29/6/67

พระอุปคุต ปางจกบาตร รุ่น มหาลาภ หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธ์ 2567

พระอุปคุตปางจกบาตร รุ่น มหาลาภ หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธ์
พระอุปคุตปางจกบาตร รุ่น มหาลาภ หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธ์ ในการสร้างพระอุปคุตตามความเชื่อ ในหลายๆประเทศนั้น ต่างก็สร้างขึ้นจากจินตนาการณ์ ของผู้สร้างในแต่ละคติ การที่สร้างพระ อุปคุตพระอุปคุตปางจกบาตนั้น ก็เพื่อสื่อในความหมาย ของผู้ที่อุดม ไปด้วยโภคทรัพย์ ด้วยเหตุตามตำนาน เล่าว่า ในวันเพ็ญที่เป็นวันพุธ ตามคติความเชื่อชาวล้านนา พระอุปคุตเถระนั้น มีจริต อุปนิสัยรักสันโดษ ท่านได้เนรมิต ปราสาทเรือนแก้ว อยู่กลางสะดือท้องทะเล ในวันพระที่ตรงกับวันพุธ ท่านมักจะ ออกจากนิโรธะสมาบัติ โดยเนรมิตกาย เป็นเณรน้อย ออกมาบิณฑบาตในตอนเช้ามืด คติที่ว่าใครที่ได้ทำบุญโดยการใส่บาตกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธะสมาบัตฺินั้น เป็นการสร้างมหากุศล โดยที่โอกาศที่จะได้ทำบุญกับพระอรหันต์นั้นยากเต็มที และยิ่งได้ทำบุญกับพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธะ สมาบัตินั้น ยิ่งยากกว่า ผลจากการที่ได้สร้างมหากุศลนี้ มีผลไพบูลย์ สามารถพลิกชะตาให้แก่ผู้สร้างกายเป็นผู้อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ เพียงชั่วข้ามคืน แม้แต่เทพบุตร เทพธิดาก็ยังอยากทำบุญกับพระอุปคุตเถระ ในยามที่ท่านแขวนบาตรไว้บนต้นไม้ เทพบุตร เทพธิดา ก็จะเอา อาหารอันเป็นทิพย์มาใส่บาตพระเถระ ในการฉันเพลของพระภิกษุนั้น จะฉันในตอนที่ก่อนพระอาทิตย์จะเคลื่อนมาตรง กลางศรีษะ การที่ท่านจะฉันเพลก็จะใช้วิธีการแหงนดูพระอาทิตย์เป็นการดูกาลเวลา การสร้างพระปางจกบาตนั้นจึงสร้างตามคติในการ ดูเวลา และพระอุปคุตนั้นถือว่าเป็นพระเถระผู้ที่อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ ( แม้ไม่บิณฑบาต ก็มีอาหารอันเป็นทิพย์ ที่เหล่าเทพเทวดานำมาถวาย) คุณวิเศษของพระอุปคุตจึงเป็นไปในทาง ขจัดอุปสรรคขวากหนาม เพราะพระอุปคุตเป็นผู้กำราบพญามาร ในทางเมตตามหานิยม ในทางมหาลาภ โดยประการฉะนี้

27/6/67

ประวัติคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เรียบเรียงโดยคณะศิษย์ บุญเรือน โตงบุญเติม

ประวัติคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เรียบเรียงโดยคณะศิษย์ บุญเรือน โตงบุญเติม . พ.ศ.๒๔๓๗ -วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๓๗ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) ปีมะเมีย ราวเวลา ๑๑.๒๐ น. หนังสือบางเล่มบอกว่าคุณแม่บุญเรือน เกิดวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๓๗ (ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕) ปีมะเมียเกิด ณ ตำบลคลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดธนบุรี . พ.ศ.๒๔๕๒ -อายุ ๑๕ ปี เรียนวิชาหมอนวดกับ “อาจารย์กลิ่น” ซึ่งมีศักดิ์เป็นคุณปู่ (บิดาของพ่อ) -ต่อมาได้รู้จักกับ พระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง อินฺทโชติ) ได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางธรรม -แต่งงานกับส.ต.ท. จ้อย โตงบุญเติม ตำรวจประจำสถานีสัมพันธวงศ์ และเปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก “กลิ่นผกา” มาใช้นามสกุลสามี “โตงบุญเติม” และได้พัก ณ บ้านพักราชการตำรวจ สถานีสัมพันธวงศ์ -เข้าบำเพ็ญบุญ ณ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เนื่องจากอยู่ใกล้ที่พัก มีการรักษาศีล และวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เป็นพระวิปัสสนาจารย์ เป็นเนืองๆ -รับอุปการะบุตรบุญธรรม คือ เด็กหญิงอุไร คำวิเทียน ตั้งแต่อายุ ๖ เดือน -คุณแม่บุญเรือนประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า รักษาโรคด้วยการนวดรักษา และหมอตำแยทำคลอด -ส.ต.ท. จ้อย โตงบุญเติม อุปสมบท ณ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร ๑ พรรษา . พ.ศ.๒๔๗๐ -ประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๐ (คาดคะเนจากคำบอกเล่าว่าคุณแม่บุญเรือนปฏิบัติธรรม ณ วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา ๙๐ วัน) คุณแม่บุญเรือน บวชชี และอยู่ปฏิบัติธรรม ณ วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร -วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) ปีเถาะ คุณแม่บุญเรือน ลาศีลแม่ชี กลับบ้านไปพัก ณ บ้านพักราชการตำรวจ สถานีสัมพันธวงศ์ -วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖) คุณแม่บุญเรือน “บรรลุธรรม” ขณะอายุ ๓๓ ปี และได้อธิษฐานหายตัวไปอยู่ ณ ศาลาการเปรียญวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร -คุณแม่บุญเรือน อธิษฐานหายตัวไปยังเขาวงพระจันทร์ พร้อมกับได้รับพระธาตุมา ๑ องค์ . พ.ศ.๒๔๗๙ -ส.ต.ท. จ้อย โตงบุญเติม เสียชีวิตในเหตุเพลิงไหม้ เนื่องจากเข้าไปช่วยดับเพลิง ณ ตลาดน้อย ขณะที่อายุได้ ๔๒ ปี -ย้ายที่อยู่จากบ้านพักราชการตำรวจ สถานีสัมพันธวงศ์ ไปอยู่ ณ โรงเรียนช่างกลสมบุญดี เขตมักกะสัน . พ.ศ.๒๔๗๙ -นางสาวอุไร (บุตรบุญธรรม) อายุ ๑๙ ปี ได้สมรสกับ ร.ต.ท. เต็ม คำวิเทียน มีธิดาด้วยกัน ๑ คน ชื่อ นิดา คำวิเทียน -คุณแม่บุญเรือน ย้ายมาพักกับครอบครัวของ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน (ลูกเขย) และ นางอุไร คำวิเทียน (บุตรบุญธรรม) ณ บ้านพักของตำรวจ ที่ โรงพักกลาง . พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ -คุณแม่บุญเรือนไปโปรดศิษยานุศิษย์ ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้พำนัก ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ด้วยการอธิษฐานปูน น้ำ พริกไทย และสิ่งอื่นๆ ตามแต่ผู้คนจะนำมาให้อธิษฐาน เป็นยารักษาโรค . พ.ศ.๒๔๙๒ -ราวต้นปี พ.ศ.๒๔๙๒ กลับจากเชียงใหม่ คุณนายพัธนี ได้สร้างบ้านอยู่ใกล้กับโรงพิมพ์วิบูลย์กิจ ณ ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ (บ้านวิสุทธิ์กษัตริย์) มอบให้แก่คุณแม่บุญเรือน เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจสวดมนต์เจริญภาวนา และเป็นสถานที่ช่วยเหลือผู้คน -ก่อตั้งคณะสามัคคีวิสุทธิ . พ.ศ.๒๔๙๔ -อธิษฐานต้นมะม่วง อายุ ๑๓ เดือน ให้ออกช่อออกดอก -วันที่ ๑๑-๑๔ กันยายน ๒๔๙๔ สร้างพระพุทโธน้อย ณ วัดอาวุธวิกสิตาราม จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์ -คุณแม่บุญเรือนไปอธิษฐานธรรม ณ สถานีวิททยุของกรมรักษาดินแดน ถ่ายเกิดเหตุการณ์ถ่ายภาพไม่ติด โดยที่คนถ่ายไม่ได้ขออนุญาต . พ.ศ.๒๔๙๕ -คุณแม่บุญเรือนไปโปรดศิษยานุศิษย์ ณ ภาคใต้ . พ.ศ.๒๔๙๖ -วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ ทำพิธีหล่อพระพุทโธใหญ่ ณ วัดสัมพันธวงศ์ -วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๙๙ เคลื่อนพระพุทโธใหญ่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถ ณ วัดสารนาถธรรมมาราม จังหวัดระยอง และได้ขนามนามว่า “พระพุทธชินราชจอมมุนี” -ราวก่อนวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖ อธิษฐานต้นมะม่วงให้ออกช่อออกดอก (รอบที่ ๒) และเข้านิโรธสมาบัติ (ครั้งที่ ๑) ณ บ้านสามัคคีวิสุทธิ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ -คุณแม่บุญเรือนไปโปรดศิษยานุศิษย์ ณ ภาคอีสาน . พ.ศ.๒๔๙๗ -วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) วันลอยกระทง คุณแม่บุญเรือน จัดพิธีลอยกระทง ณ คลองเตย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การท่าเรือกรุงเทพฯ . พ.ศ.๒๔๙๘ -ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๘ อธิษฐานถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ ณ วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และได้เข้านิโรธสมาบัติ (ครั้งที่ ๒) -๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ วันมาฆะบูชา ถ่ายภาพอธิษฐานธรรม ณ วัดท่าผา จังหวัดราชบุรี (บางที่มาบอก พ.ศ.๒๔๙๙) -๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง และเข้านิโรธมาบัติ (ครั้งที่ ๓) -ราวเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ไปพักอยู่ ณ บ้านนาซา ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยพัก ณ ที่ดินของนางสาววาย วิทยานุกรณ์ และสั่งห้ามให้คณะศิษย์ทางกรุงเทพฯ เข้าพบเป็นอันขาด จนกว่าจะครบ ๑ ปี คุณแม่ได้เข้านิโรธสมาบัติ (ครั้งที่ ๔) และสั่งให้ขุดบริเวณที่คุณแม่นั่งเข้านิโรธสมาบัติ พบเจอทรายทองศักดิ์สิทธิ์ . พ.ศ.๒๔๙๙ -วันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๙๙ คณะสามัคคีวิสุทธิไปรับคุณแม่บุญเรือน กลับจากจังหวัดระยอง โดยนัดพบ ณ วัดสารนาถธรรมมาราม และได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถ โดยพักค้างแรมที่นั้น ๑ คืน -วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๙๙ คุณแม่บุญเรือนได้เข้านิโรธสมาบัติ ครั้งที่ ๕ (จากบันทึกของพุฒิ นิพพาน) และเดินทางกลับจากจังหวัดระยอง เข้าสู่กรุงเทพฯ โดยได้ลงแวะพัก ณ จังหวัดสมุทราปราการ -วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๙ หลวงแจ่มวิชาสอน ได้สร้างบ้านหลังใหม่ (หลังที่ ๒) ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีบริเวณกว้างขวาง กว่าบ้านหลังเดิมที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ มอบให้แก่คุณแม่บุญเรือน -วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๙๙ ทำพิธีเปิดป้ายบ้านสามัคคีวิสุทธิ และเปลี่ยนการชุมนุมจากวันเสาร์ตอนบ่าย เป็น “วันอาทิตย์ตอนบ่าย” -วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๙๙ ทำพิธีเก็บศิลาน้ำ -วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๙๙ หลังจากที่คุณแม่บุญเรือนได้อธิษฐานศิลาน้ำแล้ว ได้มีการแจกศิลาน้ำ มีศิลาน้ำ ๑๑ กอง ผู้ร่วมพิธีราว ๔๐๐ คน -วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เวลา ๑๒.๐๐ น. คุณแม่บุญเรือนทำพิธีชักธงชัยชนะ ชัยมงคล -วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ทำพิธีอธิษฐานทัพพีนางกวัก -วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ทำพิธีฉลององค์กฐิน ณ บ้านสามัคคีวิสุทธิ และเคลื่อนองค์กฐินไปทอดถวาย ณ วัดชำนิหัตถการ (สามง่าม) . พ.ศ.๒๕๐๐ -วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานธรรมและแจกเทียนชัย -ทำหนังสือใบโพธิ์ (สามัคคีกถา) แจกในงาน ๒๕ พุทธศตวรรษ จำนวน ๓๐,๐๐๐ เล่ม -อธิษฐานธรรมประจุพระพุทโธกลาง . พ.ศ.๒๕๐๑ -คุณแม่บุญเรือนไม่รับนวดเพศชาย เว้นแต่ธรรมจะบันดาล -สร้างพระพุทโธคลัง ประดิษฐาน ณ เจดีย์ยอดมณฑปอุโบสถวัดสารนาถธรรมมาราม . พ.ศ.๒๕๐๒ -ให้ช่างมาเขียนรอยฝ่าเท้าเรียกว่า “ทางขาวก้าวหน้า” -วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๐๒ พิมพ์ทางขาวก้าวหน้าแจก . พ.ศ.๒๕๐๕ -วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๕ มอบถวาย “พระชนะประทานพร” ณ อุโบสถวัดโนนขุนชัย จังหวัดนคราชสีมา . พ.ศ.๒๕๐๖ -คุณแม่บุญเรือน เริ่มมีอาการเจ็บป่วยของโรคไต หัวใจอ่อน โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง . พ.ศ.๒๕๐๗ -ราวปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๐๗ คุณแม่บุญเรือนได้สั่งให้หยุดนาฬิกาไว้ที่เวลา ๑๑.๒๐ น. โดยให้สาเหตุว่า “เสียงดัง หนวกหู” -วันที่ ๓-๖ กันยายน ๒๕๐๗ คุณแม่บุญเรือน มีอาการอ่อนเพลียมาก เหนื่อยเวลาพูด เบื่ออาหาร มีเสมหะเหนียว รับประทานอาหารได้เพียง ๒-๓ คำเท่านั้น -วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๐๗ ละสังขาร สิริรวมอายุได้ ๗๐ ปี -วันที่ ๗ กันยายน – ๒๔ ตุลาคม ๒๕๐๗ พิธีบำเพ็ญกุศล -วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๗ ประชุมเพลิง ณ วัดธาตุทอง (พระอารามหลวง) อัตชีวประวัติ #คุณแม่บุญเรือนโตงบุญเติม ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ.ขอคุณแม่จงรักษา

