗ ณ บ้านกลางใหญ่ ต.กลางใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบ่อง และนางอูบ ประมูลอรรถ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนโต มีรายชื่อตามลำดับดังนี้ (๑) หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร (๒) นางรั้ว ประมูลอรรถ (๓) นางทองดำ ประมูลอรรถ (แม่ชีทองดำ) ก่อนที่ท่านจะมาปฏิสนธิในครรภ์โยมมารดานั้น ในคืนหนึ่งโยมมารดานิมิตฝันว่า มีชายแก่คนหนึ่งเอางาช้างยาวใหญ่สีขาวบริสุทธิ์มามอบให้ แล้วสั่งกำชับว่า “งาช้างนี้เป็นมงคล ขอให้รักษาไว้ให้ดีเพื่อเป็นมรดกของเจ้า ห้ามไม่ให้ผู้ใดใครคนหนึ่งเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์อย่างเด็ดขาด” ไม่นานนักโยมมารดาของท่านก็ได้ตั้งครรภ์ และได้พยายามถนอมรักษาครรภ์เป็นอย่างดี จนครบทศมาส ๑๐ เดือนแล้วคลอดออกมา เมื่อถึงเวลาคลอดตามปกติของผู้มีบุญญาบารมี แต่โบราณว่าไว้จะผิดธรรมชาติ นั่นคือเวลาคลอดท่านเอาก้นหรือขาออกมาก่อน เป็นที่ลำบากของโยมมารดาอย่างยิ่ง เมื่อคลอดออกมาได้โยมมารดาเจ็บปวดอย่างหนักแทบขาดใจถึงกลับสลบไป ผู้เฒ่าผู้แก่ต้องเอาผ้าถุงมาพัดโบกให้จนฟื้นเป็นปกติ หมอตำแยได้ตัดสายรกสายสะดือ ล้างเช็ดตัวให้สะอาด เอาไปวางนอนในกระด้ง หลังจากนั้นโยมบิดา-โยมมารดาก็เลี้ยงดูด้วยความรักตลอดมา โดยมี “โยมป้าตาล” เป็นผู้อุปการะดูแลเปรียบเสมือนโยมมารดาอีกคนหนึ่ง เมื่อท่านอายุได้ ๒ ขวบโยมป้าตาลก็ตายจากไป โยมบิดา-โยมมารดาจึงได้เลี้ยงดูจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โยมบิดา-โยมมารดาได้อพยพย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านกุดแห่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (จ.ยโสธร ในปัจจุบัน) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ดี ๏💢 การบรรพชาและอุปสมบท ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่ออายุ ๑๙ ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสำราญนิเวศ (พระอารามหลวง) ต.บุ่ง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) โดยมี พระครูทัศนวิสุทธิ์ (พระมหาดุสิต เทวีโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ได้มาจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ณ วัดป่าสุนทราราม ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นเวลา ๑ ปี แล้วก็ได้ลาสิกขามาประกอบอาชีพเลี้ยงดูโยมบิดา-โยมมารดา และน้องสาวทั้งสอง เพราะโยมบิดาป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคหืด ครั้นเมื่อน้องสาวทั้งสองของท่านมีครอบครัว ท่านได้มอบสมบัติให้น้องๆ ไปทั้งหมด แล้วท่านก็ออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามคำสั่งของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน นิมิตก่อนที่หลวงปู่สิงห์ทองท่านจะตัดสินใจออกบวช มีความดังนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ คืนหนึ่งท่านได้ฝันไปว่า มีผู้เฒ่าผมขาวทั่วหัวถือฆ้อนกระบองเพชรมีหนาม ไล่ตามหมายจะเอาชีวิตท่าน ท่านก็วิ่งหนีตั้งแต่บ้านของท่านจนถึงนานายแปลง ห้วยหินลับ วิ่งไล่กันขึ้นไปบนเถียงนา ท่านก็กระโดดจากเถียงนาหนีไปหลบซ่อนที่กองฟาง