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ล้วน จันทสาโร พระครูจันทรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) วัดศรีมงคลเหนือ(ธ) ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร

🌈✨#ประวัติและปฏิปทาพอสังเขปขององค์หลวงปู่ล้วน_จันทสาโร✨ พระครูจันทรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) อายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๔ (พ.ศ.๒๕๖๔) วัดศรีมงคลเหนือ(ธ) ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร 🌈✨#ชาติภูมิ✨ พระครูจันทรวิสุทธิ์ หรือ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร มีนามเดิมว่า ล้วน นามสกุล วงษ์จำปา ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับวันพุธ แรมหกค่ำ เดือนหก ปีมะโรง ที่ บ้านนาสะโน ตำบลดอนตาล อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันบ้านนาสะโน ต.นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร) ท่านเป็นบุตรของ คุณพ่อจารย์โหง่น คุณแม่ป้อง วงษ์จำปา (คุณแม่ป้อง เป็นบุตรีของเจ้าเมืองคำเขื่อนแก้วอุปฮาด(อุปราช) ปัจจุบันตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน ๗ คน ดังนี้ ๑.)นางกอง วงษ์จำปาแต่งงานกับนายตู้ ปริปุรณะ มีบุตรธิดา รวม ๕ คน ๑.๑ นายนู ปริปุรณะ ๑.๒ นายนุ่ม ปริปุรณะ ๑.๓ นางชู ศรีลาศักดิ์ ๑.๔ นายยู้ ปริปุรณะ ๑.๕ นางเชือด พรมเสนา ๒.)นางก้าน วงษ์จำปา แต่งงานกับนายไม คนไว มีบุตรธิดา รวม ๒ คน ๒.๑ นายป้าน คนไว ๒.๒ นางมณี ศรีลาศักดิ์ ๓.)นางนารี วงษ์จำปา แต่งงานกับนายสีทัน คนไว มีบุตรี จำนวน ๑ คน คือ นางเชื่อม ใจตรง ๔.)นายวันดี วงษ์จำปา แต่งงานกับนางเพ็ง ปริปุรณะ มีบุตรี จำนวน ๑ คน คือ นางสมศรี บุทธิจักร ๕.)มหาเส็ง วงษ์จำปา เสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ ๔๐ ปี (โสด) ๖.)นายสด วงษ์จำปา แต่งงานกับนางถัน วงษ์จำปา มีบุตรธิดา รวม ๕ คน ๖.๑ นางบท ซาเสน ๖.๒ นางหวัน คนไว ๖.๓ พ.อ.ธีรภัทร์ วงษ์จำปา อดีตอนุศาสนาจารย์ มทภ.๒ ,เปรียญธรรม ๙ ประโยค ๖.๔ พระครู​สถิตย์วิรุฬห์​ธรรม​(สวัสดิ์​ ธมฺมทีโป) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ๖.๕ นายถนอม วงษ์จำปา ๗.)พระครูจันทรวิสุทธิ์(หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) เจ้าอาวาสวัดศรีมงคลเหนือ 🌈✨#การบรรพชาและอุปสมบท✨ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ปี พ.ศ.๒๔๘๙ อายุครบ ๑๘ ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านนาโพธิ์ ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยมี พระอาจารย์สอน เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๑ อายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี #พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี วิทยฐานะ นักธรรมชั้นเอก 🌈✨#ศึกษาพระธรรม✨ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ท่านได้ศึกษาธรรมจาก #พระเทพสิทธาจารย์(หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม #หลวงปู่ลือ ปุญฺโญ วัดป่านาทามวนาวาส ต.ป่าไร่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร #หลวงปูเทสก์_เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย และ #หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ.ห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หลวงปู่ล้วน ท่านยังมีสหธรรมมิกที่ไปมาหาสู่กันจนคุ้นเคยนั่นคือ #เจ้าคุณจันโทปามาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่งหลวงปู่คำพันธ์ท่านก็ได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ และ #พระครูสุนทรศีลขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม บ.กุดแห่ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร และหลวงปู่สิงห์ทองท่านได้ละสังขาร เมื่อ ๓ กันยายน ๒๕๖๓ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ท่านยังเป็นพระกัมมวาจาจารย์(พระอาจารย์สวด)ให้ #หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี ตอนอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ และหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก ท่านยังเคารพนับถือหลวงปู่ล้วน จันทสาโร เป็นอย่างมากอีกด้วย หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ท่านเป็นพระที่มีศีลวัตรและจริยวัตรงดงาม มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีเมตตาธรรม ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สมควรแก่การกราบไหว้รูปหนึ่ง 🌈✨#การปกครอง✨ -ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร(ธ) - ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีมงคลเหนือ(ธ) ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๐ - ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร(ธ) - ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ - ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนเจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร(ธ)(ชั่วคราว) - ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร(ธ) 🌈✨#สมณศักดิ์✨ -ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในราชทินนามเดิมที่ #พระครูจันทรวิสุทธิ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗ 🌈✨#ประวัติวัดศรีมงคลเหนือ✨ วัดศรีมงคลเหนือ ปัจจุบันมี พระครูจันทรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ล้วน จันทสาโร) เป็นเจ้าอาวาส เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดมุกดาหาร ที่ก่อตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง สร้างมานาน ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ ภายในวัดมีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่าง เช่น โบสถ์ วิหารหลวงพ่อองค์ดำ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พระธาตุทันใจ พระสังกัจน์จาย เป็นที่เคารพสักการะของชุมชนและนักท่องเที่ยว ภายในวัดสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงและสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ ๒ และฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน มีภูมิทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร 🌈✨#โอวาทธรรม✨ “...ภาวนา พุท โธ ให้ได้ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก อย่าขี้เกียจ ให้ได้ขันติอดทน ใช้ความเพียรพยายาม วิริยะอุตสาหะ ค่อยๆทำ ขี้เกียจก็ต้องทำ สะสมไปตามกำลังของตัวเอง...” “...เหตุดี ผลกะดี เหตุบ่ดี ผลกะบ่ดี ใจเฮานี้ละสำคัญ...” “...จน ดี มี ชั่ว กะตายนำกันเบิ่ด...” ❇️ #ละสังขาร ❇️ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร ละสังขารด้วยอาการสงบ(ติดเชื้อในกระแสเลือด) ที่ รพ.มุกดาหาร ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๒๑.๒๙ น. สิริอายุ ๙๓ ปี ๗๔ พรรษา *************🌟🌟🌟************* >>ที่มาข้อมูล : พระอาจารย์อุทิศ อาสโภ , พระครูสังฆวิสุทธิ์(ครูบาแจ๋ว) >>เรียบเรียง : ขันติบารมีธรรม ปรับปรุง : วีระยุทธ ป้อมหิน ๒๓ พ.ค. ๖๔

ประวัติและปฏิปทาพระครูสุนทรศีลขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง_ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

✨🌼ประวัติและปฏิปทา🌼✨ #พระครูสุนทรศีลขันธ์ (#หลวงปู่สิงห์ทอง_ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ๏💢 ชาติภูมิ “พระครูสุนทรศีลขันธ์” หรือ “หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร” มีนามเดิมว่า สิงห์ทอง ประมูลอรรถ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๘๗ ณ บ้านกลางใหญ่ ต.กลางใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบ่อง และนางอูบ ประมูลอรรถ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนโต มีรายชื่อตามลำดับดังนี้ (๑) หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร (๒) นางรั้ว ประมูลอรรถ (๓) นางทองดำ ประมูลอรรถ (แม่ชีทองดำ) ก่อนที่ท่านจะมาปฏิสนธิในครรภ์โยมมารดานั้น ในคืนหนึ่งโยมมารดานิมิตฝันว่า มีชายแก่คนหนึ่งเอางาช้างยาวใหญ่สีขาวบริสุทธิ์มามอบให้ แล้วสั่งกำชับว่า “งาช้างนี้เป็นมงคล ขอให้รักษาไว้ให้ดีเพื่อเป็นมรดกของเจ้า ห้ามไม่ให้ผู้ใดใครคนหนึ่งเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์อย่างเด็ดขาด” ไม่นานนักโยมมารดาของท่านก็ได้ตั้งครรภ์ และได้พยายามถนอมรักษาครรภ์เป็นอย่างดี จนครบทศมาส ๑๐ เดือนแล้วคลอดออกมา เมื่อถึงเวลาคลอดตามปกติของผู้มีบุญญาบารมี แต่โบราณว่าไว้จะผิดธรรมชาติ นั่นคือเวลาคลอดท่านเอาก้นหรือขาออกมาก่อน เป็นที่ลำบากของโยมมารดาอย่างยิ่ง เมื่อคลอดออกมาได้โยมมารดาเจ็บปวดอย่างหนักแทบขาดใจถึงกลับสลบไป ผู้เฒ่าผู้แก่ต้องเอาผ้าถุงมาพัดโบกให้จนฟื้นเป็นปกติ หมอตำแยได้ตัดสายรกสายสะดือ ล้างเช็ดตัวให้สะอาด เอาไปวางนอนในกระด้ง หลังจากนั้นโยมบิดา-โยมมารดาก็เลี้ยงดูด้วยความรักตลอดมา โดยมี “โยมป้าตาล” เป็นผู้อุปการะดูแลเปรียบเสมือนโยมมารดาอีกคนหนึ่ง เมื่อท่านอายุได้ ๒ ขวบโยมป้าตาลก็ตายจากไป โยมบิดา-โยมมารดาจึงได้เลี้ยงดูจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โยมบิดา-โยมมารดาได้อพยพย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านกุดแห่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (จ.ยโสธร ในปัจจุบัน) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ดี ๏💢 การบรรพชาและอุปสมบท ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่ออายุ ๑๙ ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสำราญนิเวศ (พระอารามหลวง) ต.บุ่ง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) โดยมี พระครูทัศนวิสุทธิ์ (พระมหาดุสิต เทวีโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ได้มาจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ณ วัดป่าสุนทราราม ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นเวลา ๑ ปี แล้วก็ได้ลาสิกขามาประกอบอาชีพเลี้ยงดูโยมบิดา-โยมมารดา และน้องสาวทั้งสอง เพราะโยมบิดาป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคหืด ครั้นเมื่อน้องสาวทั้งสองของท่านมีครอบครัว ท่านได้มอบสมบัติให้น้องๆ ไปทั้งหมด แล้วท่านก็ออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามคำสั่งของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน นิมิตก่อนที่หลวงปู่สิงห์ทองท่านจะตัดสินใจออกบวช มีความดังนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ คืนหนึ่งท่านได้ฝันไปว่า มีผู้เฒ่าผมขาวทั่วหัวถือฆ้อนกระบองเพชรมีหนาม ไล่ตามหมายจะเอาชีวิตท่าน ท่านก็วิ่งหนีตั้งแต่บ้านของท่านจนถึงนานายแปลง ห้วยหินลับ วิ่งไล่กันขึ้นไปบนเถียงนา ท่านก็กระโดดจากเถียงนาหนีไปหลบซ่อนที่กองฟาง ผู้เฒ่าคนนั้นหาไม่เจอจึงไปถามนายเผย คูณศรี เพื่อนของท่านว่า “แกเห็นเซียงสิงห์ทองวิ่งมาทางนี้ไหม” นายเผยตอบว่า “ไม่เห็น” ผู้เฒ่าคนนั้นจึงเดินไปอีกทาง ส่วนท่านพอผู้เฒ่าไปแล้วก็วิ่งหนีกลับบ้านด้วยความกลัว จนสะดุ้งตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกกลัวอยู่ เหนื่อยจนหายใจหอบ เมื่อตั้งสติได้ ท่านก็ได้สวดมนต์ไหว้พระ ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เมตตาพรหมวิหาร ๔ แล้วตั้งใจนั่งสมาธิ ตั้งแต่เวลาประมาณตีสองจนถึงเช้า พอสายท่านได้ไปกราบนมัสการเพื่อขอรดน้ำมนต์กับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น จากนั้นจึงได้พิจารณาถึงความตาย ว่าสัตว์ทั้งหลายหนีไม่พ้น ดังเพื่อนๆ หลายคนที่ได้ตายลงไป จึงมีความคิดที่จะออกบวช และในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้ฝันว่าตัวเองถึงแก่ความตาย ร่างถูกบรรจุลงโลงถูกหามจะนำไปเผาที่วัดป่าสุนทราราม มีผู้ชาย ๔-๕ คนหามไป ไม่มีพระมาสวดมาติกาบังสกุลเลย หามเวียนรอบกองฟอนครบสามรอบ ก็ยกโลงศพวางบนกองฟอนใกล้ต้นมะตูม วิญญาณของท่านออกจากร่างไปอยู่บนกิ่งต้นมะตูม แล้วมองดูร่างของท่านซึ่งกำลังถูกเผาไหม้ ท่านร้องตะโกนบอกว่า “สูเอากูมาเผา แต่กูไม่ร้อนดอก” แต่ไม่มีใครพูดตอบ ชายเหล่านั้นก็กลับบ้านไป ปล่อยให้ท่านอยู่เพียงคนเดียว ท่านจึงลงมาดูศพของท่านที่ถูกเผาจนหมด ไฟก็ดับมอดลง ในกองฟอนเหลือแต่เถ้ากับกระดูก จึงคิดตรองว่าจะทำอย่างไรดี ทันใดนั้นก็คิดว่าเราจะเอากระดูกมาปั้นเป็นรูปพระ จึงหาเอาครกกับสากมาบดตำให้ละเอียด เอาน้ำสะอาดมาผสม แล้วปั้นเป็นรูปพระ เมื่อปั้นเสร็จไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน คงต้องทิ้งลงกองฟอนอีกเป็นแน่ แต่แล้วท่านก็สะดุ้งตื่นจากฝัน เมื่อตั้งสติได้จึงแปลความฝันว่า เราคงตายจากเพศคฤหัสถ์แน่ คงได้อุปสมบทเร็ววันนี้เป็นแน่แท้ ครั้นมีอายุ ๒๖ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ณ อุโบสถวัดป่าสุนทราราม โดยมี พระครูภัทรคุณาธาร เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็อยู่ศึกษากับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน และเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ตลอดมา พระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต) วัดป่าโนนแสนคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ เขตวิสุงคามสีมาวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) จ.ยโสธร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีพระครูภัทรคุณาธาร (บุญ โกสโล ป.ธ.๔) วัดพรหมวิหาร ต.สวาท อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรศีลขันธ์ (พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่เนยท่านได้เข้ารับฟังธรรมจากพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ในขณะนั้น อยู่เป็นสม่ำเสมอและบ่อยๆ ๏ ประวัติความเป็นมาของวัดป่าสุนทราราม ครั้งในสมัย พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองท่าแขก หรือวัดบ้านกุดแห่ บ้านกุดแห่ ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร วัดเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ พระนักพัฒนา และพระนักก่อสร้าง ได้นำพาคณะศรัทธาญาติโยมและชาวบ้านทำบุญตามประเพณีจริงๆ เช่น เดือน ๓ เอาบุญข้าวจี่, เดือน ๔ เอาบุญพระเวสสันดรชาดก, เดือน ๕ ก็บุญสงกรานต์, เดือน ๖ บุญบั้งไฟหมื่นบั้งไฟแสน เป็นต้น แต่ก่อนใกล้จะถึงวันทำบุญ ได้มีการป่าวประกาศประชุมกันทำตูบ ทำปะรำสำหรับต้อนรับพระ ปัจจุบันใช้เต็นท์แทน ญาติโยมที่มาทำบุญใส่ฉลากมาเป็น ๖๐ กว่าหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านที่มาจะประกอบด้วยหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ พระเณรจะเดินทางมา บางวัดมีม้า พระจะขี่ม้ามา ญาติโยมหนุ่มสาวเดินตามหลังสนุกสนานร่าเริง พอไปถึงวัด เจ้าภาพจัดกันไว้เป็นคุ้มเป็นกลุ่ม คุ้มไหนรับบ้านไหนก็จะพาไปพักที่ตูบที่ประจำที่เตรียมไว้ ใครรับบ้านไหนจะตกลงกันในวันประชุมก็เป็นที่รับบ้านนั้น พอถึงเวลาแห่พระเวสก็จะไปรวมกัน มีกลองตุ้ม กลองหาง กลองเลง กลองกริ่ง มีวงระนาด ฆ้องวง มีหัวงิ้วหัวโขน เข้าขบวนแห่ สมัยนั้นถือเป็นของแปลกประหลาดมาก กลางคืนก็มีมหรสพ แต่ก่อนไต้กระบองไม่มีไฟฟ้า เครื่องเสียงไม่มี คนมาเที่ยวงานชมงาน ๑๐๐ กว่าหมู่บ้าน แออัดเต็มบ้านเต็มวัด คำว่าทะเลาะกันตีกันไม่มีเหมือนทุกวันนี้ มีแต่สนุกสนานร่าเริง คนหนุ่มสาวก็พูดเกี้ยวกันเป็นคำเว่าผญา แต่โบราณอาหารการกิน เลี้ยงกันเลี้ยงแขกที่มาเอาบุญอุดมสมบูรณ์ การทะเลาะวิวาทไม่มีเลย พระอาจารย์ในตอนนั้นท่านจะเป็นช่าง ทำอะไรเป็นหมด และให้ดีสมชื่อท่านด้วย ที่เห็นของเก่าที่ท่านทำไว้ก็ตู้เก็บคัมภีร์เทศนา ซึ่งจารึกด้วยตัวธรรมตัวขอมทั้งนั้นเลย ท่านมีม้าเป็นพาหนะ ท่านจะไปเทศนาบ้านกุดเชียงหมี บ้านไกลท่านจะขี่ม้า ญาติโยมก็เดินตามไป แต่ก่อนไม่มีรถเลย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมน้องชายได้เดินทางออกจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ ด้วยเกิดอยากไปเที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของดีหาวิชาความรู้เพิ่มเติม จึงเดินทางท่องเที่ยวขึ้นไปทางเหนือไปทาง จ.สกลนคร จ.นครพนม ด้วยคงเป็นบุญกุศลแต่ชาติปางก่อนหนุนส่ง จึงจำเพาะให้การเดินทางไปมืดค่ำลงที่บ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่งในขณะนั้นที่วัดบ้านสามผง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พักปฏิบัติธรรมอบรมญาติโยมอยู่ที่นั้นพอดี เมื่อพระอาจารย์ดีเข้าไปนมัสการกราบไหว้ ท่านพระอาจารย์มั่นได้ทักท้วงทักทายได้ถูกต้องเหมือนตาเห็น เป็นอัศจรรย์มาก พระอาจารย์ดีเข้าใจทันทีว่าท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ สำเร็จแล้ว ท่านเป็นผู้วิเศษจริงๆ เมื่อมาพบของดีเข้าแล้วจึงขอถวายตัวเป็นลูกศิษย์ทันที ท่านพระอาจารย์มั่นก็แสดงธรรมให้ฟัง ชี้ทางประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้บวชญัตติเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตใหม่อีกครั้ง ที่วัดสร่างโศก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (อ.เมือง จ.ยโสธร ในปัจจุบัน) ซึ่งปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง) วัดธรรมยุตแห่งแรกใน จ.ยโสธร เมื่อบวชแล้วก็ได้ออกเผยแผ่ธรรมพระกรรมฐาน เป็นศิษย์เอกในสมัยบุกเบิกนั้นอย่างกว้างขวาง ท่านเดินทางกลับบ้านกุดแห่ หลังจากฝึกข้อวัตรปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น ๑ ปี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ไปพักปักกลดอยู่ที่ดอนปู่ตา รื้อหอปู่ตาทิ้งปลูกกุฏิชั่วคราวขึ้น ปฏิบัติธรรมสั่งสอนประชาชนอยู่ ๑ เดือน ให้เลิกนับถือปู่ตา ให้เลิกนับถือผีฟ้า ให้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด ครั้นต่อมา พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พิจารณาเห็นว่าสถานที่ของวัดไม่เหมาะสมและไม่สัปปายะ จึงได้ย้ายจากดอนปู่ตาไปจับจองเอาดอนคอกวัวของ พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ซึ่งเป็นผู้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้เพื่อสร้างวัด พระอาจารย์ดีจึงสั่งคณะญาติโยมรื้อศาลากุฏิจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ เอาไปปลูกสร้างไว้ที่วัดใหม่ดอนคอกวัวทั้งหมด วัดศรีบุญเรืองท่าแขกจึงเป็นวัดร้างแต่นั้นมา ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดป่าสุนทราราม ดอนปู่ตาก็เป็นบ้านดอนสวรรค์ทุกวันนี้ พระอาจารย์ดีท่านจะไม่ค่อยอยู่ประจำ แต่ไปๆ มาๆ เพื่อจัดหาทุนทรัพย์มาก่อสร้างเสนาสนะ ที่ดินทั้งหมดที่พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ถวายมีทั้งหมด ๖๐ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา สำหรับความเป็นมาของชื่อวัดนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอธิการอินทร์ สุนทโร ซึ่งเป็นบิดาของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน อุปสมบทมาหลายพรรษาแล้ว จึงนำเรื่องเสนอพระเถระ ต่อมาพระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จึงได้ตั้งชื่อวัดให้คล้ายกับนามฉายาของเจ้าอาวาสรูปแรก รูปปฐมฤกษ์ ว่า “วัดสุนทราราม” สภาพเป็นป่า เป็นวัดป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สายปฏิบัติกรรมฐาน เลยเพิ่มป่าเข้าไปแล้วเรียกว่า “วัดป่าสุนทราราม” พระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้พัฒนาก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ฯลฯ วัดป่าสุนทรารามมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาไม่เคยขาดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ขอบคุณข้อมูููลจาก Facebook.วีระยุทธ ป้อมหิน กลุ่มศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