ผู้เฒ่าคนนั้นหาไม่เจอจึงไปถามนายเผย คูณศรี เพื่อนของท่านว่า “แกเห็นเซียงสิงห์ทองวิ่งมาทางนี้ไหม” นายเผยตอบว่า “ไม่เห็น” ผู้เฒ่าคนนั้นจึงเดินไปอีกทาง ส่วนท่านพอผู้เฒ่าไปแล้วก็วิ่งหนีกลับบ้านด้วยความกลัว จนสะดุ้งตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกกลัวอยู่ เหนื่อยจนหายใจหอบ เมื่อตั้งสติได้ ท่านก็ได้สวดมนต์ไหว้พระ ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เมตตาพรหมวิหาร ๔ แล้วตั้งใจนั่งสมาธิ ตั้งแต่เวลาประมาณตีสองจนถึงเช้า พอสายท่านได้ไปกราบนมัสการเพื่อขอรดน้ำมนต์กับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น จากนั้นจึงได้พิจารณาถึงความตาย ว่าสัตว์ทั้งหลายหนีไม่พ้น ดังเพื่อนๆ หลายคนที่ได้ตายลงไป จึงมีความคิดที่จะออกบวช และในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้ฝันว่าตัวเองถึงแก่ความตาย ร่างถูกบรรจุลงโลงถูกหามจะนำไปเผาที่วัดป่าสุนทราราม มีผู้ชาย ๔-๕ คนหามไป ไม่มีพระมาสวดมาติกาบังสกุลเลย หามเวียนรอบกองฟอนครบสามรอบ ก็ยกโลงศพวางบนกองฟอนใกล้ต้นมะตูม วิญญาณของท่านออกจากร่างไปอยู่บนกิ่งต้นมะตูม แล้วมองดูร่างของท่านซึ่งกำลังถูกเผาไหม้ ท่านร้องตะโกนบอกว่า “สูเอากูมาเผา แต่กูไม่ร้อนดอก” แต่ไม่มีใครพูดตอบ ชายเหล่านั้นก็กลับบ้านไป ปล่อยให้ท่านอยู่เพียงคนเดียว ท่านจึงลงมาดูศพของท่านที่ถูกเผาจนหมด ไฟก็ดับมอดลง ในกองฟอนเหลือแต่เถ้ากับกระดูก จึงคิดตรองว่าจะทำอย่างไรดี ทันใดนั้นก็คิดว่าเราจะเอากระดูกมาปั้นเป็นรูปพระ จึงหาเอาครกกับสากมาบดตำให้ละเอียด เอาน้ำสะอาดมาผสม แล้วปั้นเป็นรูปพระ เมื่อปั้นเสร็จไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน คงต้องทิ้งลงกองฟอนอีกเป็นแน่ แต่แล้วท่านก็สะดุ้งตื่นจากฝัน เมื่อตั้งสติได้จึงแปลความฝันว่า เราคงตายจากเพศคฤหัสถ์แน่ คงได้อุปสมบทเร็ววันนี้เป็นแน่แท้ ครั้นมีอายุ ๒๖ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ณ อุโบสถวัดป่าสุนทราราม โดยมี พระครูภัทรคุณาธาร เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็อยู่ศึกษากับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน และเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ตลอดมา พระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต) วัดป่าโนนแสนคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ เขตวิสุงคามสีมาวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) จ.ยโสธร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีพระครูภัทรคุณาธาร (บุญ โกสโล ป.ธ.๔) วัดพรหมวิหาร ต.สวาท อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรศีลขันธ์ (พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่เนยท่านได้เข้ารับฟังธรรมจากพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ในขณะนั้น อยู่เป็นสม่ำเสมอและบ่อยๆ ๏ ประวัติความเป็นมาของวัดป่าสุนทราราม ครั้งในสมัย พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองท่าแขก หรือวัดบ้านกุดแห่ บ้านกุดแห่ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร วัดเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ พระนักพัฒนา และพระนักก่อสร้าง ได้นำพาคณะศรัทธาญาติโยมและชาวบ้านทำบุญตามประเพณีจริงๆ เช่น เดือน ๓ เอาบุญข้าวจี่, เดือน ๔ เอาบุญพระเวสสันดรชาดก, เดือน ๕ ก็บุญสงกรานต์, เดือน ๖ บุญบั้งไฟหมื่นบั้งไฟแสน เป็นต้น แต่ก่อนใกล้จะถึงวันทำบุญ ได้มีการป่าวประกาศประชุมกันทำตูบ ทำปะรำสำหรับต้อนรับพระ ปัจจุบันใช้เต็นท์แทน ญาติโยมที่มาทำบุญใส่ฉลากมาเป็น ๖๐ กว่าหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านที่มาจะประกอบด้วยหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ พระเณรจะเดินทางมา บางวัดมีม้า พระจะขี่ม้ามา ญาติโยมหนุ่มสาวเดินตามหลังสนุกสนานร่าเริง พอไปถึงวัด เจ้าภาพจัดกันไว้เป็นคุ้มเป็นกลุ่ม คุ้มไหนรับบ้านไหนก็จะพาไปพักที่ตูบที่ประจำที่เตรียมไว้ ใครรับบ้านไหนจะตกลงกันในวันประชุมก็เป็นที่รับบ้านนั้น พอถึงเวลาแห่พระเวสก็จะไปรวมกัน มีกลองตุ้ม กลองหาง กลองเลง กลองกริ่ง มีวงระนาด ฆ้องวง มีหัวงิ้วหัวโขน เข้าขบวนแห่ สมัยนั้นถือเป็นของแปลกประหลาดมาก กลางคืนก็มีมหรสพ แต่ก่อนไต้กระบองไม่มีไฟฟ้า เครื่องเสียงไม่มี คนมาเที่ยวงานชมงาน ๑๐๐ กว่าหมู่บ้าน แออัดเต็มบ้านเต็มวัด คำว่าทะเลาะกันตีกันไม่มีเหมือนทุกวันนี้ มีแต่สนุกสนานร่าเริง คนหนุ่มสาวก็พูดเกี้ยวกันเป็นคำเว่าผญา แต่โบราณอาหารการกิน เลี้ยงกันเลี้ยงแขกที่มาเอาบุญอุดมสมบูรณ์ การทะเลาะวิวาทไม่มีเลย พระอาจารย์ในตอนนั้นท่านจะเป็นช่าง ทำอะไรเป็นหมด และให้ดีสมชื่อท่านด้วย ที่เห็นของเก่าที่ท่านทำไว้ก็ตู้เก็บคัมภีร์เทศนา ซึ่งจารึกด้วยตัวธรรมตัวขอมทั้งนั้นเลย ท่านมีม้าเป็นพาหนะ ท่านจะไปเทศนาบ้านกุดเชียงหมี บ้านไกลท่านจะขี่ม้า ญาติโยมก็เดินตามไป แต่ก่อนไม่มีรถเลย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมน้องชายได้เดินทางออกจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ ด้วยเกิดอยากไปเที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของดีหาวิชาความรู้เพิ่มเติม จึงเดินทางท่องเที่ยวขึ้นไปทางเหนือไปทาง จ.สกลนคร จ.นครพนม ด้วยคงเป็นบุญกุศลแต่ชาติปางก่อนหนุนส่ง จึงจำเพาะให้การเดินทางไปมืดค่ำลงที่บ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่งในขณะนั้นที่วัดบ้านสามผง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พักปฏิบัติธรรมอบรมญาติโยมอยู่ที่นั้นพอดี เมื่อพระอาจารย์ดีเข้าไปนมัสการกราบไหว้ ท่านพระอาจารย์มั่นได้ทักท้วงทักทายได้ถูกต้องเหมือนตาเห็น เป็นอัศจรรย์มาก พระอาจารย์ดีเข้าใจทันทีว่าท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ สำเร็จแล้ว ท่านเป็นผู้วิเศษจริงๆ เมื่อมาพบของดีเข้าแล้วจึงขอถวายตัวเป็นลูกศิษย์ทันที ท่านพระอาจารย์มั่นก็แสดงธรรมให้ฟัง ชี้ทางประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้บวชญัตติเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตใหม่อีกครั้ง ที่วัดสร่างโศก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (อ.เมือง จ.ยโสธร ในปัจจุบัน) ซึ่งปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง) วัดธรรมยุตแห่งแรกใน จ.