24/6/67

สามสิงห์ ถวายเงิน 20 ล้านบาท หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ณ.วัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

สามสิงห์ ถวายเงินเรียบร้อยครับ 20ล้าน (และจะมีเพิ่มอีก) อนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านด้วยนะครับ โปรดติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ สามสิงห์ อมูเลท Official เหรียญมีชีวิต ขอให้ทุกคน ได้เป็น #ยอดเศรษฐี สมชื่อรุ่น บรรยากาศผู้สร้าง พิธีพลีมวลสาร รุ่นยอดเศรษฐี
ขอบคุณข้อมูลภาพจากFB.Mark Bmc /กลุ่มหลวงปู่ศิลา สิริจันโท รุ่นยอดเศรษฐี

7/6/67

“เศรษฐีโรงทาน” ทำบุญตั้งโรงทานวัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

“เศรษฐีโรงทาน” บุญสำเร็จแล้ว สาธุ ทำบุญตั้งโรงทานน้ำเนื่องในงานพิธีฉลองสมณศักดิ์ถวายแด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) และฉลองตราตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน ในวันศุกร์ ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ณ วัดพระธาตุหมื่นหิน ต.กุดปลาค้าว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ขอบพระคุณผู้ร่วมเดินทางสายบุญ พี่นุ่น MooNoon Jutamas น้องแบงค์ Kritsada Chamroensarn อีส Siddhabhat Charoensuk พี่ชาย โคขุนสมเด็จ รับจัดโต๊ะจีน พี่แนค วิ สุท ธิ์ พี่หลิน แม่หลิน พ่อติ๋งลี่ แม่ Pat Pat พี่จิ๋ม สุภาวดี กราบไกรแก้ว หมวย แม่หญิง จรรลหมวย พี่จิ๋ว Amornrat Kasawid พี่กวางKwang KiKi Kong Amnuay หยก สิริพักตร์ เวียงวะลัย พี่จอย ISirinthanan Sirisuwannapong พี่ยอด จาน ยอด พี่แพน Pan Khumchap พี่บาส Phanuzz-cn Siridol พี่ทัช ทัช ร้อยเอ็ด พี่ดีน Deanii Sumnaphan พี่อ้อ Pii Dokaor พี่แต้ว Taewty Poobuntong โบนัส วสุรัช เหล่าลือชา ***************************************** ขอบคุณข้อมูลภากจากน้องหญิง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ เชิญเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรพระราชทาน ถวายแด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท ป.ธ.๖)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ เชิญเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรพระราชทาน ถวายแด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท ป.ธ.๖) ในโอกาสพิธีฉลองสมณศักดิ์ ฉลองการตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน และฉลองตราตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน ในวันศุกร์ ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ณ วัดพระธาตุหมื่นหิน ต.กุดปลาค้าว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ เครดิต : เพจพัดยศสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย

5/6/67

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรปุระ เชิญเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรพระราชทาน ถวายแด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรปุระ เชิญเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรพระราชทาน ถวายแด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรปุระ เชิญเครื่องไทยธรรมและผ้าไตรพระราชทาน ถวายแด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) ในโอกาสพิธีฉลองสมณศักดิ์ ฉลองการตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน และฉลองตราตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน ในวันศุกร์ ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ณ วัดพระธาตุหมื่นหิน ต.กุดปลาค้าว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ***ขอบคุณข้อมูล...เพจหลวงปู่ศิลา สิริจันโท

3/6/67

ประวัติหลวงปู่บุญมา กตปุญโญ (หลวงปู่เจ) ประธานสงฆ์วัดป่าวิเวกธรรม ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

ประวัติหลวงปู่บุญมา กตปุญโญ (หลวงปู่เจ) ประธานสงฆ์วัดป่าวิเวกธรรม ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ๑.ชาติภูมิ เดิมชื่อ บุญมา แก้วปัญญา เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ บ้านเลขที่ ๙๗ หมู่ ๔ บ้านพยอม ตำบลดินดำ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด บิดาชื่อ นายมี แก้วปัญญา มารดาชื่อ นางลี แก้วปัญญา อุปนิสัย ฉันอาหารเจ ละเว้นการเบียดเบียน มีเมตตาธรรมและความเพียรเป็นเลิศ ๒.เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ครั้งที่ ๑ หลวงปู่ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร จนอายุครบอุปสมบทท่านก็ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระในสังกัดมหานิกาย ที่วัดบ้านเกิด หลวงปู่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งปริยัติและปฏิเวธ อักษรธรรม การเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ จากท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้น จนแตกฉาน ท่านกล่าวว่า “ท่านเองเป็นคนเรียนหนังสือเก่ง และเป็นคนว่านอนสอนง่าย” เจ้าอาวาสที่เป็นพระอาจารย์ของท่านมักยกย่องและชื่นชมอยู่เสมอ แต่ด้วยคนอีสานสมัยก่อน ลำบาก ยากจน บิดา-มารดาของท่าน จึงขอร้องให้ท่านออกมาครองเพศเป็นฆราวาส เพื่อจะได้เป็นกำลังหลักหาเลี้ยงครอบครัว ท่านเองเลยจำใจและตัดสินใจลาสิกขาออกมาครองเพศเป็นฆราวาส เพื่อเลี้ยงดูพ่อ-แม่ และครอบครัว ท่านยังกล่าวว่า “ในการครองเพศเป็นบรรพชิตของท่านนั้นก็ยังคงถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด มีงานปฏิบัติธรรมที่ไหนถ้าท่านทราบข่าวท่านก็ไปร่วมตลอดเกือบทุกงาน และหาเลี้ยงครอบครัวด้วยซื่อสัตย์สุจริต ครองตน ครองเรือนด้วยศีลธรรม” เป็นที่นับหน้าถือตาของชาวบ้าน จนชาวบ้านขนานนามท่านว่า ”ญาพ่อธรรมเจ” ๓.เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ครั้งที่ 2 เมื่อต่อมาอีกหลายสิบปีท่านเลยตัดสินใจครั้งใหญ่ของชีวิต ท่านสละทุกอย่างทางโลก แล้วเข้าอุปสมบท ณ วัดอรุณรังษี ตำบลบางลูกเสือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สังกัด มหานิกาย เมื่อวันที่ ๑ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๙.๓๐ น. โดยมี พระครูอรุณวิริยกิจ (หลวงพ่อสายตาบ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เทือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ประสิทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานและสรรพวิชาต่างๆเบื้องต้นกับพระครูอรุณวิริยกิจ(หลวงพ่อสายตาบ) ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์อยู่สักระยะหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่งก็ได้มีพระรูปหนึ่งธุดงค์เดินทางมาพักแรมที่วัดอรุณรังษี ท่านเลยเข้าไปสนทนาด้วยจึงได้ทราบว่าพระรูปนี้เดินทางมาจากวัดเขาสมโภชน์ซึ่งได้ไปศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานเปิดโลกกับ”หลวงพ่อคง”และเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อคงให้ท่านฟัง เมื่อท่านได้ฟังอย่างนั้นจึงเกิดความสนใจและอยากไปศึกษา”กรรมฐานเปิดโลก”ที่วัดเขาสมโภชน์ ท่านจึงกราบลา”หลวงพ่อสายตาบ”และได้ออกเดินทางจากวัดอรุณรังสี เพื่อไปศึกษาธรรมกรรมฐานเพิ่มเติมที่”สำนักกรรมฐานเปิดโลก ”หลวงพ่อคง จตฺตมโล” ผู้มีฉายา (พระอรหันต์ร่างทอง) แห่งวัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี พอไปถึงวัดเขาสมโภชน์ ท่านก็ได้เขาไปกราบฝากกายถวายชีวิตเป็นลูกศิษย์กับ”หลวงพ่อคง” ในเบื้องต้นหลวงพ่อคงก็ได้แนะนำหลักการปฏิบัติกรรมฐานเปิดโลกให้ท่านได้ฟังอย่างละเอียดและให้ท่านนำกลับไปปฏิบัติ ท่านเล่าว่า ”การได้เข้าไปปฏิบัติในวัดเขาสมโภชน์สมัยนั้นท่านรีบเร่งทำความเพียรจนเกิดความรู้ภายในต่างๆก้าวหน้าจากเดิมไปมาก หากติดขัดอะไรท่านก็เข้าไปถามหลวงพ่อคงท่านก็แก้ให้จนสามารถปฏิบัติไปได้โดยลำดับ ในสมัยนั้นท่านมีหมู่คณะที่ศึกษาอยู่ร่วมกันหลายรูปพอสมควร” เมื่อท่านอยู่ที่วัดเขาสมโภชน์สักระยะหนึ่ง เมื่อได้หลักการปฏิบัติกรรมฐานแล้วประกอบกับหลวงพ่อคงท่านได้มรณะภาพลง ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทางธุดงค์ปลีกวิเวกไปตามป่าเขาลำเนาไพรไปยังพื้นที่ต่างๆ ลงไปทางภาคใต้ถึงอำเภอสวี จังหวัดชุมพร กลับขึ้นมาทางเหนือถึงจังหวัดเพรชบูรณ์ ก่อนเดินทางกลับมาภาคอีสานอีกครั้งเพื่อเดินทางสู่บ้านเกิดของท่าน ท่านได้กลับไปสร้างวัดป่าแห่งหนึ่งใกล้บ้านเกิดของท่านคือวัดป่าสิบเก้าบ้านบึงโดนในช่วงระยะเวลานี้ท่านก็ยังออกธุดงค์ไปๆมาๆอีกหลายสถานที่ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสได้ไปสนทนาธรรมและขอสรรพวิชาพระคาถาต่างๆ กับพระเทพวิทยาคม ”หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” แห่งวัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา และได้พักจำวัตรอยู่วัดบ้านไร่อยู่หลายครั้ง เมื่อเดินทางออกจากวัดบ้านไร่ท่านก็จะแวะไปสนทนาธรรมและพักกับ “หลวงพ่อทอง ชินวํโส” วัดป่าหิมพานต์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา(สหธรรมของท่าน) ก่อนที่จะตัดสินใจเดินทางกลับมาจำพรรษาประจำอยู่ที่วัดป่าวิเวกธรรม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยวัดป่าวิเวกธรรมนี้ท่านก็ได้เป็นหนึ่งในผู้มาร่วมบุกเบิกโคกป่าช้า ๗ หมู่บ้าน ร่วมพลิกแผ่นดินแผ่นป่าให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาร่วมกับ“พระอาจารย์ยุทธ จันทสาโร”ผู้เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทอง ชินวํโส ผู้เป็นสหธรรมของท่านเอง ต่อมาวันหนึ่งหลวงปู่เจท่านได้นิมิตเห็นถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำแห่งนี้มีพญานาค ๒ ตน เฝ้ารักษาอยู่ พญานาค ๒ ตนนี้ได้มากราบนิมนต์ท่านให้ไปจำพรรษา ณ สถานที่ดังกล่าว (ความเชื่อส่วนบุคคล)ท่านจึงออกเดินธุดงค์อีกครั้งตามนิมิต และในที่สุดก็ไปเจอถ้ำนี้อยู่ที่เขาลูกหนึ่ง ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด และท่านจึงจำพรรษาอยู่นั่นหลายพรรษา หลวงปู่ได้เล่าว่า ”ที่ถ้ำพญานาคแห่งนี้สมัยนั้นลำบากมากระยะทางจากถ้ำลงไปยังหมู่บ้าน เดินลงไปรับเพื่อไปรับบิณฑบาตรมาฉันในแต่ละวัน ระยะทางไปกลับ ๑๐ กิโล ใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงในแต่ละวัน หลวงปู่ท่านปฏิบัติอย่างเอาเป็นเอาตาย เร่งทำความเพียรอย่างมาก เดินจงกรม นั่งภาวนา เจริญจิตเมตตาภาวนาทุกวัน เจริญสติ เจริญปัญญา เพื่อชำระกิเลสน้อยใหญ่ภายในใจของตน ท่านว่า ”ท่านได้ธรรมมาเป็นเครื่องครองใจของตน ณ ถ้ำแห่งนี้ ” หลวงปู่นับว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่จำพรรษาและได้บุกเบิกนำความเจริญเข้าไปยังสถานที่แห่งนี้ ก่อนที่จะกลับลงมาจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรมอีกครั้งตามคำอารธนานิมนต์ของ พระอาจารย์ยุทธ จันทสาโร พร้อมทายกทายิกวัดป่าวิเวกธรรม ด้วยเหตุที่ว่าหลวงปู่ต้องกลับมาเป็นกำลังหลักในการสร้างวัดป่าวิเวกธรรมแห่งนี้เพราะท่านเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนในเขตนั้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับหลวงปู่ท่านก็ชราภาพมากแล้วตามอายุสังขาร ท่านจะได้มีลูกพระ ลูกเณร ญาติโยมค่อยดูแลอุปัฏฐากกอย่างใกล้ชิด หลวงปู่ท่านก็ตอบรับกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน วัดป่าวิเวกธรรม เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพระ เณร ร่วมจำพรรษานับ 10 รูป ในทุกๆปีในช่วงเดือน มกราคมของทุกปีวัดจะมีการจัดโครงการเข้าปริวาสกรรม และปฏิบัติธรรม ออกเดินธุดงค์ธรรมะสัญจรไปยังสถานที่สำคัญต่างๆเช่น พระธาตุพนม พระธาตุนาดูน พระธาตุยาคู เทือกเขาภูพาน มีพระสงฆ์ สามเณรและพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมปฏิบัติธรรมไม่ต่ำกว่าปีละ 200 คน และในช่วงเดือน เมษายน ของทุกปีก็ทางวัดก็จะจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ มีนักเรียน นักศึกษา พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก หลวงปู่บุญมา กตปุญโญ หรือ (หลวงปู่เจ) ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มุ่งเน้นเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเป็นพระที่มักน้อย พูดน้อย ชอบความวิเวก สันโดษ มีเมตตาเป็นเลิศ มีความเพียรเป็นเลิศ ละเว้นการเบียดเบียน ประพฤติตนอยู่ในพระธรรมวินัย รักษาข้อวัตรปฏิบัติ รักษาพระธรรมวินัย เป็นพระผู้ปฏิบัติตนตามรอยแห่งองค์พระศาสดาและเป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง ๔.การจัดสร้างวัตถุมงคล ในปี ๒๕๖๐ ทางคณะกรรมการวัดป่าวิเวกธรรม ได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกกฐินสามัคคีและนำออกมาให้ญาติโยมได้บูชาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาปัจจัยก้อนแรกในการก่อสร้างอุโบสถ และหลังจากปี ๒๕๖๐เป็นต้นมาทางวัดก็ได้อนุญาตให้คณะบุคคลต่างๆได้เข้ามาจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่เรื่อยมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาปัจจัยสมทบทุนในการก่อสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จเป็นถาวรวัตถุคู่พระพุทธศาสนาสืบไป เรียบเรียง/เผยแผ่โดยนายภานุพล เทพดู่ (ครูจ๊อด) พร้อมคณะศิษย์ หลวงปู่บุญมา กตปุญโญ (หลวงปู่เจ) ***ขอบคุณข้อมูลประวัติ/รูปภาพ***** กลุ่มหลวงปู่เจ(บุญมา) กตปุญโญ