ยโสธร เมื่อบวชแล้วก็ได้ออกเผยแผ่ธรรมพระกรรมฐาน เป็นศิษย์เอกในสมัยบุกเบิกนั้นอย่างกว้างขวาง ท่านเดินทางกลับบ้านกุดแห่ หลังจากฝึกข้อวัตรปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น ๑ ปี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ไปพักปักกลดอยู่ที่ดอนปู่ตา รื้อหอปู่ตาทิ้งปลูกกุฏิชั่วคราวขึ้น ปฏิบัติธรรมสั่งสอนประชาชนอยู่ ๑ เดือน ให้เลิกนับถือปู่ตา ให้เลิกนับถือผีฟ้า ให้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด ครั้นต่อมา พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พิจารณาเห็นว่าสถานที่ของวัดไม่เหมาะสมและไม่สัปปายะ จึงได้ย้ายจากดอนปู่ตาไปจับจองเอาดอนคอกวัวของ พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ซึ่งเป็นผู้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้เพื่อสร้างวัด พระอาจารย์ดีจึงสั่งคณะญาติโยมรื้อศาลากุฏิจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ เอาไปปลูกสร้างไว้ที่วัดใหม่ดอนคอกวัวทั้งหมด วัดศรีบุญเรืองท่าแขกจึงเป็นวัดร้างแต่นั้นมา ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดป่าสุนทราราม ดอนปู่ตาก็เป็นบ้านดอนสวรรค์ทุกวันนี้ พระอาจารย์ดีท่านจะไม่ค่อยอยู่ประจำ แต่ไปๆ มาๆ เพื่อจัดหาทุนทรัพย์มาก่อสร้างเสนาสนะ ที่ดินทั้งหมดที่พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ถวายมีทั้งหมด ๖๐ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา สำหรับความเป็นมาของชื่อวัดนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอธิการอินทร์ สุนทโร ซึ่งเป็นบิดาของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน อุปสมบทมาหลายพรรษาแล้ว จึงนำเรื่องเสนอพระเถระ ต่อมาพระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จึงได้ตั้งชื่อวัดให้คล้ายกับนามฉายาของเจ้าอาวาสรูปแรก รูปปฐมฤกษ์ ว่า “วัดสุนทราราม” สภาพเป็นป่า เป็นวัดป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สายปฏิบัติกรรมฐาน เลยเพิ่มป่าเข้าไปแล้วเรียกว่า “วัดป่าสุนทราราม” พระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้พัฒนาก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ฯลฯ วัดป่าสุนทรารามมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาไม่เคยขาดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ขอบคุณข้อมูููลจาก Facebook.วีระยุทธ ป้อมหิน กลุ่มศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

24/6/67

สามสิงห์ ถวายเงิน 20 ล้านบาท หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ณ.วัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

สามสิงห์ ถวายเงินเรียบร้อยครับ 20ล้าน (และจะมีเพิ่มอีก) อนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านด้วยนะครับ โปรดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ สามสิงห์ อมูเลท Official เหรียญมีชีวิต ขอให้ทุกคน ได้เป็น #ยอดเศรษฐี สมชื่อรุ่น บรรยากาศผู้สร้าง พิธีพลีมวลสาร รุ่นยอดเศรษฐี
ขอบคุณข้อมูลภาพจากFB.Mark Bmc /กลุ่มหลวงปู่ศิลา สิริจันโท รุ่นยอดเศรษฐี