ประวัติ หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดบ้านหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

ประวัติ หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดบ้านหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ปัจจุบัน (เม.ย.2562) ท่านอายุ 93 ปี 73 พรรษา . โดยสังเขป นามเดิมชื่อนายขำ ธรรมดา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2471 ณ บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาชือก จ.มหาสารคาม เป็นบุตรของ นางเข็ม และนายโด่ ธรรมดา มีพี่น้องร่วมมาดารทั้งหมด 7 คน บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี (พ.ศ.2484) โดยมี "เจ้าอธิการเนาว์ ยโสธโร" วัดบ้านหนองแดงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ (พ.ศ.2492) จึงเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ โดยมีหลวงปู่รอด พรมสโร วัดหนองกุง เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเนาว์ วัดหนองแดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุบิน วัดหนองม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จะว่าไปแล้ว "หลวงปู่ขำ เกสาโร" ท่านเป็นทั้งศิษย์ใกล้ชิดและเครือญาติกันกับ "หลวงปู่เนาว์ ยโสธโร" อดีตพระเกจิอาจารย์ดังแห่งลำห้วยลำพังซูเขตติดต่อชายแดนของสองจังหวัด (มหาสารคาม-บุรีรัมย์) ซึ่งในสมัยนั้น "หลวงปู่เนาว์" ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ไม่จะเป็นด้านสรรพวิชาอาคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน อยู่ยง คงกระพัน หรือแม้แต่การรักษาผู้ป่วยวิกลจริตจิตฟั่นเฟือง หรือแถวๆบ้านผมเรียกว่า (ปั่วบ้า) ได้ชะงักนักแล อีกทั้งยังเป็นที่พึงทางจิตใจของสานุศิษย์ทั้งสองฝั่งลำห้วยลำพังซู . ครั้งอดีตเมื่อโยมบิดาท่านเสียชีวิตลงขณะที่ท่านยังเป็นเด็กอยู่ "หลวงปู่เนาว์" จึงเก็บเด็กชายขำมาเลี้ยงและให้บรรพชาเป็นสามเณรในกาลต่อมา หลังจากที่อุปสมบทเป็นพระภิกษแล้วก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิดอยู่ปรนบัติรับใช้ "หลวงปู่เนาว์" พร้อมทั้งศึกษาพระธรรมวินัยตลดอจนถึงสรรพวิชาอาคมแขนงต่างๆจนมีความรู้ความสามารถขั้นอ่านออกเขียนได้จึงได้กราบลา "หลวงปู่เนาว์" เพื่อออกเดินธุดงค์เพื่อเสริมสร้างบารมีธรรมไปยังสถานที่ต่างๆ อาทิ อำเภอพิมาย จ.นครราชสีมา (พ.ศ.2489-2500) เขตอำเภอ บางมูลนาค จ.พิจิตร ( พ.ศ.2501-03) และช่วงนี้เองท่างจึงมีโอกาสเข้ากราบนมัสการและฝากตัวเป็นศิษย์พระเถระชื่อดังรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตรนามว่า "หลวงปู่เขียน" แห่งวัดถ้ำขุนเณร ช่วงนั้นท่านจำพรรษาที่วัดเกาะแก้วและได้ไปมาหาสู่ "หลวงปู่เขียน" เป็นระยะเวลานานกว่า 3 พรรษาจึงโอกาสได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติต่างๆตามแนวครูบาอาจารย์สั่งสอนจนเป็นที่พึ่งพอใจ ท่านจึงกราบลาอาจารย์เพื่อออกธุดงค์ไปยังจังวัดเชียงใหม่ (จำพรรษาที่ อ.พร้าว) เป็นระยะเวลา 2 พรรษา ช่วงนั้นท่ายยังได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการและสนทนาธรรมกับ "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ" วัดดอนแม่ปั๋ง พระอรหันต์แห่งยุคที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ต่อมาท่านได้ธุดงค์กลับมายังทางภาคอีสานโดยได้อยู่จำพรรษาที่วัดโนนสว่าง อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี เป็นระยะเวลากว่า 7 พรรษา เหตุที่ท่านได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่บ้านเกิดเพราะช่วงนั้น "หลวงปู่เนาว์" ซึ่งเป็นบูรพาจารย์องค์แรงของท่าน อาพาธหนักจึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์ท่านกับมาเมื่อราวปี พ.ศ.2512-13 .... แม้ด้วยวัย 88 ปี ท่านก็ยังเมตตาเล่าอดีตให้ฟังด้วยความปีติ ปัจจุบันสุขภาพท่านยังแข็งแรงโดยวิสัยแล้วท่านจะเป็นคนขยัน ปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ยามว่างท่านชอบดายหญ้า กวดเศษขยะใบไม้และทบทวนพระธรรมวินัยอยู่เป็นนิจ ...ลำดับสมณศักดิ์ เมื่อปี 2536 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ (พระครูโสภณสราธิการ) ...และเมื่อปี 2557 ได้รับการเลื่อนสมณะเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท (ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลชั้นโท) ในราชทินนามเดิม ...หน้าที่ทางการปรกครอง ได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดหนองแดงเมื่อปี 2517 และเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อปี 2529 ปัจจุบัน "หลวงปู่ขำ เกสาโร" ถือได้ว่าท่านเป็นพระมหาเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม เป็นเถระทรงศีลบริสุทธิ์ สมถะ เรียบง่าย เข้าหาสะดวกเมตตาศิษย์ทุกชนชั้น ส่วนในด้านวัตถุมงคล (เหรียญ) รุ่นแรก คณะศิษย์จัดสร้างถวายเมื่อปี 2545 (เจริญพร) มี 3 เนื้อ เงิน-ทองแดง-เหลือง วัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานทอดถวายผ้าและกฐิน ปัจจุบันต่างก็เป็นที่แสวงหาในหมู่ลูกศิษย์และผู้ที่เคารพศรัทธาอย่างกว้างขวาง . บันทึกเมื่อ 13 มิถุนายน 2558 โดย อ.ศิลาอาสน์ กราบนมัสการหลวงปู่ด้วยเศียรกล้า ***ขอบคุณข้อมูล/ภาพจากกลุมศิษย์หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดบ้านหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

2/6/67

ประวัติ พระวชิรญาณวิศิษฏ์ วิ. ( พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปญฺโญ )

ประวัติ พระวชิรญาณวิศิษฏ์ วิ. หรือ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปญฺโญ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่บ้านเหล่าโคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เมื่ออายุ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถ วัดสามัคคีธรรม อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ หลังอุปสมบท จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดบูรพา เทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และออกเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน ต่อมาไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจาก หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครพนม และภาคอีสาน โดยหลวงปู่คำพันธ์ถ่ายทอดวิชา ให้จนหมดสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวใจคาถา 108 วิธีการตั้งธาตุหนุนธาตุเสริมธาตุ พระคาถาปฐวีธาตุ และเคล็ดปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายท่าน อาทิ หลวงปู่พรหม วัดเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และศึกษาวิชาตะกรุดกับ หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร วัดศรีสุข จ.มหาสารคาม เป็นต้น หลังกลับมาจำพรรษาอยู่ วัดบูรพาเทพนิมิต จ.กาฬสินธุ์ จนถึงปี พ.ศ.2549 ญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมบริจาคที่ดินบริเวณ บ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ สำหรับสร้างวัด จากนั้นจึงร่วมแรงร่วมใจ พัฒนาที่รกร้างว่างเปล่าผืนนี้จนกลายสภาพเป็นวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน ************************************************* ขอบคุณรูปภาพจาก...กลุ่มพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ สายตรงวัตถุมงคล ขอบคุณข้อมูลประวัติจาก..Sanook Choice

ประวัติ "หลวงปู่เวิน คุเณสโก"วัดบูรพาโคกเครือ คณาจารย์ดังสายกรรมฐานเมืองกาฬสินธุ์ ศิษย์ลพ.วิริยังค์/ลป.ฝั้น/ลพ.สมชาย/ลป.หา

ประวัติ "หลวงปู่เวิน คุเณสโก"วัดบูรพาโคกเครือ คณาจารย์ดังสายกรรมฐานเมืองกาฬสินธุ์ ศิษย์ลพ.วิริยังค์/ลป.ฝั้น/ลพ.สมชาย/ลป.หา
ประวัติ "หลวงปู่เวิน คุเณสโก"วัดบูรพาโคกเครือ คณาจารย์ดังสายกรรมฐานเมืองกาฬสินธุ์ ศิษย์ลพ.วิริยังค์/ลป.ฝั้น/ลพ.สมชาย/ลป.หา พระครูโสภณวินัยวัฒน์ หรือ"หลวงปู่เวิน คุเณสโก" อายุ 78 ปี 58 พรรษา เจ้าอาวาสวัดบูรพาโคกเครือ ต.อุ่มเม่า อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ พระเกจิศิษย์สายกรรมฐานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมีนามเดิมว่า "เวิน ภูผาสุข" เกิดเมื่อวันพุธ ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา) ณ บ้านโคกเครือ เลขที่ ๑๔ หมู่ที่ ๓ ต.อุ่มเม่า อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ โยมบิดาชื่อ "ใคร" โยมมารดาชื่อ "อ้วน" มีบุตร-ธิดา ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง ๗ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๒ คน การศึกษาเบื้องต้น จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนโคกศรีวิทยายน ต.อุ่มเม่า อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐ ในปีพ.ศ.๒๕๐๘ เข้าอุปสมบทเมื่อ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ณ วัดกลางสีมาราม ต.อุ่มเม่า (ปัจจุบันเป็นต.นาดี) อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ โดยมี พระครูศีลสารโสภิต (สี โสภิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆรักษ์ (เฉื่อย ญาณวโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูปลัดสวัสดิ์ โชติปัญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ การศึกษาทางพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๐๘ สอบไล่ได้นักธรรม ชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๑๐ สอบไล่ได้นักธรรม ชั้นโท พ.ศ. ๒๕๑๓ สอบไล่ได้นักธรรม ชั้นเอก งานการปกครอง พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นเจ้าอาวาสบูรพาโคกเครือ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นเจ้าคณะตำบลอุ่มเม่า (ธ) พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอยางตลาด (ธ) พ.ศ.๒๕๕๕ เป็นเจ้าคณะอำเภอยางตลาด (ธ) สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี ที่ "พระครูโสภณวินัยวัฒน์" พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอกที่ "พระครูโสภณวินัยวัฒน์ งานการศึกษา พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นครูพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบูรพาโคกเครือ พ.ศ.๒๕๑๙ จบหลักสูตรการศึกษาพิเศษจากโรงเรียนพระสังฆาธิการชั้นสูงวัดบวรนิเวศวิหาร กทม. พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นครูสอนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบูรพาโคกเครือ(ต่อมาได้เปลื่ยนชื่อเป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์) พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นผู้อำนวยการศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบูรพาโคกเครือ งานการเผยแผ่ พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นพระธรรมทูต ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.๒๕๒๘ ศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรมในต่างเทศ คือ ประเทศอินเดียและเนปาล พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นพระธรรมทูตพิเศษ ไปเผยแผ่ธรรมะและศึกษาดูงานด้านรักษาสภาพแวดล้อมที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา รางวัลที่ได้รับ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา (เสมาธรรมจักร) จากกรมการศาสนา,พุทธคุณูปการ จากสภาผู้แทนราษฎร หลวงปู่เวินท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาด้านกรรมฐานและวิชาอาคมจากพระเกจิคณาจารย์ดังหลายท่าน โดยมีหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน ***************************************** ขอบคุณข้อมูล/ภาพ Cr. ชนะวุธ อุทโท กลุมหลวงปู่เวิน คุเณสโก

ขอเชิญร่วมงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอร่องคำ ณ วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

ขอเชิญร่วมงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอร่องคำ ณ วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ ในวันอาทิตย์ ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ (ภาคเช้า) กำหนดการ เวลา ๐๗.๐๐ น. พระสงฆ์~สามเณร ออกรับบิณฑบาต เวลา ๐๗.๓๐ น. ถวายภัตตาหาร เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะสงฆ์และบุคลากรพร้อมกัน ณ มณฑลพิธีวางศิลาฤกษ์ เวลา ๑๐.๓๐ น. ถวายเครื่องไทยธรรมกัปปิยภัณฑ์ พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธีฯ. เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล สามารถร่วมบุญได้ที่ : ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี : 020-1-45649-396 ชื่อบัญชี : พระอุดล อัคคธัมโม •หมายเหตุ• : อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมะสม **ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จากกลุ่มศิษย์หลวงพ่ออุดล อัคคะัมโม

งานเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๕๐ ปี หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๕๐ ปี หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ #ขอเชิญร่วมงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอร่องคำ ณ วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ ในวันอาทิตย์ ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ #กำหนดการ เวลา ๐๗.๐๐ น. พระสงฆ์~สามเณร ออกรับบิณฑบาต เวลา ๐๗.๓๐ น. ถวายภัตตาหาร เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะสงฆ์และบุคลากรพร้อมกัน ณ มณฑลพิธีวางศิลาฤกษ์ เวลา ๑๐.๓๐ น. ถวายเครื่องไทยธรรมกัปปิยภัณฑ์ พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธีฯ. สามารถร่วมบุญได้ที่ : ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี : 020-1-45649-396 ชื่อบัญชี : พระอุดล อัคคธัมโม •หมายเหตุ• : อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพกราฟฟิกกลุม หลวงพ่ออุดล อคฺคธมฺโม วัดป่าดงเมือง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ โดย.อาจารยฺลิ้งค์

1/6/67

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่หนูอินทร์ กิตติสาโร วัดป่าพุทธมงคล ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

ประวัติ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท พระเกจิแห่งเมืองน้ำดำ วัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

ประวัติ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท พระเกจิแห่งเมืองน้ำดำ วัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์
ประวัติหลวงปู่ศิลา สิริจันโท หลวงปู่ศิลา สิริจันโท หรือศิลา นิลจันทร์ เกิดวันที่ 14 ตุลาคม 2488 ขึ้น 8ค่ำ เดือน11 ปีระกา ณ บ้านเบิด ต.เบิด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เป็นบุตรลำดับที่ 4 ของนายแก่น นางน้อย นิลจันทร์ ประกอบอาชีพ ทำนา ในปี 2488 (ปีเกิด) บิดามารดา ได้อพยพหนีความแห้งแล้ง ทุรกันดาร มาอยู่ บ.ส้อง ต.ธาตุ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ต่อมาในปี 2494 ได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่บ้านเกิดมารดา คือ บ. ธาตุประทับ (บ. ยางกระธาตุ) อ. เชียงขวัญ จ. ร้อยเอ็ด พ.ศ.2500 – 2515 จำพรรษาอยู่วัดบูรพาภิราม จ. ร้อยเอ็ด ⁃ พ.ศ.2500 (กึ่งพุทธกาล) อายุ 12 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดธาตุประทับ (มหานิกาย) มีพระอุปัชฌาย์(พิมพ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ติดตามครูบาอาจารย์ ออกร่วมคณะธุดงค์ ไปนมัสการพระธาตุพนม ระหว่างเดินธุดงค์ มีโอกาสอุปฐากพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสี รูปสำคัญในสายพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต คือพระครูสัลขันธ์สังวรณ์ (อ่อนสี สุเมโธ)ที่ จ. มุกดาหาร และได้รับคำสอน ผญาธรรม (คำสอนอิสาน) จากพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กันโตภาโส) อดีตเจ้าอาวาสพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ⁃ พ.ศ.2500 อายุ 12 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ⁃ พ.ศ.2501 อายุ 13 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท (เอกสารหาย) ⁃ พ.ศ.2503 อายุ 15 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ⁃ พ.ศ.2506 อายุ 18 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเปรียญสามประโยค ⁃ พ.ศ.2507 อายุ 19 ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเปรียญธรรมสี่ประโยค ⁃ พ.ศ.2509 อายุย่าง 21 ปี อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดบูรพาภิราม (มหานิกาย) อ. เมือง จ.ร้อยเอ็ด มีท่านเจ้าคุณพระสิริวุฒิเมธี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ⁃ พ.ศ.2510 เป็นครูสอนปริยัติธรรม วัดบูรพาภิราม ⁃ พ.ศ.2510 อายุ 21ปี พรรษา1 สอบไล่ได้เปรียญธรรมห้าประโยค ⁃ พ.ศ.2515 อายุ 26 ปี พรรษา6 สอบไล่ได้เปรียญธรรมหกประโยค ⁃ ในปี 2516 นี้เอง ท่านเจ้าคุณพระสิริวุฒิเมธี มีปรารภจะให้พระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น)ไปดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหนองพอก โดยให้พระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น) ไปอยู่วัดนิคมคณาราม เพื่อสอนพระปริยัติธรรม เมื่อพระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น) ทราบปรารภของพระมหาเถระผู้ใหญ่ จึงหาทางเลี่ยงปลีกวิเวกไปอยู่จำพรรษาที่วัดหนองดู่ บ้านหนองดู่ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ไปเป็นครูสอนปริยัติธรรมวัดหนองดู่นี้เอง ใกล้กับวัดสันติวิหาร อันมีพระอาจารย์สมาน ธัมมรักขิตโต เป็นเจ้าอาวาส ความวิริยะอุตสาหะของพระมหาศิลา สิริจันโท (ขณะนั้น) ตั้งแต่ช่วงสามเณรถึง พ.ศ.2516 นี้ ตามธรรมเนียมการศึกษานอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังมุ่งศึกษาตามขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมแบบพระสงฆ์สามเณรในภาคอีสานคืออักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย (อักษรโบราณ) เพื่อศึกษามูลกัจจายน์ให้แตกฉาน ความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม สรรพวิชาอาคม ยารักษาโรค โหราศาสตร์ล้วนถูกบันทึก ไว้ในใบลานทั้งสิ้น หลวงปู่ศิลา สิริจินโท มีความแตกฉาน มูลกิจจายน์ ประกอบกับสรรพวิชาจนเป็นที่กล่าวขานถึงในยุคนั้น เหตุการณ์ที่วัดสันติวิหาร ทำให้หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นที่นับถือในเรื่องการบำรุงขวัญกำลังใจแก่ศิษยานุศิษย์คือ เรื่องตะกรุดคอหมา (ตะกรุดปลากระป๋อง) เนื่องด้วยในยุคนั้น ระบบความคิดของสิทธิคอมมูน ระบาดหนัก เครี่องรางของขลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ ประกอบกำลังใจแก่ผู้คน ในยามหวาดผวา สิ่งสำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2515 ที่ควรจะกล่าวถึงแสดงถึงความกตัญญูต่อสถาบันพระกษัตริย์ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้รวบรวมสรรพวิชาที่ร่ำเรียนมาทั้งปวงเขียนบรรจุลงบนผืนผ้าจำนวน 5 ผืน และได้คัดเลือกผืนที่งามที่สุดจำนวน 2 ผืน ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตามเอกสารทูลเกล้าฯ ผ่านกรมสื่อสารทหารอากาศดอนเมือง ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2515 โดย พลอากาศเอกหม่อมราชวงศ์ เสริม สุขสวัสดิ์ เจ้ากรมสื่อสารทหารอากาศเป็นผู้ลงนามหนังสือและพลเรือเอกหม่อมเจ้ากาฬวรรณดิธ ดิสกุล เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าถวาย ปัจจุบัน 1ใน5 ผืนที่เหลือถูกขนานนามว่า "มหายันต์" หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ออกจาริกธุดงค์ในช่วงลัทธิความคิดระบบคอมมูนแพร่หลายในช่วงนั้นแถบริมโขง ออกจาริกธุดงค์ในเขตนั้น พันตำรวจโทไพทูลย์ คงคูณ นิมนต์หลวงปู่ศิลา สิริจันโท หนีไปอยู่หลบลัทธิคอมมูนในถ้ำฝั่งโขง แถบ อ.สังคม จ.หนองคาย และออกจาริกธุดงค์ต่อถึงเขต อ.ปากชม จ.เลย เมื่อเหตุการณ์สงบหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้กลับมาวัดธาตุประทับ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด อีกครั้ง ในกาลครั้งนั้น พระหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้รับการวิงวอนจากญาติให้ลาสิกขาเพื่อออกมาเป็นครูผู้ช่วยสอนที่โรงเรียนธาตุประทับด้วยว่ามารดารวมถึงญาติผู้ใหญ่ป่วยหนักเป็นเวลา 1 ปี ในประวัติช่วงนี้เองพ.ศ.2522 จากผู้อาวุโส ครูศิลา ทำใจไม่ได้เมื่อต้องตี(ไม้เรียว)ในการสอนนักเรียน ครูศิลาจึงเกิดความสลดสังเวช หวนกลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งในปีเดียวกัน หลังญาติผู้ใหญ่ได้เสียชีวิตลง ซึ่งหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ถือเป็นกำลังหลักของครอบครัวในความขัดสนตามสังคมชนบท ณ พัทธสีมา วัดมาลุคาวนาราม อ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด มีพระอุปัชฌาย์เป เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาสุริยจิตโต หลังอุปสมบทช่วงปี 2522-2539 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้ไปพำนัก วัดโนนเดื่อ บ.โนนเดื่อ อ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด สลับกับวัดธาตุประทับ บ.ธาตุประทับ อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด เรื่อยมา ⁃ ปี 2539 เหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น คือหลังมารดาเสียชีวิตไป พี่สาวของหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นเสาหลักครอบครัวแทนพ่อแม่ได้ล้มป่วยลงอย่างหนักประกอบกับครอบครัวของหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ไม่ได้สมบูรณ์อย่างบุคคลทั่วไปภาระหน้าที่สำคัญในทางโลกจึงย้อนกลับมาหาท่านอีกครั้ง การลาสิกขาครั้งนี้ เป็นเวลา 8 เดือนในการออกมาจัดการภาระต่างๆเช่น การดูแลผู้ป่วย การหาเลี้ยงครอบครัวในยามยาก การเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ จวบจนเสร็จงานศพพี่สาวของท่าน หลวงปู่ศิลา สิริจันโท จึงกลับเข้าอุปสมบททันที ในวันที่ 22 ธันวาคม 2539 ณ พัทธสีมาวัดแสงประทีป โดยมีพระครูวิธานสมณกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พำนัก ณ วัดธาตุประทับ สลับกับการออกจาริกธุดงค์ บ.พานเหมือน อ.เมือง จ.อุดรธานี ⁃ ปี2559 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ออกจาริกไปบ้านหนองแซง ต.แจ้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ⁃ ปี 2559 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท หลังโปรดโยมอุปฐาก (แม่เข็ม) หลวงปู่ได้รับนิมนต์โดยพ่อใหญ่ก้อง ให้จำพรรษา ณ ป่าช้าม่วงนา อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ ⁃ ปี 2562 - 2565 ชื่อเสียงหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นที่นับถือแพร่หลาย จึงได้รับนิมนต์จาก พระครูสุชานโพธิคุณ วัดโพธิ์ศรีสะอาด ให้สร้างเสนาสนะสงฆ์ (สวนสงฆ์) ภายในที่ธรณีสงฆ์ของวัดโพธิ์ศรีสะอาด ให้เจริญรุ่งเรืองแก่บวรพุทธศาสนา เป็นที่พึ่งพาทางใจของศาสนิกชน ⁃ ปัจจุบัน หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ ธรรมอุทยาน หลวงปู่ศิลา สิริจันโท อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปมาที่วัดพระธาตุหมื่นหินอยู่บ่อยครั้ง -------------------------------------------------------------------------- ● ลำดับสมณศักดิ์ ⁃ พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็น เปรียญธรรม ๖ ประโยค ⁃ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็น "พระครูปลัดวชิรโสภณญาณ วิมลศีลาจารวิศิษฏ์ ไพศาลศาสนกิจจาทร" ฐานานุกรมพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ในพระพรหมวชิรโสภณ วัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ ปี 2566 วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวัชรธรรมโสภณ โกศลบริหารวรกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช สถิต ณ ที่พักสงฆ์ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา จังหวัดกาฬสินธุ์ ในพิธีพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพระราชทาน ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร -------------------------------------------------------------------------- ● รางวัล,เกียรติคุณที่ได้รับ ⁃ พ.ศ. 2564 ได้รับพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ประเภท บุคคลดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาบำเพ็ญประโยชน์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสร็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ -------------------------------------------------------------------------- ● งานด้านสาธารณูปการ และงานด้านสาธารณสงเคราะห์ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้เพียรสร้างสาธารณประโยชน์ตามอัตภาพตลอดมา สงเคราะห์ผู้ยากไร้ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ อย่างต่อเนื่องเป็นต้นว่า ⁃ พ.ศ. 2517 สร้างพระมหากัจจายนะองค์ใหญ่ วัดสันติวิหาร ⁃ พ.ศ. 2558 สร้างเสนาสนะ ในจังหวัดมหาสารคาม ⁃ พ.ศ. 2561 สร้างเสนาสนะ ในที่ธรณีสงฆ์วัดโพธิ์ศรีสะอาด ⁃ พ.ศ. 2562 - 2563 สร้างพระอุโบสถวัดโพนโป่งให้แล้วเสร็จ ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และบูรณะหลังคาพระอุโบสถวัดป่าศรีโพนทอง ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ⁃ สร้างสะพานเข้าหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ⁃ มอบรถกู้ชีพ-กู้ภัย มูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ (เอ็ง เต็ก ตึ๊ง) จุดสำนักงานใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม ⁃ สร้างอาคารแทนดวงจิตพระมหาศิลา สิริจันโท อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กู้ชีพ-กู้ภัย มูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ (เอ็ง เต็ก ตึ๊ง) จุดสำนักงานใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม ⁃ สร้างห้องผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ⁃ สร้างห้องอภิบาลสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ⁃ มอบเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ⁃ มอบทุนจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ⁃ สมทบก่อสร้างหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ ⁃ จัดตั้งกองทุนเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ ⁃ สร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ สร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ มอบเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ⁃ มอบเครื่องตัดถ่างช่วยชีวิตอุบัติเหตุทางถนน แก่ศูนย์กู้ภัยมูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ (เอ็ง เต็ก ตึ๊ง) จังหวัดมหาสารคาม ⁃ มอบเครื่องตัดถ่างช่วยชีวิตอุบัติเหตุทางถนน แก่สมาคมกู้ภัยสว่างนาวาธาตุพนม จังหวัดนครพนม ⁃ มอบเงินสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบเงินก่อตั้งวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ⁃ สร้างศาลาและสร้างทางขึ้นเขา ในเขตทุรกันดาร ⁃ ผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน (ธ.) (ในความอุปถัมภ์ของหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท,ป.ธ.๖) เลขที่123 หมู่ที่5บ้านทุ่งกระเดา ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ ผู้ก่อตั้งที่พักสงฆ์ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป. (เปรียญ) (ธ.) เลขที่193 หมู่ที่5 บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป. เลขที่193 หมู่ที่5 บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ ผู้ก่อตั้ง กู้ภัยหมื่นหิน (ฮง เต็ก เสี่ยงตึ๊ง) องค์กรสาธารณะกุศลสงเคราะห์ สังกัดมูลนิธิหลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท วัดพระธาตุหมื่นหิน (ธ.) (ในความอุปถัมภ์ของหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท,ป.ธ.๖) เลขที่ 123 หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งกระเดา ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ⁃ และอีกหลายโครงการที่หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้เมตตาช่วยเหลือเมตตาสร้างให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน เพื่อคนทั้งปวงได้ใช้สอยบรรเทาทุกข์ภัย -------------------------------------------------------------------------- เป็นเพียงการรวบรวมประวัติคร่าวๆ ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี่ด้วยครับ Cr.ขออนุญาตรวบรวมบทความจาก ดร.ปฐมพงศ์ /อ.ลิ้ง ชนะวุธ อุทโท / เพจหลวงปู่ศิลา สิริจันโท /กลุ่มหลัก หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เผยแผ่ประสบการณ พระเครื่อง วัตถุมงคลมา ณ ที่นี้ด้วยครับ